วัดเทียนหมุ
วัดเทียนหมุ (<ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de>; วัดนารีสวรรค์) เป็นวัดเก่าแก่ในเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม วัดนี้ปรากฎอยู่ในตำนานพื้นถิ่น เพลงพื้นถิ่น และใน กาเดา ที่เกี่ยวกับเมืองเว้[1] วัดเทียนหมุตั้งอยู่บนเขาห่าเค (Hà Khê) เขตเฮืองลง (Hương Long) ห่างไปราว 5 กิโลเมตร (3.1 ไมล์) จากเขตกำแพงเมืองเว้ วัดเทียนหมุสร้างขึ้นโดยจักรพรรดิราชวงศ์เหงียนบนชายฝั่งทางเหนือของแม่น้ำหอม[1][2][3] นอกจากนี้ในวัดยังเป็นที่เก็บรักษาและจัดแสดงรถยนต์คันที่ขับภิกษุทิก กว๋าง ดึ๊ก ไปจุดไฟเผาตนจนมรณภาพในเมืองไซ่ง่อนเพื่อประท้วงนโยบายกดขี่ชาวพุทธของเวียดนามใต้ที่นำโดยประธานาธิบดี โง ดิ่ญ เสี่ยม ในเวลานั้น
วัดเทียนหมุสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1601 ตามดำรัสของขุนนางเหงียนองค์แรก เหงียน ฮหว่าง ซึ่งในเวลานั้นเป็นผู้ว่าการนครเถวี่ยนฮว้าหรือเว้ในปัจจุบัน ในพระราชพงศาวดารบันทึกว่า ขณะเหงียน ฮหว่าง กำลังเดินทางสำรวจพื้นที่โดยรอบนครก็ได้ฟังตำนานพื้นถิ่นเกี่ยวกับเทียนหมุ (นารีสวรรค์) ซึ่งเป็นสตรีสูงวัย แต่งกายด้วยชุดสีแดงและน้ำเงินนั่งถูแก้มของเธออยู่ตรงจุดที่ปัจจุบันคือวัดเทียนหมุ เธอทำนายทายทักว่าขุนนางหว่านต่อมาจะเดินทางมาสร้างวัดบนเขาลูกนี้เพื่อสวดขอความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศ หลังเธอกล่าวเสร็จก็หายวับไป หลังฮหว่างได้ฟังเช่นนี้จึงมีคำสั่งให้สร้างวัดเทียนหมุขึ้น[1][2] นารีสวรรค์เทียนหมุนี้มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่าดัดแปลงมาจากเทวีโพนคร ซึ่งเป็นเทวีของชาวจามดั้งเดิม[4]
เจดีย์สูงเจ็ดชั้นของวัดเทียนหมุมีชื่อว่าเจดีย์เฟื้อกเดวียน (Phước Duyên) สร้างขึ้นโดยจักรพรรดิเถี่ยว จิ ในปี 1844 ในชื่อเจดีย์ถู่ญัน (Từ Nhân) เจดีย์สร้างขึ้นจากอิฐและมีความสูง 21 เมตร มีลักษณะแปลนเป็นรูปแปดเหลี่ยม ความสูงเจ็ดชั้นของเจดีย์นั้นแทนพระพุทธเจ้าเจ็ดพระองค์[1] และมักได้รับการยอมรับให้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองเว้อย่างไม่เป็นทางการ[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Võ Văn Tường. "Các chùa miền Trung" (ภาษาVietnamese). Buddhism Today. สืบค้นเมื่อ 2008-02-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 2.2 Ray, Nick (2005). Vietnam. Lonely Planet. pp. 211–212. ISBN 1-74059-677-3.
- ↑ Nguyễn Long, Kerry (2013). Arts of Việt Nam, 1009–1945. Thẽ Giới. pp. 161–162. ISBN 978-604-77-0598-6.
- ↑ Nguyễn, Thế Anh (1995). "The Vietnamization of the Cham Deity Pô Nagar". Asia Journal. 2: 55–67.