วันเยาวชน (จีน)
วันเยาวชน | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 五四青年節 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 五四青年节 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | วันเยาวชน 4 พฤษภาคม | ||||||
|
วันเยาวชน (จีน: 五四青年节) เป็นวันหยุดที่จัดขึ้นทุกปีในวันที่ 4 พฤษภาคม ใน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเป็นเกียรติแก่เยาวชนที่มีอายุ 14 ปีขึ้นไป [1] วันดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ ขบวนการ 4 พฤษภาคม ในปี 1919 [2]
ที่มา
[แก้]เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 มีการเฉลิมฉลองครบรอบปีแรกของเหตุการณ์ ขบวนการ 4 พฤษภาคม ทั่วประเทศจีน บุคคลสำคัญเช่น เหลียงฉีเชา และ ไช่หยวนเพ่ย ได้ตีพิมพ์บทความเพื่อสนับสนุนการประท้วงของนักศึกษา ในช่วงทศวรรษที่ 1920 ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่าง รัฐบาลกว่างโจว และ รัฐบาลเป่ยหยาง ทางรัฐบาลเป่ยหยางได้สั่งห้ามการชุมนุมและการเดินขบวนรำลึกใน ปักกิ่ง และ เทียนจิน ทำให้การรำลึกถึงเหตุการณ์ย้ายศูนย์กลางไปยัง หนานจิง และ เซี่ยงไฮ้ ในปี ค.ศ. 1923 สมาคมนักศึกษาระดับประเทศได้แจ้งไปยังสมาคมนักศึกษาท้องถิ่นว่าแต่ละแห่งต้องจัดงานรำลึกทุกปี
การเกิดเหตุการณ์ May Ninth National Humiliation (五九國恥) และ May Third incident ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้เริ่มมีการจัดงานรำลึกในเชิงต่อต้านญี่ปุ่นมากขึ้น เมื่อความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่นทวีความรุนแรง วันครบรอบ 4 พฤษภาคมจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1933 (หนึ่งปีหลัง เหตุการณ์มุกเดน) การชุมนุมครั้งหนึ่งได้ประกาศให้วันที่ 4 พฤษภาคมเป็น "วันรำลึกการเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมจีน" [3]
ในปี ค.ศ. 1939 เพื่อต้อนรับวาระครบรอบ 20 ปีของเหตุการณ์ขบวนการ 4 พฤษภาคม สมาคมช่วยเหลือเยาวชนในเขตชายแดนส่าน-กาน-หนิงได้กำหนดให้วันที่ 4 พฤษภาคมเป็น วันเยาวชนจีน เหมา เจ๋อตง เขียนบทความยกย่องขบวนการ 4 พฤษภาคม และรัฐบาล สาธารณรัฐจีน ได้ประกาศให้วันที่ 4 พฤษภาคมเป็นวันเยาวชนอย่างเป็นทางการ [3]
ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 ทั้ง พรรคก๊กมินตั๋ง และพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่างจัดกิจกรรมฉลองวันเยาวชนร่วมกันเป็นครั้งแรก[3] อย่างไรก็ตาม ในช่วง ค.ศ. 1940 หรือ 1943 รัฐบาลก๊กมินตั๋งได้ย้ายวันเยาวชนไปเป็นวันที่ 29 มีนาคม เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ การจลาจลเนินดอกไม้เหลือง [4][3]
ในปี ค.ศ. 1949 สภาการบริหารGovernment Administration Council ของ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ประกาศวันที่ 4 พฤษภาคมเป็น วันเยาวชนแห่งชาติจีน โดยกำหนดให้คนที่มีอายุ 14–28 ปี สามารถหยุดงานได้ครึ่งวัน[5]
ใน ไต้หวัน วันที่ 4 พฤษภาคมยังคงมีการเฉลิมฉลองในฐานะ วันวรรณกรรม[4][6]
การเฉลิมฉลอง
[แก้]ที่มหาวิทยาลัย ปักกิ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันที่มีบทบาทสำคัญใน ขบวนการ 4 พฤษภาคม วันเยาวชนจะมีการเฉลิมฉลองด้วยการกล่าวสุนทรพจน์ การแข่งขันร้องเพลง และกิจกรรมอื่น ๆ[7]
ในปี พ.ศ. 2537 คณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กำหนดให้วันเยาวชนเป็นหนึ่งในหลาย ๆ วันสำคัญที่รัฐบาลท้องถิ่นสามารถใช้จัดกิจกรรม การศึกษาปลูกฝังความรักชาติ[8]
หลังจากการ ส่งมอบฮ่องกง และ มาเก๊า ให้กับจีน วันเยาวชน 4 พฤษภาคมไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการในเขตบริหารพิเศษเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม มีการเฉลิมฉลองผ่านกิจกรรมที่จัดโดยหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การพิธีชักธงชาติที่ จัตุรัสโกลเด้นโบฮิเนีย ในฮ่องกง[9][10][11][12]
ดูเพิ่ม
[แก้]- วันวรรณกรรม
- วันเยาวชน (วันเฉลิมฉลองในประเทศอื่น)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Koetse, Manya (4 May 2015). "May Fourth – China Youth Day". สืบค้นเมื่อ 28 March 2021.
- ↑ Boyd, Alexander (7 May 2020). "Young people of China, go consume and have fun! May Fourth propaganda from popular video sharing site Bilibili". SupChina. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 楊濤 (2010). "民國時期的"五四"紀念活動" (PDF). 二十一世紀雙月刊 (2010年6月號.總第一一九期). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-16. สืบค้นเมื่อ 2019-07-19 – โดยทาง 香港中文大学.
- ↑ 4.0 4.1 陳建忠 (2011-05-05). "五四文藝節". 臺灣大百科全書. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
- ↑ "14至28周岁青年"五四"放假半天". 人民网 (ภาษาจีนตัวย่อ). 人民日报. 2008-04-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-27. สืบค้นเมื่อ 2009-05-04.
- ↑ 游桂香 (2016-05-05). "【藝起飛揚—馬祖藝文節】馬祖的「民國讀書伯」與「五四文藝節」". 馬祖日報. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-07-19.
- ↑ "Understanding China's Youth Day – China – Chinadaily.com.cn". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 28 March 2021.
- ↑ Wang, Zheng (2008). "National Humiliation, History Education, and the Politics of Historical Memory: Patriotic Education Campaign in China". International Studies Quarterly. 52 (4): 783–806. doi:10.1111/j.1468-2478.2008.00526.x. ISSN 0020-8833. JSTOR 29734264. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
- ↑ "腾讯网:香港100多万学生参加"五四"升国旗仪式". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-22. สืบค้นเมื่อ 2009-05-04.
- ↑ "新华网:香港举行纪念五四运动90周年座谈会". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-04. สืบค้นเมื่อ 2009-05-04.
- ↑ "东方新闻:纪念"五四运动"澳门青年社团筹备系列活动". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 2009-05-04.
- ↑ "Views differ on May 4 event". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 9 May 2006. สืบค้นเมื่อ 28 March 2021.