วิกิพีเดีย:นโยบายการแก้ไข
หน้านี้เป็นนโยบายของวิกิพีเดียภาษาไทย เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางซึ่งปกติผู้ใช้ทุกคนควรถือปฏิบัติ การปรับแก้นโยบายควรสะท้อนความเห็นพ้อง |
วิกิพีเดียเป็นผลิตผลอันเกิดจากการร่วมกันเขียนของผู้เขียนนับพัน แต่ละคนนำบางสิ่งที่แตกต่างมายังตารางเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นทักษะการวิจัย ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ความสามารถด้านการเขียนหรือสารสนเทศล้ำค่า แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ความเต็มใจพร้อมช่วยเหลือ กระทั่งบทความที่ดีที่สุดก็ไม่ควรถูกมองว่าเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผู้ใช้ใหม่ทุกคนสามารถเสนอวิจารณญาณใหม่ว่าจะเสริมเนื้อหาของเราอย่างไรได้เหมือนกัน
การเพิ่มข้อมูลลงวิกิพีเดีย
วิกิพีเดียเป็นแหล่งซึ่งจัดหาบทสรุปความรู้อันเป็นที่ยอมรับแก่คนทั้งหลาย ทั้งนี้ โดยไม่ขัดกับนโยบายอะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย กล่าวโดยทั่วไปคือ ยิ่งวิกิพีเดียจัดหาความรู้อันเป็นที่ยอมรับได้มากเท่าใด (ตามข้อจำกัดที่นิยามไว้แล้ว) ก็ยิ่งดีเท่านั้น โปรดเพิ่มข้อมูลลงวิกิพีเดียด้วยความกล้า ไม่ว่าโดยการสร้างบทความใหม่หรือการเพิ่มเนื้อหาลงบทความที่มีอยู่แล้ว และระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อพิจารณาลบข้อมูลออก อย่างไรก็ดี วิกิพีเดียมีนโยบายว่า ข้อมูลในวิกิพีเดียควรพิสูจน์ยืนยันได้และต้องไม่เป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ โปรดแสดงว่าข้อมูลนั้นพิสูจน์ยืนยันได้และไม่เป็นงานค้นคว้าต้นฉบับโดยการอ้างอิงแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ข้อมูลที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงอาจถูกคัดค้านและนำออก เพราะวิกิพีเดียจะขาดข้อมูลเสียยังดีกว่ามีข้อมูลเท็จหรือชวนให้เข้าใจผิด ชื่อเสียงของวิกิพีเดียในฐานะสารานุกรมที่เชื่อถือได้ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลในบทความสามารถพิสูจน์ยืนยันได้และน่าเชื่อถือหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการคัดค้านนี้ ควรหา "การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา" (inline citation) เป็นดีที่สุด เมื่อเพิ่มข้อมูล (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา หรือขอความช่วยเหลือได้ในหน้าอภิปรายของบทความ)
แม้แหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือจะจำเป็น เมื่อพัฒนาบทความโดยยึดแหล่งข้อมูล หลีกเลี่ยงการคัดลอกหรือถอดความโดยดัดแปลงเพียงเล็กน้อยจากแหล่งข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ วิกิพีเดียเคารพลิขสิทธิ์ของผู้อื่น คุณควรอ่านแหล่งอ้างอิง ทำความเข้าใจ และแสดงสิ่งที่อ่านได้ด้วยคำพูดของคุณเอง
ผู้เขียนสามารถปรับปรุงได้อีกทางหนึ่ง โดยการหาแหล่งข้อมูลแก่ข้อมูลเดิมที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งหากคุณไปพบข้อความที่มีแนวโน้มเป็นที่โต้เถียงกัน คุณไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่เพิ่มข้อมูลเพื่อเพิ่มแหล่งอ้างอิงและอ้างอิงข้อมูลนั้น
วิกิพีเดียเป็นงานกำลังดำเนินอยู่ : ความสมบูรณ์แบบเป็นสิ่งไม่จำเป็น
ความสมบูรณ์แบบเป็นสิ่งไม่จำเป็น วิกิพีเดียเป็นงานกำลังดำเนินอยู่ การเขียนร่วมกันหมายความว่า ต้นร่างที่ไม่สมบูรณ์หรือเขียนขึ้นอย่างเลวสามารถวิวัฒนาการเป็นบทความที่ดีเลิศได้เมื่อเวลาผ่านไป แม้บทความเลว หากสามารถพัฒนาได้ ก็เป็นที่ต้อนรับในวิกิพีเดียเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บุคคลหนึ่งอาจเริ่มเขียนบทความด้วยมุมมองกว้าง ๆ ของหัวเรื่องหรือข้อเท็จจริงสุ่มเล็กน้อย อีกคนอาจช่วยปรับมาตรฐานบทความด้วยการจัดรูปแบบ หรือเพิ่มข้อเท็จจริงและภาพหรือกราฟิก กระนั้น อีกคนหนึ่งก็อาจช่วยนำมุมมองที่นำเสนอในบทความให้สมดุลยิ่งขึ้น และดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเพิ่มอ้างอิงเนื้อหาที่มีอยู่เดิม แต่ระหว่างจุดใดก็ตามระหว่างกระบวนการนี้ บทความอาจไร้ระเบียบหรือมีการเขียนที่ต่ำกว่ามาตรฐานได้
หลักการนี้ไม่สนับสนุนในกรณีของชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ขณะที่บทความเหล่านี้ยังอนุญาตและคาดหวังว่าจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ข้อมูลที่พิสูจน์ไม่ได้อย่างต่อเนื่องหรือมีอคติอย่างชัดเจนในบทความดังนี้ควรนำออกจนกว่าจะพิสูจน์ยืนยันได้หรือเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ชวนให้ผู้อ่านคล้อยตาม
เกี่ยวกับรูปแบบการเขียน
โดยทั่วไปแล้วผู้เขียนต่างคนมีรูปแบบในการเขียนที่แตกต่างกัน บางคนไม่นิยมแก้ไขบทความคนอื่นแต่มุ่งเป้าที่จะเพิ่มเนื้อหาใหม่ ในขณะที่คนอื่น ๆ ชื่นชอบที่จะปรับปรุงและขยาย "หน่ออ่อน" และบทความอื่น ๆ บางคนชอบที่จะแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ (เช่นไวยากรณ์ ตัวสะกด การขยายความ) หรือเพิ่มลิงก์และย้ายหน้า (เพื่อเปลี่ยนชื่อโดยไม่ทำให้ประวัติในการแก้ไขหายไป)
มีที่ทางสำหรับทุกคนในวิกิพีเดีย
นอกจากนี้ยังมีรูปแบบในการแก้ไขที่บ่งบอกถึงความกล้าของผู้เขียน
- โดยทั่วไปแล้ว ส่วนใหญ่เชื่อว่าเราควรกล้าที่จะแก้ไขบทความต่าง ๆ
- แทบไม่มีใครเลยที่คอยปฏิบัติเหมือนกับว่าจะต้องมีการปรึกษากับคนเขียนคนก่อน ก่อนจะแก้ไขอะไร ถ้าเรามัวแต่ทำเช่นนั้น เราจะก้าวไปข้างหน้าได้ช้า
- ในทางกลับกัน ผู้ใช้บางคนเชื่อว่าคุณไม่ควรจะพิรี้พิไร และลงมือแก้หน้าต่าง ๆ ทันทีที่เห็นปัญหา แทนที่จะรอให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขที่คุณต้องการ การอภิปรายนั้นเก็บไว้เป็นทางออกสุดท้าย
- และยังมีมุมมองระหว่างกลางว่าการอภิปรายนั้นจะต้องได้รับการเคารพ แต่ในเวลาเดียวกัน การตบแต่งเล็กน้อยก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ด้วย ในมุมนี้ ระดับของการเข้าไปแก้ไขบทความ ว่าจะเป็นการแก้แบบทั้งหมดหรือไม่นั้น ขึ้นกับบริบทในขณะนั้น
มีที่ทางสำหรับทุกทัศนคติเหล่านี้
ในกรณีที่มีการเตรียมจะลบหรือแก้ไขอย่างขนานใหญ่ จะเป็นการดีมากถ้ามีการเสนอขึ้นในส่วนอภิปรายเสียก่อน เพราะอาจทำให้ผู้เขียนเดิมไม่อยากกลับมาเขียนอีก การปรับปรุงของบางคนอาจเป็นการฉีกทำลายของอีกคนได้ และไม่มีใครอยากเห็นงานที่เขียนมาถูกทำลายโดยไม่ได้รับการเตือนเสียก่อน
ดังนั้น ไม่ว่าจะทำอะไร พยายามที่จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ เหตุผลสำหรับการลบบางส่วนของบทความ เช่น
- ซ้ำซ้อน
- ไม่เกี่ยวข้อง
- ไม่มีเนื้อหา
- ละเมิดลิขสิทธิ์
- ไม่แม่นยำ หรือในกรณีที่ความถูกต้องของข้อมูลไม่สามารถตรวจสอบได้
ล้วนมีทางเลือกอื่น ๆ อาทิเช่น
- การปรับปรุงหรือแก้ไขให้เนื้อหาชัดเจน โดยเก็บใจความไว้
- ย้ายข้อความบางส่วนภายในบทความหรือย้ายไปยังบทความใหม่
- เพิ่มข้อมูลที่คุณคิดว่าสำคัญที่จะทำให้บทความเป็นกลางมากขึ้น
ถ้าคุณเห็นว่าหน้าใดสมควรถูกเขียนใหม่หรือแก้ไขอย่างขนานใหญ่ ไม่ต้องรีรอ โปรดลงมือทำได้เลย แต่พยายามเก็บเนื้อหาในส่วนที่คุณคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ในหน้าอภิปรายของบทความนั้น พร้อมด้วยเหตุผลว่าทำไมคุณถึงได้แก้ไขไปเช่นนั้น แม้ว่าในกรณีที่คุณลบบางอย่างที่คิดว่าไม่เป็นความจริงเอาเสียเลย มันอาจเป็นไปได้ที่ว่าเนื้อหาส่วนนั้นมีอยู่เพราะว่ามีบางคนเชื่อว่ามันเป็นความจริง ดังนั้นการเก็บเนื้อหาส่วนนั้นพร้อมกับหมายเหตุเอาไว้ จะทำให้ผู้ใช้คนอื่น ๆ ทราบได้ว่านี่ไม่ใช่ความจริง
ในกรณีใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจแก้ไขเลยหรือสอบถามในหน้าอภิปรายแล้ว คุณควรตระหนักว่าวิกิพีเดียนั้นไม่ใช่สภาสำหรับการอภิปราย วิกิพีเดียอาจเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่กระตือรือร้น ดังนั้นจะเป็นประโยชน์กับโครงการมากกว่าถ้าเรามุ่งมั่นพัฒนาบทความ มากกว่าจะมาถกเถียงเกี่ยวกับทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมา อุดมการณ์ ศาสนา หรือเรื่องอื่น ๆ ถ้าจะเปิดดูมารยาทในวิกิพีเดียบ้างสักหน่อยคงไม่มีอะไรเสียหาย
การเขียนและการจัดแบ่งหน้าอภิปราย
สำหรับการเขียนและการจัดแบ่งหน้าอภิปรายดูที่: