ลิง
ลิง | |
---|---|
ลิงกังหัน Macaca radiata Mangaon, มหาราษฏระ, อินเดีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | อันดับวานร |
อันดับย่อย: | ฮาพลอไรนิ Haplorhini |
อันดับฐาน: | Simiiformes [a] |
กลุ่มที่รวมอยู่ด้วย | |
หน่วยที่รวมโดยแคลดิสติกส์แต่ไม่รวมโดยดั้งเดิม | |
ลิง เป็นชื่อสามัญของสัตว์ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในอันดับวานร (Primates) ลักษณะท่าทางคล้ายมนุษย์ ซึ่งจัดอยู่ในอันดับเดียวกัน เนื่องจากมีบรรพบุรุษร่วมกันมา ก่อนที่จะมีวิวัฒนาการแยกตัวออกจากกัน เมื่อ 2-3 ล้านปีก่อน[4]
ลิงมีตีนหน้าและตีนหลังใช้จับเกาะได้ มักปีนหากินบนต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว พวกที่มีหาง เช่น ลิงวอก และพวกที่ไม่มีหาง เช่น กอริลลา เป็นต้น[5]
ที่อยู่อาศัย
ลิง สามารถพบได้ทุกทวีปในโลก ยกเว้นขั้วโลก, ทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย[6]
กลุ่มลิง
- ลิงโลกเก่า คือ ลิงทางซีกโลกตะวันออกแถบทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ไม่มีหาง มีพัฒนาการของนิ้วหัวแม่มือให้หันเข้าหากัน เพื่อช่วยในการจับสิ่งของ มีฟันกราม 2 ซี่ เช่นเดียวกับมนุษย์ และมีความสามารถในการมองเห็นได้ดีมาก อาจเป็นบรรพบุรุษของเอป มีภาษาของตัวเอง ลิงโลกเก่านั้นมีอยู่หลายชนิด เช่น ลิงแสม, ลิงบาบูน และลิงแมนดริล
- ลิงโลกใหม่ คือ ลิงที่พบทางแถบอเมริกาใต้และอเมริกากลาง อาศัยอยู่บนต้นไม้ มีหางยาว และสามารถใช้หางช่วยในการยึดเหนี่ยว สมองในส่วนของประสาทที่เกี่ยวกับการมองเห็นพัฒนาการขึ้นอย่างเด่นชัด มีฟันกราม 3 ซี่ ลิงโลกใหม่ที่พบ ได้แก่ ลิงแมงมุม, ลิงฮาวเลอร์, ลิงคาปูชิน และลิงมาโมเสท[7]
- ลิงไม่มีหาง หรือเอป คือ ลิงที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าลิงจำพวกอื่น มีจุดเด่น คือ มีร่างกายที่ใหญ่โตกว่าลิงทั่วไป ไม่มีหาง มีนิ้วใช้หยิบจับอาหารหรือสิ่งต่าง ๆ ได้ดีกว่าลิงจำพวกอื่น และมักใช้ชีวิตบนพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ พบได้เฉพาะทวีปแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น มีอยู่เพียง 5 จำพวก คือ ชะนี, กอริลลา, ชิมแปนซี, โบโนโบ และอุรังอุตัง เท่านั้น[8]
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
ลิง เป็นสัตว์ที่มนุษย์รับรู้เป็นอย่างดีว่า เป็นสัตว์ที่ว่องไว มีความซุกซน อยู่ไม่นิ่ง จนมีคำเปรียบเทียบในสำนวนไทยว่า "ซนเหมือนลิง" โดยเฉพาะใช้กับเด็ก[5] เนื่องจากลิงเป็นสัตว์ที่มีความฉลาดและใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด จึงสามารถฝึกหัดให้ใช้งานต่าง ๆ ได้ เช่น เก็บมะพร้าว หรือแสดงการละเล่น เช่น ละครลิง เป็นต้น[7]
ในอักษรไทย ลิงเป็น 1 ในพยัญชนะ คือ ล โดยเป็นตัวที่ 36 ในบรรดาพยัญชนะทั้งหมด 44 ตัว จัดเป็นกลุ่มอักษรต่ำ [9]
นอกจากนี้แล้ว ในความเชื่อโหราศาสตร์แบบจีน ลิงเป็น 1 ใน 12 นักษัตร โดยเป็นนักษัตรลำดับที่ 9 เรียกว่า "ปีวอก"[10] ในทางศาสนาและเทพปกรณัมของจีน เห้งเจียเป็นลิงที่ติดตามพระถังซัมจั๋งไปอัญเชิญพระไตรปิฎกถึงชมพูทวีป เป็นลิงที่มีฤทธิ์เดชมาก สามารถปราบปีศาจร้ายได้[11] ทำนองเดียวกับหนุมาน ลิงเผือกที่เป็นทหารเอกของพระราม ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์[12]เป็นต้น
ลิงในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีลิงอยู่ 6 ชนิด (ไม่นับชะนี, ค่าง และลิงลม) คือ ลิงเสน, ลิงกังเหนือ, ลิงกังใต้, ลิงแสม, ลิงไอ้เงี้ยะ และลิงวอก[7] ซึ่งทุกชนิดล้วนแต่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด[13]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ Fleagle, J.; Gilbert, C. Rowe, N.; Myers, M. (บ.ก.). "Primate evolution". All the World's Primates. Primate Conservation, Inc. สืบค้นเมื่อ 18 December 2014.
- ↑ Groves 2008, pp. 92–93.
- ↑ ลิงเฝ้าศาลพระกาฬมาจากไหน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "วิวัฒนาการจากลิงสู่เผ่าพันธุ์มนุษย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.
- ↑ 5.0 5.1 ลิง ๑ น. เก็บถาวร 2012-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ หน้า 171, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ 7.0 7.1 7.2 ท้ายข่าว ละคร "ลิง" คณะสุดท้าย! komchadluek.net
- ↑ ลิงและลิงไม่มีหาง, สารานุกรมภาพสำหรับเด็ก . พิมพ์ครั้งแรก . กรุงเทพฯ : 2523, หน้า394-398
- ↑ "สนุกกับพยัญชนะไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.
- ↑ "วอก น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-05. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.
- ↑ พระโสภณอักษรกิจ (เล็ก สมิตะศิริ). (2547). ไซอิ๋ว. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา. ISBN 9749207769. หน้า 390.
- ↑ หนุมาน (รามเกียรติ์)
- ↑ รายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน