วงศ์ตะโขง
หน้าตา
วงศ์ตะโขง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยอีโอซีน, 55–0Ma | |
---|---|
ตะโขงอินเดีย (Gavialis gangeticus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Archosauria |
ชั้น: | Sauropsida |
อันดับ: | Crocodylia |
วงศ์: | Gavialidae Adams, 1854 |
วงศ์ย่อย | |
วงศ์ตะโขง (Gavialidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodylia) วงศ์หนึ่ง
มีลักษณะที่แตกต่างไปจากจระเข้ในวงศ์อื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ มีส่วนปลายของหัวเรียวยาวและยาวมากที่สุดจนเป็นลักษณะเฉพาะ เมื่อหุบปากแล้วจะยังเห็นฟันครึ่งทางของด้านหน้าของขากรรไกรทั้งด้านบนและด้านล่าง กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชิดกับแถวฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยเข้าไปในช่องเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้นหรือมีก็มีขนาดที่เล็กมาก
จากปากที่เรียวยาวและแคบทำให้จระเข้ในวงศ์ตะโขงนี้กินได้เฉพาะสัตว์น้ำอย่าง ปลาเท่านั้น
แบ่งออกเป็นได้อีก 3 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) ซึ่งเดิมเคยมีจำนวนสมาชิกที่หลากหลายกว่านี้ แต่ในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว เหลือเพียงแค่ 2 ชนิด คือ
- ตะโขงอินเดีย หรือ ตะโขงแท้ (Gavialis gangeticus) ซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อย Galavinae พบได้ในเอเชียใต้
- ตะโขง หรือ ตะโขงมลายู หรือ ตะโขงเทียม (Tomistoma schlegelii) ที่พบได้ในแหลมมลายู ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Tomistominae