ข้ามไปเนื้อหา

หมีดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมีดำ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 2.6–0Ma
สมัยไพลโอซีนตอนปลาย–สมัยโฮโลซีน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Ursidae
สกุล: Ursus
สปีชีส์: U.  americanus
ชื่อทวินาม
Ursus americanus
Pallas, 1780
ชื่อพ้อง
  • Euarctos americanus

หมีดำ (อังกฤษ: American Black Bear) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[1] มีถิ่นที่อยู่ในป่าทางตอนเหนือของอเมริกา พบได้ทั่วไปในป่าร้อนชื้น

ลักษณะทางภายภาพ

[แก้]

ความสูง; 2-3 ฟุต (0.6-0.9 เมตร) รอบตัว; 4-7 ฟุต (1.2-2เมตร) น้ำหนัก; 150-300 ปอนด์ หรือ 68-158 กิโลกรัม ในเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า เพศผู้สามารถเจริญเติบโตได้สูงสุด 500-600 ปอนด์ หรือ 227-272 กิโลกรัม อายุเฉลี่ยยืนยาว 10- 30 ปี[2]

จากการศึกษาหมีดำ พบว่าขนสีดำของหมี มีไว้เพื่อดูดซับความร้อนหรือความอบอุ่นไว้กับตัวเพื่อใช้ในยามฤดูหนาว แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ความร้อนนี้เป็นปัญหาต่อหมีอย่างมาก เคยมีการศึกษาหมีดำโดยการซ่อนเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ขนหมี พบว่ามีอุณหภูมิสูงถึง 80-90 องศาเซลเซียส เลยทีเดียว นับว่าใกล้กับจุดเดือดเป็นอย่างมาก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้บางครั้งจะพบหมีดำเข้ามาแช่น้ำในสระน้ำหรือบ่อน้ำภายในบ้านเรือนมนุษย์เพื่อดับร้อน ทั้งที่เป็นสัตว์ขี้อาย [3]

ลูกผสม

[แก้]
ลูกผสมที่เป็นไปได้ของหมีดำและหมีกริซลีในดินแดนยูคอน, ประเทศแคนาดา

หมีดำสามารถสืบพันธุ์ได้กับหมีหลายสายพันธุ์และบางครั้งก็ให้กำเนิดลูกผสม ตามรายงานในMonkeys on the Interstateของแจ็ค ฮันนา หมีที่ถูกจับได้ในแซนฟอร์ดที่รัฐฟลอริดาถูกคิดว่าเป็นลูกผสมของหมีควายตัวเมียที่หลบหนีและหมีดำตัวผู้[4] ในปี 1859 หมีดำและหมีสีน้ำตาลยูเรเซียได้รับการผสมพันธุ์กันในสวนสัตว์ลอนดอนแต่ลูกทั้งสามที่เกิดมานั้นตายก่อนที่พวกมันจะโตเต็มที่ ในหนังสือ The Variation of Animals and Plants Under Domestication, ชาลส์ ดาร์วินได้ตั้งข้อสังเกตว่า:

ในรายงานเก้าปีระบุว่ามีการแสดงหมีในสวนสัตว์เพื่อจับคู่กันอย่างอิสระ แต่ก่อนหน้านี้จนถึงปี ค.ศ. 1848 ส่วนใหญ่ไม่ค่อยตั้งครรภ์ ในรายงานที่ตีพิมพ์ตั้งแต่วันนี้ มีสามสายพันธุ์ที่ออกลูกอ่อน (ลูกผสมในหนึ่งกรณี), ...[5]

ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1986 มีหมีถูกยิงที่รัฐมิชิแกนโดยถูกสันนิษฐานว่าเป็นลูกผสมระหว่างหมีดำและหมีกริซลี เนื่องจากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ สมองและกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ขึ้นตามสัดส่วน การตรวจดีเอ็นเอไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นหมีดำตัวใหญ่หรือหมีกริซลี[6][ต้องการเลขหน้า]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2011-10-18.
  2. http://www.defenders.org/wildlife_and_habitat/wildlife/black_bear.php
  3. "เหตุการณ์ธรรมชาติสุดพิลึก ตอน 1, "สุดยอดสารคดีโลก"". ไทยพีบีเอส. 21 April 2014. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  4. "Hybrid Bears". messybeast.com
  5. Darwin, Charles (1868). The Variation of Animals and Plants Under Domestication. Vol. 2 (1st ed.). London: John Murray. p. 151. ISBN 978-1-4068-4250-0.
  6. Smith, Richard P. (2007). "Hybrid Black Bear". Black Bear Hunting. Stackpole Books. ISBN 978-0-8117-0269-0.

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]