วัดตั่วแปะกง
วัดตั่วแปะกง เกาะกูซู | |
---|---|
龟屿福山宫大伯公庙 | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาเต๋า, ศาสนาพุทธ |
เทศกาล | เทศกาลเกาะกูซู |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | เกาะกูซู ประเทศสิงคโปร์ |
ประเทศ | สิงคโปร์ |
สถาปัตยกรรม | |
เริ่มก่อตั้ง | 1923 |
วัดตั่วแปะกง (จีนตัวย่อ: 龟屿福山宫大伯公庙; จีนตัวเต็ม: 龜嶼福山宮大伯公廟; Tua Pek Kong Temple) เป็นวัดจีนบนเกาะกูซูในประเทศสิงคโปร์ บูชาเทพเจ้าตั่วแปะกง สร้างขึ้นในปี 1923[1]
ตำนาน
[แก้]มีตำนานมากมายเกี่ยวกับวัดนี้ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เต่ายักษ์ และความสัมพันธ์ของชายสองคนที่เป็นชาวมลายูกับชาวจีน ตำนานที่เป็นที่นิยมของวัด ได้แก่[2]
- ศาสนบุคคลสองคน ชื่อ ซาเย็ด ระฮ์มัน (Syed Rahman) ชาวอาหรับ และ ยัม (Yam) ชาวจีน มาทำสมาธิและบำเพ็ญพรตบนเกาะกูซู ระหว่างการเดินทาง ยัมล้มป่วย ซาเยดได้สวดภาวนาของให้เขาหายป่วย ทั้วคู่รอดชีวิตเมื่อมีเรืออาหารและน้ำมาปรากฏบนเกาะ หลังจาดนั้นมาทั้งสองจึงเดินางไปยังเกาะกูซูเป็นประจำเพื่อแสดงความขอบคุณ บนเกาะจึงสร้างศาลตั่วแปะกงบูชายัม และศาลดาตุเกอรามัตบูชาซาเยด[2][3]
- ในเดือน 9 ตามปฏิทินจีน บรรดาชาวเรือที่เรือล่มได้รับความช่วยเหลือจากเต่ายักษ์ที่แปลงกายมาเป็นเกาะ บรรดาชาวเรือจึงเดินทางมาถวายของบูชาเป็นประจำทุกปี และเกาะกูซูกลายมาเป็นศาสนสถาน[3]
- ชาวประมงสองคนที่เรือล่ม เป็นชาวจีนคนหนึ่งและชวามลายูคนหนึ่ง ได้รับความช่วยเหลือจากเต่ายักษ์ที่แปลงกายเป็นเกาะ[2]
การบูชา
[แก้]ตั่วแปะกงเป็นเทพเจ้าหลักของวัดร่วมกับเจ้าแม่กวนอิม โดยตั่วแปะกงได้รับการนับถือเป็นเทพเจ้าแห่งความเจริญรุ่งเรือง เทพเจ้าผู้พิทักษ์คนเดินเรือ และเทพเจ้าแห่งการค้า[2][3] ส่วนเจ้าแม่กวนอิมเป็นเทพ "ผู้ประทานบุตร" นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าบูชาโป๊ยเซียน, กวนอูและเทพเจ้าเสือ[4] ในวัดยังมีต้นไม้ขอลูกที่ผู้คนแขวนคำขอ รวมถึงมีบ่อเต่าและรูปปั้นเต่ายักษ์
เทศกาลประจำปี
[แก้]ทุก ๆ ปี ในเดือน 9 ตามปฏิทินจีน จะมีผู้ศรัทธาหลายพันคนจากสิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และไทย เดินทางมายังเกาะกูซู[3] ดนื่องจากเดือนเก้าเป็นเดือนที่มีความสัมพันธ์กับตำนานเกาะ ในช่วงนี้จะมีการนำของบูชาต่าง ๆ มาถวายปริมาณมาก และมีการเปลี่ยนฝูลู่บนวัด
โดยวันที่ของเทศกาลประจำปี 2024 ตรงกับวันที่ 3 ตุบาคม 2024 ถึง 31 ตุลาคม 2024[5]
สมุดภาพ
[แก้]-
ผู้คนกราบไหว้ตั่วแปะกงในวัด
-
ฝูลู่และเครื่องราง
-
ต้นไม้ขอลูก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ang, Shermaine (2023-10-15). "Kusu Island comes to life as pilgrimage season kicks off; temple celebrates 100th anniversary". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0585-3923. สืบค้นเมื่อ 2024-09-24.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Lu, Caixia (2012). "The Kusu Pilgrimage: An Enduring Myth" (PDF). International Institute for Asian Studies: The Newsletter. 59: 50–51.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Chia, Jack Meng-Tat (2009). "Managing The Tortoise Island: Tua Pek Kong Temple, Pilgrimage, and Social Change in Pulau Kusu, 1965–2007" (PDF). New Zealand Journal of Asian Studies. 11 (2): 72–95.
- ↑ https://www.travel.taipei/en/pictorial/article/28863
- ↑ "Kusu Pilgrimage Season 2024". www.sla.gov.sg. สืบค้นเมื่อ 2024-09-24.