วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ
วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ | |
---|---|
ญี่ปุ่น | カメラを止めるな! |
เฮปเบิร์น | Kamera wo Tomeru na! |
ตรงตัว | อย่าหยุดเดินกล้อง! |
กำกับ | ชินอิจิโร อูเอดะ |
บทภาพยนตร์ | ชินอิจิโร อูเอดะ |
อำนวยการสร้าง | โคจิ อิจิฮาชิ |
นักแสดงนำ |
|
กำกับภาพ | สึโยชิ โซเนะ[1] |
ตัดต่อ | ชินอิจิโร อูเอดะ[1] |
ดนตรีประกอบ |
|
บริษัทผู้สร้าง | เอ็นบุเซมินาร์[1] |
วันฉาย |
|
ความยาว | 97 นาที |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภาษา | ภาษาญี่ปุ่น |
ทุนสร้าง | ¥3 ล้าน (800,000 บาท) |
ทำเงิน | ¥3.12 พันล้าน (ญี่ปุ่น) $31.2 ล้าน (ทั่วโลก) |
วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ (ญี่ปุ่น: カメラを止めるな!; โรมาจิ: Kamera wo Tomeru na!; อย่าหยุดเดินกล้อง!) เป็นภาพยนตร์ซอมบีคอมเมดีญี่ปุ่น[1][2] เขียนและกำกับโดย ชินอิจิโร อูเอดะ เล่าเรื่องราวของทีมนักแสดงและผู้ผลิตภาพยนตร์ที่ได้รับหน้าที่ให้ถ่ายภาพยนตร์ซอมบีขณะการออกอากาศสด อีกทั้งยังต้องถ่ายภายในเทคเดียวเท่านั้น
ภาพยนตร์ถูกสร้างขึ้นด้วยทุนสร้างเพียง 3 ล้านเยน (850,000 บาท) และฉายครั้งแรกในโรงละครขนาดเล็กในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลา 6 วัน หลังจากความสำเร็จในระดับนานาชาติที่เทศกาลภาพยนตร์อูดิเน วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ ได้รับการฉายในประเทศต่าง ๆ รวมถึงฉายซ้ำอีกครั้งในประเทศญี่ปุ่น สามารถสร้างรายได้ถึง 3.12 พันล้านเยน (89 ล้านบาท) และ 31.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั่วโลก จึงเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ที่สามารถสร้างรายได้เกินทุนสร้างหลายเท่าตัว[3] ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ถึงความไม่เหมือนใคร การเขียนบท และอารมณ์ขันที่มีในภาพยนตร์
เนื้อเรื่อง
[แก้]ในช่วงแรกของภาพยนตร์ นักแสดงและทีมงานภาพยนตร์ซอมบีทุนผลิตต่ำเรียกวันคัทออฟเดอะเดต กำลังถ่ายทำอยู่ในโรงงานบำบัดน้ำเสียร้าง ผู้กำกับฮิงูราชิหมดหวังกับภาพยนตร์ที่อาจจะไม่สำเร็จและท้อแท้กับนักแสดงของเขา ช่างภาพโฮโซดะกลายร่างเป็นซอมบีและกัดผู้ช่วยผู้กำกับคาซาฮาระ นักแสดงหญิงชินัตสึ นักแสดงชายโค และช่างแต่งหน้านาโอะผลักซอมบีออกไปด้านนอกโรงงาน ฮิรางูชิยืนกรานที่จะถ่ายทำต่อโดยใช้ซอมบีจริง ผู้กำกับเสียงยามาโงะหนีออกนอกโรงงานและติดเชื้อซอมบี ฮิงูราชิพายามาโงะที่กลายร่างแล้วกลับเข้ามาในโรงงานและโยนเข้าไปเพื่อถ่ายทำต่อ นาโอะตัดศีรษะยามาโงะ เลือดของเขาอาจทำให้เธอติดเชื้อไปด้วย
ชินัตสึ โค และนาโอะพยายามหนีออกมา แต่ฮิงูราชิสร้างฉากต่อสู้โดยใช้คาซาฮาระที่กลายเป็นซอมบีแล้วและถ่ายทำต่อ ชินัตสึเผชิญหน้ากับซอมบีและได้รับการช่วยเหลือจากโค พวกเขารวมตัวกับนาโอะอีกครั้ง เธอสงสัยว่าชินัตสึนั้นติดเชื้อ นาโอะจึงพยายามฆ่าชินัตสึและวิ่งไล่ตามเธอไป มีการปล่อยซอมบีออกมาในระหว่างการวิ่งหนี นอกจอโคฆ่านาโอะเพื่อช่วยเหลือชินัตสึ นาโอะที่กลายเป็นซอมบีทำให้โคติดเชื้อ ซอมบีไม่ทราบชื่อเข้าหาชินัตสึเฉย ๆ และเดินออกไป ชินัตสึเผชิญหน้ากับโคที่เป็นซอมบีอีกครั้ง ชินัตสึตัดศีรษะโค ฮิงูราชิด่าว่าชินัตสึที่ฆ่านักแสดงของเขา ชินัตสึฆ่าฮิงูราชิ เธอเดินไปอยู่บนรูปดาวห้าแฉกเลือดในสภาพมึนงงเป็นการจบช่วงแรกของภาพยนตร์
ในช่วงที่สองของภาพยนตร์เล่าเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของนักแสดงและทีมงานวันคัทออฟเดอะเดต ในระหว่างที่พวกเขาเตรียมตัวในการถ่ายทำภายในเทคเดียว วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ ยังได้รับการเปิดเผยว่าทั้งหมดจะเป็นการออกอากาศสด ทำให้ไม่สามารถถ่ายทำใหม่หรือมีความล่าช้าได้
ช่วงที่สามของภาพยนตร์แสดงให้เห็นถึงเบื้องหลังการถ่ายทำที่วุ่นวายของวันคัทออฟเดอะเดต นักแสดงหลักสองคนไม่สามารถเข้าร่วมการถ่ายทำได้ ทำให้ผู้กำกับทากายูกิ ฮามัตสึ และภรรยาของเขาฮารูมิ ชูฮามะต้องเข้ามาแทนที่บทบาทของฮิงูราชิละนาโอะแทน นอกจากนี้ยังเปิดเผยว่าระหว่างการถ่ายทำ ฮารูมิ ชูฮามะ เล่นเกินบทของเธอไปโดยการต่อสู้ทางร่างกายของนักแสดงอย่างรุนแรง จากนั้นมานาบุ โฮโซอิ (แสดงเป็นโฮโซดะ) สลบไปด้วยความมึนเมาและจากนั้นก็อาเจียนออกมา อีกทั้งอาการท้องร่วงของชุนตาโร ยามาซากิทำให้ตัวละครของเขา ยามาโงะ ต้องออกนอกโรงงานไปโดยไม่ได้อยู่ในบท ขณะที่ช่างภาพหลักได้รับบาดเจ็บที่หลังและได้รับการเปลี่ยนตัวกระทันหันระหว่างถ่ายทำ ฮารูมิ ชูฮามะเล่นนอกบทและเริ่มโจมตีนักแสดงและทีมงานระหว่างการไล่ตามชินัตสึ ทำให้ทากายูกิ ฮามัตสึต้องรัดคอเธอให้สลบ และจากนั้นจึงนำตัวฮารูมิ ชูฮามะที่ฟื้นแล้วออกเพื่อไม่ให้ขัดขวางฉากจบระหว่างชินัตสึและโค อีกทั้งยังเปิดเผยว่าซอมบีที่ไม่ได้โจมตีชินัตสึนั้นเป็นทีมงานที่คอยให้คำแนะนำการแสดงเธอ ขณะที่เครนเสากล้องนั้นหักจากอุบัติเหตุ ทำให้ทั้งนักแสดงและทีมงานต้องทำพีระมิดมนุษย์เพื่อจำลองฉากภาพมุมสูงด้วยเครนเป็นการจบช่วงแรกของภาพยนตร์ เหล่านักแสดงและทีมงานต่างดีใจที่การถ่ายทำสำเร็จลุล่วง
นักแสดง
[แก้]- ทากายูกิ ฮามัตสึ แสดงเป็น ฮิงูราชิ
- ยูซูกิ อากิยามะ แสดงเป็น ชินัตสึ
- คาซูอากิ นางายะ แสดงเป็น โค
- ฮารูมิ ชูฮามะ แสดงเป็น นาโอะ
- มานาบุ โฮโซอิ แสดงเป็น โฮโซดะ
- ฮิโรชิ อิจิฮาระ แสดงเป็น คาซาฮาระ
- ชุนตาโร ยามาซากิ แสดงเป็น ยามาโงะ
- ชินอิจิโร โอซาวะ
- โยชิโกะ ทาเกฮาระ (ดงงูริ)
- ซากินะ อาซาโมริ
- มิกิ โยชิดะ
- อายานะ โกดะ
- มาโอะ
การผลิต
[แก้]ชินอิจิโร อูเอดะ กำกับ ตัดต่อ และเขียนบทภาพยนตร์สำหรับวันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ[1] อูเอดะเป็นนักผลิตภาพยนตร์อิสระที่เคยได้สร้างภาพยนตร์สั้นหลายเรื่องมาก่อน[4] สำหรับภาพยนตร์ เขากล่าวว่าวันคัทซอมบี้งับๆๆๆ ได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากการแสดงเวทีของเรียวอิจิ วาดะ โกชอินเดอะบ็อกซ์ ที่อูเอดะได้ชมเมื่อ 5 ปีก่อนการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้[5] วาดะ นักเขียนบทละครและผู้กำกับละครเวทีได้นำเสนอละครเวทีโกชอินเดอะบ็อกซ์ ตั้งแต่ปี 2011 จนถึง 2014[6]
ในการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ อูเอดะได้ร่วมทำงานกับโรงเรียนการแสดงเอ็นบุเซมินาร์ในโตเกียว เอ็นบุเซมินาร์ไม่ได้เพียงแต่ผลิตภาพยนตร์แต่ยังจัดกเวิร์กช็อปการแสดงที่อูเอดะเคยช่วยคัดเลือกนักแสดงของเขา โดยส่วนใหญ่แล้วนักแสดงไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง[4] หนึ่งในนักแสดงของวันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ ยูซูกิ อากิยามะ กล่าวว่าเวิร์กช็อปนั้นใช้เวลา 2 เดือน[7] อากิยามะเคยร่วมงานกับอูเอดะในภาพยนตร์สั้นของเขาในปี 2011 เรื่องโคยซูรุโชเซ็ตสึกะ (ญี่ปุ่น: 恋する小説家)[8]
การถ่ายทำวันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ ใช้เวลาเกือบ ๆ 8 วันในเดือนมิถุนายน 2017[8] ที่โรงบำบัดน้ำเสียร้างแห่งหนึ่งในมิโตะ จังหวัดอิบารากิ[4] อากิยามะบรรยายถึงกระบวนการถ่ายทำว่า "สนุกแต่ก็เหนื่อยมาก ๆ" เพราะความกดดันในการทำให้ฉากลองเทคนั้นไม่มีข้อผิดพลาดแม้แต่น้อย[8] โดยลองเทคที่มีความยาวทั้งสิ้น 37 นาที ขณะถ่ายภาพยนตร์ซอมบีด้วยความต่อเนื่องนั้นถ่ายไปทั้งหมด 6 เทค[7]
วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ ถูกสร้างขึ้นด้วยเงินทุน 3 ล้านเยน (ราว 800,000 บาทในเวลานั้น)[1] และได้รับเงินจากการระดมทุนสาธารณะด้วยอีกส่วนหนึ่ง[9] หลังจากการถ่ายทำระยะเวลา 8 วันแล้วนั้น อูเอดะยังใช้เวลาตัดต่อภาพยนตร์เรื่องนี้อีก 4 เดือน[7]
การฉาย
[แก้]ผู้อำนวยการสร้างและเอ็นบุเซมินาร์ โคจิ อิจิฮาชิ กล่าวว่าเป้าหมายแรกของภาพยนตร์เรื่องนี้คือการขายตั๋วภาพยนตร์ให้ถึงยอด 5,000 ใบ[4][10] วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ เปิดฉายในประเทศญี่ปุ่นในโรงภาพยนตร์ขนาด 84 ที่นั่งด้วยรอบฉายเพียง 6 วัน[1] ภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มเรียกความสนใจของนานาชาติหลังได้รับรางวัลรองชนะเลิศในสาขาผลโหวตผู้ชมที่งานเทศกาลภาพยนตร์ฟาร์อีสท์อูดีเน[2]
หลังได้รับผลตอบรับเชิงบวกนอกประเทศญี่ปุ่น ในเดือนกรกฎาคม ภาพยนตร์นี้ได้รับการฉายใน 3 โรงภาพยนตร์ในโตเกียวโดยจะมอบส่วนลดให้แก่ผู้ชมที่แต่งกายเป็นซอมบีเพื่อช่วยสร้างความสนใจให้แก่ภาพยนตร์[1] แอสมิกเอซ เริ่มเข้ามีบทบาทในการเพิ่มรอบฉายในโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ ในเดือนกรกฎาคม วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ ถูกนำมาฉายทั่วประเทศญี่ปุ่นกว่า 200 จอในเดือนมีนาคม 2018 จึงทำให้ได้รายได้ทั้งสิ้น 800 ล้านเยน[1]
ผลตอบรับ
[แก้]รายได้
[แก้]ในประเทศญี่ปุ่น ภาพยนตร์นี้ได้ขายตั๋วไปทั้งสิ้น 2,149,449 ใบและทำรายได้ ¥3,040,246,069 ภายใน 136 วัน[11] ซึ่งทำให้เป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นลำดับ 7 ที่สามารถทำรายได้สูงที่สุดในปี 2018 โดยทำรายได้ 3.12 พันล้านเยน (89 ล้านบาท) ในประเทศญี่ปุ่น[12][13] ถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่สามารถทำรายได้ให้สูงกว่าทุนสร้างเดิมกว่าพันเท่า[3]
ขณะที่ต่างประเทศ ภาพยนตร์ทำรายได้ 53 ล้านNT$ (60 ล้านบาท) ในไต้หวัน[14] 7.06 ล้านHK$ (30 ล้านบาท) ในฮ่องกง[15] $154,123 (5 ล้านบาท) ในเกาหลีใต้[16] 52,406 ดอลลาร์สหรัฐ (1.7 ล้านบาท) ในสหรัฐและแคนาดา และ 2,903 ดอลลาร์สหรัฐ (90,000 บาท) ในไอซ์แลนด์[17] รายได้จากทั้งโลกรวมทั้งสิ้น 31,178,962 ดอลลาร์สหรัฐ (1 พันล้านบาท)
ข้อกล่าวหาการลอกเลียน
[แก้]ในเดือนสิงหาคม 2018 เรียวอิจิ วาดะ ให้สัมภาษณ์ว่า วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ เป็นการดัดแปลงมาจาก โกชอินเดอะบ็อกซ์ และเขากำลังปรึกษากับตัวแทนทางกฎหมาย[18] หนึ่งเดือนก่อนหน้า วาดะได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ในเชิงบวกบนโซเชียลมีเดียของเขา[5] ขณะที่อูเอดะกล่าวว่าโกชอินเดอะบ็อกซ์ เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างจริง แต่ปฏิเสธว่าเขาไม่ได้ลอกเลียนแบบละครเวทีของวาดะ[18][19] ทั้งอูเอดะและวาดะได้ตกลงที่จะให้เครดิตวาดะและละครเวทีโกชอินเดอะบ็อกซ์ ในช่วงเครดิตท้ายเรื่องของวันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ[6]
รางวัล
[แก้]รางวัล | สาขา | ผลงานที่เข้าชิง | ผล |
---|---|---|---|
43rd Hochi Film Awards[20] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลพิเศษ | ชนะ | ||
ผู้กำกับยอดเยี่ยม | ชินอิจิโร อูเอดะ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ศิลปินมาใหม่ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
31st Nikkan Sports Film Awards[21] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลยูจิโรอิชิฮาระ | ชนะ | ||
ผู้กำกับยอดเยี่ยม | ชินอิจิโร อูเอดะ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงมาใหม่ดีเด่น | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
40th Yokohama Film Festival[22] | รางวัลผู้ตัดสินพิเศษ | วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ | ชนะ |
73rd Mainichi Film Awards[23] | ผู้กำกับยอดเยี่ยม | ชินอิจิโร อูเอดะ | ชนะ |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
61st Blue Ribbon Awards[24] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ | ชนะ |
ผู้กำกับยอดเยี่ยม | ชินอิจิโร อูเอดะ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
28th Tokyo Sports Film Awards[25] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้กำกับยอดเยี่ยม | ชินอิจิโร อูเอดะ | ชนะ | |
นักแสดงนำชายดีเด่น | ทากายูกิ ฮามัตสึ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบหญิงดีเด่น | ฮารูมิ ชูฮามะ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงมาใหม่ดีเด่น | ชนะ | ||
42nd Japan Academy Prize[26] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้กำกับยอดเยี่ยม | อิจิโร อูเอดะ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำชายดีเด่น | ทากายูกิ ฮามัตสึ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ชินอิจิโร อูเอดะ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ดนตรีประกอบดีเด่น | โนบูฮิโระ ซูซูกิ, โชมะ อิโต และ ไคล์ นางาอิ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม | ทาเกชิ โซเนะ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม | โคกิจิ โคโมดะ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ชินอิจิโร อูเอดะ | ชนะ | |
13th Asian Film Awards | ผู้กำกับมาใหม่ดีเด่น | ชินอิจิโร อูเอดะ | เสนอชื่อเข้าชิง |
ภาคต่อ
[แก้]One Cut of the Dead Spin-Off: In Hollywood [27] (ญี่ปุ่น: カメラを止めるな!スピンオフ ハリウッド大作戦!; โรมาจิ: Kamera wo Tomeru na! Supin-ofu: Hariuddo Daisakusen! เป็นภาพยนตร์ความยาว 59 นาทีที่สร้างในปี 2019 และออกอากาศบนโทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่น เล่าเรื่องลูกสาวของทากายูกิ ฮิงูราชิ ว่าเธอจะสร้างภาพยนตร์วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ อย่างไรเหมือนกับพ่อของเธอ
ระหว่างการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น อูเอดะตัดสินใจที่จะผลิตภาพยนตร์สั้นขึ้นมาภายใต้ชื่อOne Cut of the Dead Mission: Remote (ญี่ปุ่น: カメラを止めるな!リモート大作戦!; โรมาจิ: Kamera wo Tomeru na! Rimōto Daisakusen!)[28][29] ที่จะเป็นภาคต่อของวันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ ผู้ผลิตต้องการที่จะสร้างอะไรบางอย่างที่จะช่วยผ่อนคลายจิตใจในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19[4] หลังจากการติดต่อนักแสดงเพื่อยืนยันว่าพวกเขาจะรับบทบาทแสดงตัวละครในภาพยนตร์อีกครั้ง อูเอดะเขียนบทภาพยนตร์ภายในคืนเดียวและจัดแจงภาระหน้าที่ผ่านระบบการประชุมทางไกล นักแสดงได้รับมอบหมายให้ถ่ายเซลฟีขณะแสดง และจากนั้นจึงส่งให้ผู้กำกับผ่านแอปพลิเคชันส่งข้อความ[4] นอกจากนี้ อูเอดะได้ขอให้ผู้คนบนโซเชียลมีเดียอัปโหลดวิดีโอของพวกเขาขณะเต้นเพลงเพื่อนำไปใช้ในภาพยนตร์[4][30]
การผลิตทั้งหมดของ One Cut of the Dead Mission: Remote ใช้เวลาราว 1 เดือนและภาพยนตร์ถูกอัปโหลดลงบนยูทูบสำหรับผู้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2020[30]
รายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 Kerr, Elizabeth (20 March 2018). "'One Cut of the Dead': Film Review". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 22 October 2018.
- ↑ 2.0 2.1 Kuipers, Richard (5 May 2018). "Film Review: 'One Cut of the Dead'". Variety. สืบค้นเมื่อ 22 October 2018.
- ↑ 3.0 3.1 Nguyen, Hanh (31 December 2018). "'One Cut of the Dead': A Bootleg of the Japanese Zombie Comedy Mysteriously Appeared on Amazon". IndieWire. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Hernon, Matthew (2020-05-08). "'One Cut of the Dead' director Shinichiro Ueda brings teleworking to Japan's film industry". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
- ↑ 5.0 5.1 Blair, Gavin J. (2018-08-21). "The $27,000 Zombie Film That Refuses to Die at the Japanese Box Office". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
- ↑ 6.0 6.1 Frater, Patrick (2019-03-20). "Japanese Sleeper Hit 'One Cut of the Dead' Heads for English Remake (EXCLUSIVE)". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Sahani, Alaka (2019-01-16). "A Cut Above the Rest". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Hernon, Matthew (2019-01-11). ""One Cut of the Dead" Star Yuzuki Akiyama on the Movie's Surprise Mega-Success". Tokyo Weekender (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
- ↑ Schilling, Mark (2018-05-31). "Japan Debates the Ethics of Making Films on the Cheap". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
- ↑ Schilling, Mark (2018-10-23). "'One Cut of the Dead' Passes 2 Million Admissions Mark". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
- ↑ "『カメ止め』30億円突破、サラダパンとタイア". Bunka Tsūshin. สืบค้นเมื่อ 8 November 2018.
- ↑ "2018". Eiren. Motion Picture Producers Association of Japan. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.
- ↑ Pineda, Rafael Antonio (2018-12-31). "Top 10 Grossing Domestic Japanese, Foreign Films of 2018 Listed". Anime News Network (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
- ↑ "一屍到底-票房收入". Dorama. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.
- ↑ "One Cut of the Dead (2018)". EntGroup. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.
- ↑ "One Cut of the Dead - Financial Information South Korea". The Numbers. สืบค้นเมื่อ 2 March 2019.
- ↑ "One Cut of the Dead". Box Office Mojo. October 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
- ↑ 18.0 18.1 Schilling, Mark (2018-08-23). "Zombie Comedy 'One Cut of the Dead' Attracts Crowds and Controversy". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
- ↑ Schilling, Mark (2018-12-19). "As two rule breakers gave the Japanese film world hope in 2018, elsewhere eyes turned to China". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
- ↑ "「カメ止め」報知映画賞の特別賞に、上田慎一郎をキャストが祝福". Natalie. สืบค้นเมื่อ 21 December 2018.
- ↑ "「カメラを止めるな!」石原裕次郎賞受賞記念特集". Nikkan Sports. สืบค้นเมื่อ 21 December 2018.
- ↑ "『第40回ヨコハマ映画祭 2018年日本映画個人賞". Yokohama eigasai. สืบค้นเมื่อ 21 December 2018.
- ↑ "柄本佑&安藤サクラ、主演賞を"夫婦独占" 『第73回 毎日映画コンクール』". Oricon. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
- ↑ "ブルーリボン賞決定 舘ひろし、門脇麦らが受賞 作品賞は「カメ止め」 受賞者作品一覧". Sports Hōchi. 21 January 2019. สืบค้นเมื่อ 21 January 2019.
- ↑ "たけしが選ぶ東スポ映画大賞で「万引き家族」4冠!新人賞はしゅはまはるみ". Natalie. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
- ↑ "【日本アカデミー賞全リスト】「万引き家族」最多8冠!孤狼の血、カメ止めにも栄誉". Natalie. สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
- ↑ Nakaizumi, Yûya (2019-03-02), Kamera o tomeru na! supin-ofu: Hariuddo daisakusen! (Comedy, Horror), Mao, Takayuki Hamatsu, Yuzuki Akiyama, Sakina Asamori, CyberAgent, ENBU Seminar, St'Blue Co., สืบค้นเมื่อ 2021-02-16
- ↑ "『カメラを止めるな!』短編映画、完全リモートで製作&YouTube公開". Cinemacafe (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-04-13. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "One Cut of the Dead Mission: Remote | A japanese short film completely made remotely!! - YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-16.
- ↑ 30.0 30.1 Sato, Misuzu (2020-06-02). "'One Cut of the Dead' sequel captures climate of coronavirus". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.