วิกิพีเดีย:บทความแนะนำ/กิจกรรมสนับสนุน พ.ศ. 2568
บทความแนะนำ เป็นกลไกนำเสนอเรื่องย่อของบทความบนหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาไทย โดยเลือกสรรจากบรรดาบทความที่ได้รับการจัดระดับ "คุณภาพ" หรือ "คัดสรร" เป็นที่ยอมรับจากชาววิกิพีเดีย วัตถุประสงค์ของกลไกนี้คือนำเสนอบทความที่มีมาตรฐานสูงให้เป็นที่พบเห็นโดยทั่วไปเพื่อส่งเสริมให้มีอาสาสมัครร่วมกับพัฒนาบทความให้นำเสนอสาระและข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับสารานุกรมที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปโดยไม่จำกัดหัวข้อและเป็นไปตามห้าเสาหลักของวิกิพีเดีย
ใน พ.ศ. 2568 อาสาสมัครวิกิพีเดียภาษาไทย โดยการสนับสนุนของวิกิมีเดียประเทศไทย จัดกิจกรรมพัฒนาบทความโดยใช้กลไกบทความแนะนำ
กติกาและเกณฑ์
[แก้]![]() | สรุปย่อการเข้าร่วมกิจกรรม: มีบัญชี > ลงชื่อเข้าร่วม > พัฒนาบทความ > เสนอบทความเข้าเกณฑ์คัดสรร/คุณสรร > เสนอบทความแนะนำ |
ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถพัฒนาบทความในวิกิพีเดียภาษาไทยให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ แล้วนำเสนอบทความเป็นบทความคุณภาพหรือบทความคัดสรรแล้วนำเสนอบทความที่ผ่านเกณฑ์เพื่อเผยแพร่บทนำบนหน้าหลักในฐานบทความแนะนำ โดยมีกติกาและการให้คะแนนดังต่อไปนี้
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
อาสาสมัครบนวิกิพีเดียภาษาไทยทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ยกเว้นผู้มีลักษณะต้องห้าม ได้แก่
- ถูกบล็อกบนวิกิพีเดียภาษาไทยหรือข้ามวิกิที่กระทบถึงวิกิพีเดียภาษาไทยในช่วงที่จัดกิจกรรม เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าการบล็อกนั้นเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของบัญชีและไม่มีลักษณะดังกล่าวอีกต่อไป
- ผู้ถูกขึ้นบัญชีหุ่นเชิด ผู้ถูกขึ้นเชิดหุ่นยังมีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมได้หากไม่มีพฤติกรรมนั้นอีกต่อไป
- บอตและบัญชีที่ควบคุมโดยเครื่อง
- การเข้าร่วมกิจกรรม
ผู้มีส่วนร่วมกับบทความคุณภาพ บทความคัดสรร และบทความแนะนำทุกคนถือว่าเข้าร่วมกิจกรรมนี้ โดยให้เข้าลงชื่อเพื่อให้อาสาสมัครผู้จัดกิจกรรมพิจารณาให้คะแนนในขั้นตอนต่อไป
- เกณฑ์การให้คะแนน
การนับคะแนนจะกระทำโดยใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้
- บทความ
- บทความคัดสรร มีคะแนนบทความละ 100 คะแนน
- บทความคุณภาพ มีคะแนนบทความละ 50 คะแนน
- ผู้เขียน
- ผู้เขียนหลักมีได้เพียงหนึ่งคนต่อบทความ ได้คะแนนร้อยละ 100 ของคะแนนบทความ
- ผู้เขียนร่วมมีได้ไม่จำกัดจำนวนคนต่อบทความ แต่ให้พิจารณาคะแนนผู้เขียนร่วม
ทุกคนรวมกันแต่ละคนไม่เกินร้อยละ 100 ของบทความโดยผู้เขียนหลักมีสิทธิเป็นผู้กำหนดให้ก่อน หากไม่กำหนดอาสาสมัครดูแลโครงการจะจัดสรรคะแนนให้ต่อไปโดยมีกรอบหลักเกณฑ์ดังนี้- มีส่วนร่วมตั้งแต่ร้อยละ 70 ของผู้เขียนหลัก ได้คะแนนคนละไม่เกินร้อยละ 100 ของคะแนนบทความ
- มีส่วนร่วมตั้งแต่ร้อยละ 40 ของผู้เขียนหลัก แต่ไม่ถึงร้อยละ 70 ได้คะแนนคนละไม่เกินคนละร้อยละ 50 ของคะแนนบทความ
- มีส่วนร่วมตั้งแต่ร้อยละ 5 ของผู้เขียนหลัก แต่ไม่ถึงร้อยละ 40 ได้คะแนนคนละไม่เกินคนละร้อยละ 25 ของคะแนนบทความ
- มีส่วนร่วมไม่ถึงร้อยละ 5 ของผู้เขียนหลัก ไม่นับคะแนน แต่อาจยังได้คะแนนจากการเป็นผู้เสนอบทความ
- ส่วนร่วมตามข้อนี้นับหลังจากบทความผ่านการพิจารณาเป็นบทความแนะนำแล้ว
- ผู้เขียนร่วมทุกคนจะได้รับคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของคะแนนบทความ ดั้งนั้นแม้ผู้เขียนร่วมบางคนมีส่วนร่วมถึงร้อยละ 5 ของผู้เขียนหลักแล้ว อาจไม่ได้รับการจัดสรรคะแนนก็ได้
- ผู้ปริทัศน์บทความ ประกอบด้วยผู้ปริทัศน์หลักและผู้ร่วมปริทัศน์ มีคะแนนให้ไม่เกินร้อยละ 50 ของคะแนนบทความ ใช้วิธีการให้คะแนนในแนวทางเดียวกันกับการให้คะแนนผู้เขียนโดยอนุโลม ทั้งนี้ผู้ปริทัศน์หลักจะต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ (เป็นคุณสมบัติของผู้ที่เคยทำงานเกี่ยวเนื่อง/เกื้อหนุนหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาไทย มีความเอาใจใส่ในกิจกรรมของวิกิพีเดียภาษาไทย ได้รับการยอมรับจากชุมชน และ/หรือ มีศักยภาพในการมองภาพใหญ่และรายละเอียดให้ครบถ้วนได้)
- (ก่อน พ.ศ. 2568) เป็นผู้เขียนบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพ หรือ ผู้ปริทัศน์บทความสองประเภทดังกล่าว หรือ ผู้เสนอ/ลงคะแนนในกิจกรรมบทความคัดสรรประจำเดือน
- (ก่อน พ.ศ. 2568) เป็นผู้แก้ไข {{เรื่องจากข่าว}} ในวันที่แตกต่างกันไม่น้อยกว่า 10 วัน
- (นับเป็นการเฉพาะกิจ) ผู้มีผลงานดีมากขึ้นไป หรือ อาสาสมัครผู้จัดกิจกรรมในโครงการก่อนหน้า วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/กิจกรรมสนับสนุน_พ.ศ._2567
- (นับถึงวันร่วมกิจกรรม) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดูแลระบบหรือผู้ใด้รับสิทธิอื่นในมีเดียวิกิของวิกิพีเดียภาษาไทยที่มาจากการลงคะแนน แต่งตั้งหรืออนุมัติ (รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง bot flag/arbitration committee) แต่ไม่รวมถึง auto-confirm หรือสิทธิที่ได้มาโดยอัตโนมัติ
- (นับถึงวันร่วมกิจกรรม) มีการแก้ไขต่อเนื่องกันนับจากปัจจุบัน พ.ศ. 2568 ตามปีปฏิทินทุกปีย้อนหลังไปไม่น้อยกว่า 10 ปี (นั่นคือถึง พ.ศ. 2557 โดยไม่สนใจจำนวนการแก้ไขรวมแต่อย่างใด)
- ผู้เสนอบทความ ต้องมีส่วนร่วมเป็นผู้เขียนในทางใดทางหนึ่ง (แม้เพียงหนึ่งการแก้ไขก็ถือว่ามีส่วนร่วมแล้ว การแก้ไขนี้ต้องเกิดขึ้นก่อนการเสนอเท่านั้น)
- กรณีที่ผู้เสนอบทความมีสิทธิได้รับคะแนนในส่วนผู้เขียนแล้ว จะไม่ได้รับคะแนนในส่วนผู้เสนออีก
- กรณีที่ผู้เสนอบทความใดบทความหนึ่งเป็นบทความแนะนำไม่ได้รับคะแนนส่วนร่วมในการพัฒนาบทความ จะได้คะแนนร้อยละ 10 ของคะแนนบทความ / ทั้งนี้ จะนับคะแนนให้เพียงบทความเดียวเท่านั้น ตลอดโครงการ
สรุปเกณฑ์การให้คะแนน
[แก้]ประเด็นการได้คะแนน | คะแนน | หมายเหตุ |
---|---|---|
คะแนนบทความ | ||
บทความคัดสรร | 100 | |
บทความคุณภาพ | 50 | |
ประเด็นการได้คะแนน | ร้อยละ[1] | หมายเหตุ |
คะแนนที่ผู้เขียนบทความได้รับ | ||
ผู้เขียนหลัก | 100 | |
ผู้เขียนร่วมที่มีส่วนร่วมตั้งแต่ร้อยละ 70 – 100 ของผู้เขียนหลัก | 100 | กรณีที่ผู้เขียนหลักไม่ประสงค์จะให้คะแนนด้วยตนเอง |
ผู้เขียนร่วมที่มีส่วนร่วมตั้งแต่ร้อยละ 40 – 69.99 ของผู้เขียนหลัก | 50 | กรณีที่ผู้เขียนหลักไม่ประสงค์จะให้คะแนนด้วยตนเอง |
ผู้เขียนร่วมที่มีส่วนร่วมตั้งแต่ร้อยละ 5 – 39.99 ของผู้เขียนหลัก | 25 | กรณีที่ผู้เขียนหลักไม่ประสงค์จะให้คะแนนด้วยตนเอง |
คะแนนที่ผู้ปริทัศน์บทความได้รับ | ||
ผู้ปริทัศน์หลัก | 50 | |
ผู้ร่วมปริทัศน์ที่มีส่วนร่วมตั้งแต่ร้อยละ 70 – 100 ของผู้ปริทัศน์หลัก | 50 | กรณีที่ผู้ปริทัศน์หลักไม่ประสงค์จะให้คะแนนด้วยตนเอง |
ผู้ร่วมปริทัศน์ที่มีส่วนร่วมตั้งแต่ร้อยละ 40 – 69.99 ของผู้ปริทัศน์หลัก | 25 | กรณีที่ผู้ปริทัศน์หลักไม่ประสงค์จะให้คะแนนด้วยตนเอง |
ผู้ร่วมปริทัศน์ที่มีส่วนร่วมตั้งแต่ร้อยละ 5 – 39.99 ของผู้ปริทัศน์หลัก | 12.5 | กรณีที่ผู้ปริทัศน์หลักไม่ประสงค์จะให้คะแนนด้วยตนเอง |
ผู้เสนอบทความ | ||
ผู้เสนอบทความที่ได้คะแนนจากส่วนอื่นแล้ว | 0 | |
ผู้เสนอบทความที่ยังไม่ได้คะแนนจากส่วนอื่น | 10 | ได้เพียงบทความแรกบทความเดียวเท่านั้น และต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขไม่ต่ำกว่า 1 ครั้ง |
คำแนะนำ
[แก้]- เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ดีต่อส่วนรวม รวมถึงผู้เข้าร่วมโครงการด้วย ขอให้ทำความเข้าใจกฎพื้นฐานและศึกษารูปแบบการเขียนตามคู่มือ
- หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามที่หน้าพูดคุยของผู้จัดกิจกรรมหรือหน้าอภิปรายของกิจกรรม โปรดทราบว่าผู้จัดโครงการอาจไม่สามารถตอบคำถามได้ในทันท่วงที
- สามารถใช้สื่อสังคมของท่านส่งเสริมการเข้าถึงบทความที่ท่านเขียนได้ (โปรดระมัดระวังว่าจะทำให้บัญชีผู้ใช้ของท่านถูกผูกโยงเข้ากับตัวตนในชีวิตจริงได้)
การตัดสินและรางวัล
[แก้]- เครื่องมือกลาง
- การนับการมีส่วนรวม ใช้เครื่องมือ Page Statistics ในส่วน Top 10 by added text (approximate) https://xtools.wmcloud.org/articleinfo/th.wikipedia.org/หน้าหลัก
- การตัดสิน
การนับคะแนนจะเริ่มหลังจากวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 23:59 น. (UTC+07:00) และจะประกาศผู้มีสิทธิได้รับรางวัลภายในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
- ต้องให้เวลาไม่น้อยกว่า 10 วันเป็นเวลาเสริมสำหรับผู้จัดโครงการ แต่มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้ตัวบทความได้รับการแสดงผลทั้งหมด
- การแจกรางวัลจะทำให้เสร็จสิ้นภายหลังประกาศผลไม่เกิน 3 เดือน (นับการส่งออกจากทีมผู้จัดเป็นสำคัญ) เพื่อให้อาสาสมัครผู้จัดกิจกรรมสามารถทำลายข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องภายในกรอบระยะเวลาที่สมเหตุสมผล
- รางวัลใหญ่

รางวัลและโล่มูลค่ารวมไม่เกิน 50,000 บาท แบ่งออกเป็นรางวัลผลงานดีเด่น (outstanding contribution) มีมูลค่ารางวัลละ 5,000 บาท และรางวัลผลงานดีมาก (excellent contribution) มีมูลค่ารางวัลละ 3,000 บาท สำหรับผู้ที่มีคะแนนสูงสูดไม่เกิน 15 อันดับแรกและมีคะแนนไม่น้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ 50
- เงินรางวัล – ไม่มีนโยบายมอบของรางวัลเป็นตัวเงิน
- คูปองหรือบัตรของขวัญ – ทางผู้จัดจะสอบถามผู้มีสิทธิรับรางวัลอีกครั้งสำหรับคูปองหรือบัตรของขวัญที่ต้องการซึ่งอาจะเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือบัตรกระดาษจากผู้ให้บริการทั้งในและ/หรือต่างประเทศ (กรณีที่เป็นสกุลเงินนอกจากบาทจะพิจารณาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่จัดซื้อโดยเป็นจำนวนเงินหลักถ้วนที่ใกล้เคียงกันมูลค่าในสกุลเงินบาท) โดยราคาซื้อต้องไม่มากกว่ามูลค่าคูปองหรือบัตรของขวัญนั้นและมีช่องทางชำระเงินที่ผู้จัดสามารถชำระได้
- โล่รางวัล - หากผู้รับรางวัลประสงค์จะรับโล่มีค่าใช้จ่ายในการผลิตและจัดส่งเหมาจ่ายชื้นละ 1,500 บาท ไม่ต้องชำระเป็นเงินสดแต่หักจากมูลค่าของรางวัลข้างต้นได้ทันที โดยผู้รับรางวัลอาจสั่งทำได้ไม่เกินสองชิ้น (หนึ่งชิ้นสำหรับตนเองอีกหนึงชิ้นสำหรับต้นสังกัด)
- ของที่ระลึก
ของที่ระลึกสำหรับผู้มีส่วนร่วมสูงสุด 10 อันดับแรก (รวมถึงผู้ได้รับรางวัลใหญ่ข้างต้นด้วย โดยแยกจากมูลค่ารางวัลที่พึงได้) และมีคะแนนไม่น้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ 25
- ประกาศนียบัตร
ประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์และดาวเกียรติยศสำหรับผู้เข้าร่วมทุกท่านที่มีคะแนนไม่น้อยกว่า 10 คะแนน
- หมายเหตุ
- การตัดสินของอาสาสมัครผู้จัดกิจกรรมถือเป็นที่สุด
- เพื่อเป็นการส่งเสริมอาสาสมัครบนวิกิพีเดียภาษาไทย อาสาสมัครผู้จัดกิจกรรมอาจพิจารณาปรับเกณฑ์การให้รางวัลให้เหมาะสมกับบริบทและจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
- เพื่อความสะดวกการร่วมกิจกรรมและการจัดส่งของรางวัลจะเป็นการส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เว้นแต่คูปองหรือบัตรของขวัญเป็นกระดาษหรือบัตรแข็ง ของที่ระลึก และโล่จะใช้บริการไปรษณีย์แบบลงทะเบียน (ในประเทศ/ระหว่างประเทศ) หรือ KEX (ในประเทศ) เท่านั้น โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ ไม่อาจรวมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ภาษีศุลกากร สำหรับผู้รับที่อยู่ในต่างประเทศได้ ในกรณีเช่นนี้ขอเสนอให้แจ้งที่อยู่ในประเทศไทยหรือโอนสิทธิ์รับของที่ระลึกนี้แก่อาสาสมัครท่านอื่นตามที่ผู้รับรางวัลเห็นควรได้เลย
- การจัดส่งของรางวัลจำตัองมีการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลใช้เพื่อการนี้ ซึ่งจะใช้เท่าที่จำเป็นและจะทำลายเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม และจะเลือกเฟ้นอาสาสมัครที่ไว้วางใจได้เพื่อเข้าถึงข้อมูลและดำเนินการดังกล่าว หากท่านมีข้อกังวลสามารถสละสิทธิ์หรือโอนสิทธิ์ในรางวัลแก่อาสาสมัครท่านอื่นเป็นตัวแทนรับไว้ได้
- ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ได้รับรางวัลเฉพาะที่เชื่องโยงกับบัญชีผู้ใช้ ("username") จะต้องประกาศเป็นสาธารณะเพื่อความโปร่งใสและมี QR code เชื่อมโยงจากหน้าเกียรติบัตรมายังรายการบัญชีผู้ใช้ที่ผ่านการกิจกรรมนี้
- ข้อมูลที่ท่านเลือกระบุในเกียรติบัตรและโล่ได้ประกอบด้วย 1. บัญชีผู้ใช้ 2. ชื่อจริง และ 3. สถาบันที่สังกัด ถึงแม้ว่าท่านเลือกที่จะไม่ใส่บัญชีผู้ใช้และชื่อจริงหรือสถาบันที่สังกัดไว้ด้วยกัน แต่บัญชีผู้ใช้ที่ชนะการประกวดครั้งนี้เป็นข้อมูลสาธารณะทั้งหมดและอาจมีผู้อื่นสามารถนำมาใช้เชื่อมโยงกับบัญชีผู้ใช้ได้ในภายหลัง
- ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ใช้เพื่อการอื่นทุกกรณีรวมถึงการตรวจสอบหุ่นเชิด ผู้ใช้มากกว่าหนึ่งรายอาจฝากส่งรางวัลไปที่อยู่เดียวกันได้โดยไม่เป็นข้อครหาหรือข้อสงสัยในภายหลัง
- อาสาสมัครผู้จัดกิจกรรมสามารถร่วมกิจกรรมได้ แต่จะไม่มีการมอบรางวัลตามกติกาข้างต้น วิกิมีเดียประเทศไทยในฐานหน่วยงานผู้ให้การสนับสนุนหลักได้จัดเตรียมของที่ระลึกมอบให้แก่อาสาสมัครผู้จัดกิจกรรมเป็นการขอบคุณแยกเป็นอีกส่วนหนึ่งนอกจากของรางวัลสำหรับโครงการอยู่แล้ว
ลงชื่อเข้าร่วม
[แก้]อาสาสมัครผู้ร่วมกิจกรรม
[แก้]โปรดลงชื่อเข้าร่วมในหน้านี้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 23:59 น. (UTC+7:00) โดยสามารถนับการแก้ไข[2] ของท่านทั้งหมดย้อนหลังไปนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 00:01 น. (UTC+7) ใส่ชื่อของคุณในช่องผู้เข้าร่วม พร้อมระบุหน้าบทความที่สร้าง
ผู้เข้าร่วม | บทความที่มีส่วนร่วม | คะแนน |
---|---|---|
ผู้ใช้:Jeabbabe | เดอะ ไวร์เลส เฮาส์ |
|
ผู้ใช้:Mia Kato | ไฟป่าโอฟูนาโตะ |
|
หมายเหตุ: ในช่องคะแนน ผู้เข้าร่วมจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ หรือหากกรอกผิด ทางผู้จัดจะเข้าไปจัดการแก้ไขให้ในภายหลัง
อาสาสมัครผู้จัดกิจกรรม
[แก้]- Wutkh (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) – ผู้ประสานงานหลัก/ผู้ตรวจให้คะแนน
- Athikhun.suw (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) – สนับสนุน
- Taweetham (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) – ที่ปรึกษา/ผู้ริเริ่ม/สนับสนุน