ข้ามไปเนื้อหา

วิกฤตรัฐบาลสหราชอาณาจักร กรกฎาคม พ.ศ. 2565

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกฤตรัฐบาลสหราชอาณาจักร กรกฎาคม พ.ศ. 2565
บอริส จอห์นสัน ประกาศเจตจำนงลาออกจากการเป็นผู้นำพรรคอนุรักษนิยมเมื่อ 7 กรกฎาคม 2022
วันที่5-7 กรกฎาคม 2022
สาเหตุ
เหตุจูงใจ
  • กดดันบอริส จอห์นสัน ให้ลาออก
  • กระตุ้นการเลือกตั้งผู้นำพรรคอนุรักษนิยมคนใหม่
ผู้เข้าร่วม
ผล

ในต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ราวหนึ่งในสามของ คณะรัฐมนตรี, เลขานุการรัฐสภา และ ผู้แทนพิเศษด้านการค้าของนายกรัฐมนตรี 179 คนของรัฐบาลสหราชอาณาจักร[1] ลาออกจากตำแหน่งในการบริหารงานวาระที่สองของนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน จนส่งผลให้จอห์นสันลาออกในวันที่ 7 กรกฎาคม[2]

ในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังเรื่องอื้อฉาวคริส พินเชอร์ รัฐมนตรีคลัง ริชี ซูแน็ก และ เลขาธิการกรมสุขภาพและสวัสดิการ ซาญิด จาวิด ลาออกจากตำแหน่ง[3] ตามด้วยสมาชิกจำนวนมากของรัฐบาลประกาศลาออกเช่นกัน[4] นำไปสู่การตั้งข้อสงสัยว่าบอริส จอห์นสัน จะยังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรอยู่ต่อไปหรือไม่[5][6] ผู้นำฝ่ายค้าน เคียร์ สตาร์เมอร์ วิพากษ์วิจารณ์จอห์นสันและสมาชิกพรรคอนุรักษนิยมที่ยังคงอยู่ในคณะรัฐมนตรี[7]

ในวันที่ 7 กรกฎาคม สมาชิกรัฐสภา (MPs) กว่า 70 คนได้ลาออกจากรัฐบาลและจากตำแหน่งในพรรค ส่วนเลขาธิการกรมพัฒนา ที่อยู่อาศัย และชุมชน ไมเคิล กัฟ ถูกจอห์นสันปลดออกจากตำแหน่งหนึ่งวันก่อนหน้านั้น[8] หลังปฏิเสธการลาออกมาสองวัน จอห์นสันประกาศว่าตนจะลาออกจากการเป็นผู้นำพรรคอนุรักษนิยม และระบุว่า: "ดังที่เราได้เห็นในเวสต์มินสเตอร์แล้ว ... เมื่อฝูง[ชน]จะเคลื่อนไหว มันก็จะเคลื่อนไหว และเพื่อน ๆ ทั้งหลาย ในทางการเมือง ไม่มีใครเลยที่จำเป็นตลอด (remotely indispensable)" อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้ออกจากรัฐบาลในทันที แต่ระบุว่าเขาจะทำเช่นนั้นก็ต่อเมื่อมีการประกาศผู้นำคนใหม่แล้ว[9][10][11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Government ministers". Institute for Government. May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2019. สืบค้นเมื่อ 7 July 2022.
  2. Jack Guy, Luke McGee and Ivana Kottasová (7 July 2022). "UK Prime Minister Boris Johnson resigns after mutiny in his party". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2022. สืบค้นเมื่อ 7 July 2022.
  3. "Rishi Sunak resigns as chancellor in devastating blow to Boris Johnson". The Independent. 5 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2022.
  4. "LISTED: All the Tory MPs who have resigned since Sajid Javid and Rishi Sunak quit". The Northern Echo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2022.
  5. "Government resignations: Who has gone, who is staying?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 6 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2022.
  6. "Chris Mason: Boris Johnson facing day of judgement". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 6 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2022.
  7. "'Charge of the lightweight brigade': Starmer uses PMQs to mock Tories". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 6 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2022. สืบค้นเมื่อ 7 July 2022.
  8. Wood, Poppy (6 July 2022). "Michael Gove sacked by Boris Johnson after calling on the Prime Minister to resign". inews.co.uk (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2022.
  9. "Boris Johnson blames 'the herd,' resigns to make way for new U.K. leader". The Washington Post. 7 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-07. สืบค้นเมื่อ 7 July 2022.
  10. "Boris Johnson resigns: Five things that led to the PM's downfall". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 7 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2022. สืบค้นเมื่อ 7 July 2022.
  11. "Boris Johnson facing calls to quit as PM as soon as possible". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 7 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2022. สืบค้นเมื่อ 7 July 2022.