วงมโหรี
วงมโหรี เกิดจากการประสมกันระหว่าง 1) วงบรรเลงพิณ (โบราณเรียก การขับร้องเป็นลำนำพร้อมกับการดีดพิณน้ำเต้า ในคน ๆ เดียว แต่มีสองลำนำขึ้นไปประสานเสียงกันว่า "วง") และ 2) วงขับไม้ (ผู้สีซอสามสายเป็นลำนำ ร่วมกับผู้ไกวบัณเฑาะว์) เกิดขึ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่าสมัยกรุงสุโขทัย ภายหลังจึงประสมเครื่องดนตรีเพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ เป็นวงมโหรีเครื่องสี่, หก และประสมเครื่องดนตรีวงปี่พาทย์ตามวิวัฒนาของวงปี่พาทย์เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่แต่มีระเบียบวิธีที่เป็นข้อยึดถือเสมอมา คือ กำหนดให้ซอสามสาย และการขับร้องเป็นประธาน และยึดบันไดเสียงกลุ่มเสียงระดับเพียงออ ร่วมกับเน้นลักษณะการขับกล่อม เป็นสำคัญ แม้เมื่อประสมด้วยเครื่องปี่พาทย์ตามยุคต่าง ๆ ก็ดี ดุริยางคศิลปิน มักจะสร้างสรรค์ให้เครื่องปี่พาทย์ปรับเข้าหาเครื่องสาย และใช้โทน รำมะนา ในการกำกับจังหวะ เนื่องจากเป็นวงประเภทการขับกล่อมเพื่อสุนทรีย์ ด้วยการปรับขนาดเครื่องดนตรีให้เล็กลงเพื่อให้เสียงกลมกลืนกันกับเครื่องสาย และกำหนดให้เสียงลูกยอดของระนาดเอกจะพอดีกับเสียงนิ้วก้อยสายเอกของซอด้วง ตลอดจนเมื่อขนาดของเครื่องดนตรีปี่พาทย์เล็กลงจะใช้ไม้นวมบรรเลง
วงมโหรีเครื่องสี่
[แก้]เกิดจากการการประสมกันระหว่างการบรรเลงพิณและการขับไม้ ปรากฏครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชนิดดังนี้
วงมโหรีเครื่องหก
[แก้]ลักษณะคล้ายวงมโหรีเครื่องสี่ แต่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีอีกสองอย่างคือ รำมะนา ขลุ่ยเพียงออ และใช้ ฉิ่ง แทน กรับพวง
วงมโหรีเครื่องคู่
[แก้]เหมือนกับวงมโหรีเครื่องเล็ก แต่ได้เพิ่มระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ขลุ่ยหลิบ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และซอสามสายหลิบ ขลุ่ยเพียงออ อย่างละหนึ่ง
เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงมโหรีเครื่องคู่ ได้แก่
- ซอสามสาย 1
- ซอสามสายหลิบ 1
- ซอด้วง 2
- ซออู้ 2
- จะเข้ 2
- ขลุ่ยเพียงออ 1
- ขลุ่ยหลิบ 1
- ระนาดเอก (มโหรี) 1
- ระนาดทุ้ม (มโหรี) 1
- ฆ้องกลาง 1
- ฆ้องเล็ก 1
- ฉิ่ง
- ฉาบ
- กรับพวง
- โหม่ง
- โทน-รำมะนา
โอกาสที่ใช้
[แก้]ใช้บรรเลงขับกล่อมเพื่อความรื่นรมณ์ และงานมงคลเป็นหลัก เนื่องจากการเตรียมวงมโหรีนั้นยากกว่าการเตรียมวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย จึงจะสามารถพบได้ในงานมงคลหรืองานแสดงมหรสพที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น ในงานทั่ว ๆ ไปจึงสามารถพบเห็นวงเครื่องสายและวงปี่พาทย์มากกว่า