วัดดาวเรือง (จังหวัดสระบุรี)
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
วัดดาวเรือง | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดดาวเรือง (Wat Dawn Ruang) |
ที่ตั้ง | เลขที่ 41 ถ.เทศบาล 5 ม.3 ต.ปากเพรียว อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย (เถรวาท) |
พระประธาน | พระพุทธรูป ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 89 นิ้ว สูง 114 นิ้ว |
เจ้าอาวาส | พระอธิการจิรวัฒน์ เตชธมฺโม |
จุดสนใจ | สักการบูชาหลวงพ่อแหย่ง-หลวงพ่อสมบูรณ์ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดดาวเรือง ตั้งอยู่เลขที่ 41 ถนนเทศบาล 5 ชุมชนดาวเรือง หมู่ที่ 3 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบริมแม่น้ำป่าสัก[1]
ประวัติ
[แก้]วัดดาวเรือง เดิมชื่อ “วัดดาวเสด็จ” ตั้งอยู่ตรงข้ามคนละฝั่งแม่น้ำป่าสักกับกรมทหารจังหวัดสระบุรี ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2370 ได้ย้ายเสนาสนะมาสร้างใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ราบริมแม่น้ำป่าสักในเขตของหมู่บ้านดาวเรือง จึงได้ตั้งชื่อใหม่ตามสถานที่ตั้ง ว่า “วัดดาวเรือง” โดยการนำของหลวงพ่อแหย่ง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น (พ.ศ. 2370) และราษฎรหมู่บ้านดาวเรือง ได้ร่วมกันสร้างเสนาสนะเพื่อใช้เป็นที่พักสงฆ์
วัดดาวเรืองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2381 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 15.65 เมตร ยาว 22.20 เมตร ต่อมาเสนาสนะและถาวรวัตถุได้ทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2526 โดยการนำของพระอธิการพร เตชธโร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พร้อมด้วยนายเจริญ ไชยเสน นายสวน ดาวกระจาย นายสุข ชาวพรหม และราษฎรหมู่บ้านดาวเรือง โดยมีนายเฉื่อย แก้วสถิตย์ เป็นผู้อุปถัมภ์.[2]
ศาสนสถาน
[แก้]- อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ.- ขนาดกว้าง 7.25 เมตร ยาว 19 เมตร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2381 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 15.65 เมตร ยาว 22.20 เมตร บูรณะใหม่เมื่อพ.ศ. 2526[3]
- เจดีย์ทรงย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง 1 องค์ สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ
ศาสนวัตถุ
[แก้]- พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูป ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 89 นิ้ว สูง 114 นิ้ว[4]
เสนาสนะ
[แก้]- หอสวดมนต์, กุฏิสงฆ์, กุฏิเจ้าอาวาสสร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 กว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร
- ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2552 กว้าง 16 เมตร ยาว 25 เมตร
- ศาลาธรรมสังเวช หลังที่ 1 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 กว้าง 16 เมตร ยาว 24 เมตร
- ศาลาธรรมสังเวช หลังที่ 2 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 กว้าง 20 เมตร ยาว 12.20 เมตร
- ศาลาธรรมสังเวช หลังที่ 3 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 กว้าง 10 เมตร ยาว 16 เมตร
- หอระฆัง
- ฌาปนสถาน (ใช้น้ำมันระบบหัวฉีด) สร้างเมื่อ พ.ศ.- กว้าง 10 เมตร ยาว 15 เมตร
- นอกจากนี้ ยังมี ศาลาหลวงพ่อพระสังกัจจายน ศาลาหลวงพ่อแหย่ง หลวงพ่อสมบูรณ์ ศาลาอเนกประสงค์ โรงเก็บพัสดุ โรงครัว ซุ้มประตูวัด และเรือยาวโบราณ อายุสี่ร้อยกว่าปี อีกหนึ่งลำ[5]
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]ลำดับที่ | รายนาม/สมณศักดิ์ | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | หลวงพ่อแหย่ง | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2370 | - | ||
2 | หลวงพ่อวุ่น | เจ้าอาวาส | - | - | ||
3 | พระนอม | เจ้าอาวาส | - | - | ||
4 | หลวงพ่อผง | เจ้าอาวาส | - | - | ||
5 | หลวงพ่อโม | เจ้าอาวาส | - | - | ||
6 | พระพระต๊ะ | เจ้าอาวาส | - | - | ||
7 | หลวงพ่อตั๋น | เจ้าอาวาส | - | - | ||
8 | หลวงพ่อยิ้ม | เจ้าอาวาส | - | - | ||
9 | หลวงพ่อแก้ว | เจ้าอาวาส | - | - | ||
10 | หลวงพ่อขวาน | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2470 | พ.ศ. 2497 | ||
11 | พระอธิการทองใบ สุธมฺโม | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2497 | พ.ศ. 2502 | ||
12 | พระแสวง ยอดมณี | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2502 | พ.ศ. 2506 | ||
13 | พระขุนทอง คัมมาพล | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2506 | พ.ศ. 2512 | ||
14 | พระอ้วน เผ่าเพ็ง | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2512 | พ.ศ. 2515 | ||
15 | หลวงพ่อนวม ชาวพรม | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2515 | พ.ศ. 2519 | ||
1ุ6 | พระอธิการพร เตชธโร |
เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2562 | ||
17 | พระอธิการจิรวัฒน์ เตชธมฺโม | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2562]] | - | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๒๒๗.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๒๒๘.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๒๒๗.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๒๒๘.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๒๒๘.