ข้ามไปเนื้อหา

ผู้นำฝ่ายค้าน (สหราชอาณาจักร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Leader of the Opposition (United Kingdom))
ผู้นำฝ่ายค้าน
Leader of the Official Opposition
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
เคมี บาเดนอค
ตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024
ผู้นำฝ่ายค้าน
รัฐสภาสหราชอาณาจักร
สำนักงานผู้นำฝ่ายค้าน
การเรียกขานท่านผู้นำฝ่ายค้าน
(ไม่เป็นทางการ)
เดอะไรต์ออนะระเบิล
(เป็นทางการ)
สมาชิกของ
ผู้แต่งตั้งพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ไม่ใช่รัฐบาลในสภาสามัญชน
วาระโดยพระราชอัธยาศัย
ผู้ประเดิมตำแหน่งลอร์ดเกรนวิลล์
สถาปนามีนาคม ค.ศ. 1807
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 (พระราชบัญญัติ)
รองรองนายกรัฐมนตรีเงา
เงินตอบแทน£144,649 ต่อปี[1]
(รวมถึงเงินเดือนประจำตำแหน่งสมาชิกรัฐสภา £79,468 ต่อปี[2])
เว็บไซต์ฝ่ายค้านในสมเด็จฯ : คณะรัฐมนตรีเงา

ผู้นำฝ่ายค้าน (อังกฤษ: the Leader of the Opposition) หรือเรียกเต็มว่า ผู้นำฝ่ายค้านผู้ภักดีในสมเด็จฯ (อังกฤษ: The Leader of His Majesty's Most Loyal Opposition) คือนักการเมืองซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภาสหราชอาณาจักร

ตามจารีตรัฐธรรมนูญแล้วผู้นำฝ่ายค้านคือผู้นำในพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ไม่ใช่รัฐบาลในสภาสามัญชน ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในสภาสามัญชน ผู้นำฝ่ายค้านในปัจจุบันคือ เคมี บาเดนอค หัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม นายกรัฐมนตรีเงา ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธุรกิจและการค้า และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศ ภายหลังจากที่ ริชี ซูนัค อดีตนายกรัฐมนตรีพ่ายแพ้ต่อพรรคแรงงานอันเป็นพรรคที่ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2024

โดยปกติแล้วผู้นำฝ่ายค้านจะถูกมองว่าเป็นนายกรัฐมนตรีเงา และยังได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาองคมนตรี ผู้นำฝ่ายค้านโดยตำแหน่งจะทำหน้าที่เป็นผู้นำในคณะรัฐมนตรีเงาซึ่งมีบทบาทในการตรวจสอบการทำงานและนโยบายต่างๆ ของคณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี

นอกจากสภาสามัญชนแล้วในสภาขุนนางยังมีตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านเช่นเดียวกัน (ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบันคือ บารอเนสสมิธแห่งบาซิลดอน ในสมัยศตวรรษที่ 19 นั้นพรรคการเมืองนั้นมีบทบาทน้อยกว่าและผู้นำฝ่ายค้านในทั้งสองสภามักจะมีฐานะเท่ากัน ซึ่งยกเว้นแต่ในกรณีที่ผู้นำฝ่ายค้านเคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีเพิ่งผ่านพ้นซึ่งจะถือเป็นผู้นำฝ่ายค้านในทั้งสองสภาโดยชัดเจน อย่างในก็ตามภายหลังจากการตราพระราชบัญญัติรัฐสภา ค.ศ. 1911 ก็ไม่ได้มีประเด็นในการถกเถียงว่าผู้นำฝ่ายค้านในสภาสามัญชนนั้นมีบทบาทสำคัญกว่า และยังเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Appendix 3: Ministerial salaries – salary entitlements" (PDF). House of Commons Library. p. 51. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
  2. "Pay and expenses for MPs". parliament.uk. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.