หมี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
หมี ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 38–0Ma สมัยอีโอซีนตอนปลาย – ปัจจุบัน | |
---|---|
หมีกริซลีย์ (Ursus arctos horribilis) ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อบนพื้นผิวโลกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด[1] | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
อันดับย่อย: | Caniformia |
อันดับฐาน: | Arctoidea |
วงศ์: | Ursidae G. Fischer de Waldheim, 1817 |
วงศ์ย่อย | |
†Amphicynodontinae | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของหมีในยุคปัจจุบัน | |
ชื่อพ้อง | |
|
หมี จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์ Ursidae ออกลูกเป็นตัว ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร
การจำแนก
[แก้]หมีจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ ปัจจุบันได้มีการจำแนกหมีออกเป็นทั้งหมด 8 ชนิด (ไม่นับชนิดย่อย) โดยมีการกระจายพันธุ์ไปในทุกภูมิภาคของโลก ตั้งแต่ไซบีเรียหรือขั้วโลกเหนือ, ทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปอเมริกาใต้, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่พบที่ทวีปแอฟริกาและโอเชียเนีย[2]
ชนิด
[แก้]- หมีแพนด้าหรือแพนด้ายักษ์ (Ailuropoda melanoleuca)
- หมีแว่น (Tremarctos ornatus)
- หมีดำ (Ursus americanus)
- หมีสีน้ำตาลหรือหมีกริซลีย์ (Ursus arctos)
- หมีหมาหรือหมีคน (Helarctos malayanus)
- หมีขั้วโลกหรือหมีขาว (Ursus maritimus)
- หมีควาย (Ursus thibetanus)
- หมีสล็อธ (Melursus ursinus)
ในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ หมีควาย ตัวใหญ่ ขนยาวดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปง่าม พบได้ในป่าทั่วประเทศ และหมีหมาหรือหมีคน ตัวเล็กกว่าหมีควาย ขนสั้นดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า พบได้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Brown, Gary, The Great Bear Almanac. Lyons & Burford, Publishers (1993), ISBN 978-1-55821-474-3
- ↑ Bear of the world (อังกฤษ)