วงเวียนเทพสตรี
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลางวงเวียนเทพสตรี | |
ชื่ออักษรไทย | เทพสตรี |
---|---|
ชื่ออักษรโรมัน | Thepsatri |
ที่ตั้ง | ถนนนารายณ์มหาราช อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี |
ทิศทางการจราจร | |
↑ | ถนนพหลโยธิน » แยกเอราวัณ |
→ | ถนนพหลโยธิน » แยกถนนเฉลิมพระเกียรติ |
↓ | ถนนพระปิยะ » วงเวียนพลร่มป่าหวาย |
← | ถนนนารายณ์มหาราช » แยกสะพาน 7 |
วงเวียนเทพสตรี[1][2][3] บ้างเรียก วงเวียนพระนารายณ์[3] หรือ วงเวียนเมืองใหม่[4] เป็นวงเวียนที่ตั้งอยู่บนถนนนารายณ์มหาราช อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อันเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตรงส่วนกลางของวงเวียน
ประวัติ
[แก้]วงเวียนเทพสตรีตั้งอยู่หัวถนนนารายณ์มหาราชก่อนเข้าสู่ย่านตัวเมือง ใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรี ตัววงเวียนมีชื่อ วงเวียนเทพสตรี[1] มีลักษณะเป็นวงเวียนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ผู้มีคุณูปการณ์ต่อเมืองลพบุรี[3] ด้วยเหตุนี้ผู้คนจึงนิยมเรียกวงเวียนดังกล่าวว่า วงเวียนพระนารายณ์ หรือ วงเวียนพระนารายณ์มหาราช[3]
ตัวพระบรมราชานุสาวรีย์
[แก้]พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตั้งอยู่ใจกลางวงเวียนเทพสตรี ในลักษณะประทับยืน ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ และก้าวพระบาทซ้ายออกมาเล็กน้อย[3] หล่อด้วยโลหะรมดำ และมีขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง เป็นผลงานการหล่อของศิลป์ พีระศรี[5] และได้ประดิษฐานไว้กลางวงเวียน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509[3]
การจัดกิจกรรม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถานที่ใกล้เคียง
[แก้]- โรงเรียนเมืองใหม่ (ชลอราษฎร์รังสฤษฏ์)
- สนามกีฬาพระราเมศวร
- โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช
- สถานีตำรวจภูธรเมืองลพบุรี
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี
- ศูนย์ราชการจังหวัดลพบุรี
- โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
- สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 3 ภาคเหนือ ลพบุรี
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ชมจันทรุปราคาที่วงเวียนเทพสตรี" (Press release). กรุงเทพธุรกิจ. 10 ธันวาคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-31. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2556.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เทพสตรีร่วมสังเกตจันทรุปราคา-ฝนดาวตก" (Press release). ข่าวสด. 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2556.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09. สืบค้นเมื่อ 2010-01-13.
- ↑ สมพงษ์ นิติกุล. ภาพโบราณตำนานเมืองลพบุรี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง, 2456, หน้า 27
- ↑ ฐานข้อมูลภาพงานศิลปะ. อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 22 มกราคม 2556