วัดหายโศก (อำเภอเมืองหนองคาย)
วัดหายโศก | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ที่ตั้ง | ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระสุวรรณธีราจารย์ (คำบ่อ อรุโณ) |
![]() |
วัดหายโศก เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 2 ตารางวา
วัดหายโศกตั้งวัดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2373 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาคือวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 8 เมตร ยาว 22 เมตร ไม่ทราบนามผู้สร้าง การสร้างและบูรณะพัฒนาวัด ได้อาศัยบารมีหลวงพ่อพระใสที่เคารพสักการะของชาวเมืองหนองคาย ได้ช่วยกันบริจาคทรัพย์และอื่น ๆ พัฒนาวัดมาเป็นลำดับ ด้านการศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2500 และโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2500
อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถทรงมหาอุดน่าจะสร้างราว 300 ปี[1] ศาลาการเปรียญ และกุฎิสงฆ์ 3 หลัง ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระประธานในอุโบสถ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 2 เมตร ปางมารวิชัย พระพุทธรูปทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 30 และ 25 นิ้ว[2]
รายนามเจ้าอาวาส
[แก้]- พระครู
- หลวงพอสังข์
- หลวงพอจันทร์
- พระเหมือย
- พระมุ้ย
- หลวงพ่ออุ่น
- พระครูใบฎีกาเมือง พ.ศ. 2475–2479
- พระอ่าง พ.ศ. 2479–2486
- พระครูลัดเรือง พ.ศ. 2486–2489
- พระมหานวน เขมจารี พ.ศ. 2489–2491
- พระเวทีวุฒิกร (ชัชวาลย์ ชุตินธโร) พ.ศ. 2491–2515
- พระราชปรีชาญาณมุนี ปรีชาญาณมุนี (นวน เขมจารี) พ.ศ. 2515–2532
- พระสุวรรณธีราจารย์ (คำบ่อ อรุโณ) พ.ศ. 2533–
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดหายโศก หนองคาย ทิ้งทุกข์ลงแม่น้ำโขง". ไทยรัฐ.
- ↑ "วัดหายโศก". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น.