ข้ามไปเนื้อหา

วัดถ้ำผาน้ำทิพย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดถ้ำผาน้ำทิพย์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดถ้ำผาน้ำทิพย์, วัดผาน้ำทิพย์, วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม
ที่ตั้งตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายธรรมยุติกนิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดถ้ำผาน้ำทิพย์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพุทธอุทยานมีเนื้อที่ 2,500 ไร่

วัดถ้ำผาน้ำทิพย์ หรือ วัดผาน้ำทิพย์ หรือ วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม มูลเหตุในการสร้างวัด เมื่อปี พ.ศ. 2493–2494 ท่านพระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ธุดงค์มาเจริญสมถกัมมัฎฐานบริเวณนี้ ต่อมา พ.ศ. 2493–2500 ท่านพระอาจารย์ได้พาพระภิกษุซึ่งเป็นศิษย์มาปฏิบัติธรรม บริเวณนี้แต่เดิมเป็น ป่าดงดิบสภาพป่า สวยงามตามธรรมชาติ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ ได้ชื่อว่า ผาน้ำย้อย เพราะมีลักษณะเป็นนหน้าผาสูงชัน มีน้ำตกไหลหยดย้อยตลอดเวลาทั้งปี เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็จะได้น้ำ ณ จุดนี้ไปดื่มกิน เพื่อรักษาโรคตามความเชื่อจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้ชื่อว่า "วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม" ต่อมาสภาพป่าถูกทำลายเนื่องจากประชาชนได้ลักลอบตัดไม้บางกลุ่มก็เข้าไปทำไม้แปรรูปขาย ทางราชการจึงได้พิจารณาเห็นความสำคัญของพุทธศาสนา[1]

ดังนั้นในปี พ.ศ. 2517 ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ในสมัยนั้น จึงได้กราบนิมนต์ท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อให้ท่านพิจารณาตั้งวัดเป็นการถาวรขึ้น ท่านได้ส่งพระมาจำพรรษา จำนวน 5 รูป ซึ่งมี หลวงปู่ บุญศรี ญาณธมฺโม รวมอยู่ด้วย จนตั้งวัดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2535 ผู้ขออนุญาตสร้างวัดคือ นายทองหล่อ วรเชษฐ[2] ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล

[แก้]

วัดเป็นที่ประดิษฐาน "พระมหาเจดีย์ชัยมงคล" ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2528 โดยมีพระเทพวิสุทธิมงคล หรือหลวงปู่ศรีมหาวีโร ซึ่งเป็นศิษย์ของพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมในด้านการบำเพ็ญปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐานแก่พระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชน

พระมหาเจดีย์ชัยมงคลภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีลักษณะเป็นรูประฆังคว่ำ ศิลปะผสมผสานระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน ภายนอกพระมหาเจดีย์ชัยมงคล มีวิหารคด หอระฆัง และเจดีย์บริวารทั้ง 8 องค์[3] มีความกว้าง 101 เมตร ความยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ และยอดทองคำใช้ทองคำมี่มีน้ำหนักถึง 60 กิโลกรัม ภายในนอกจากประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งอยู่ชั้นบนสุด แล้วยังเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนของพระเกจิอาจารย์ในอดีตทั้ง 101 องค์ มีพิพิธภัณฑ์วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่ศรี[4]

พระมหาเจดีย์ชัยมงคลออกแบบโดยกรมศิลปากร เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศสร้าง ในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109 เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์

  • ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
  • ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลายไทยวิจิตรพิสดาร
  • ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
  • ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา
  • ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์นาราม (ผาน้ำย้อย)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
  2. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งวัดในพระพุทธศาสนา [วัดถ้ำผาน้ำทิพย์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
  3. "วิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ของประติมากรรม ที่ปรากฏในพระมหาเจดีย์ชัยมงคล วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด". วารสารปรัชญาปริทรรศน์.
  4. "วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).