ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์
ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ | |
---|---|
ภาพปกเวอร์ชันอเมริกาเหนือ | |
ผู้พัฒนา | เกมอาตส์ สตูดิโออเล็กซ์ |
ผู้จัดจำหน่าย |
|
ศิลปิน | โทชิยูกิ คูโบกะ |
เขียนบท | เค ชิเงมะ |
แต่งเพลง | โนริยูกิ อิวาดาเระ ฮิโรชิ ฟูจิโอกะ อิซาโอะ มิโซงูชิ |
ชุด | ลูนาร์ |
เครื่องเล่น | เซกา ซีดี |
วางจำหน่าย |
|
แนว | วิดีโอเกมเล่นตามบทบาท |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว |
ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ (อังกฤษ: Lunar: The Silver Star; ญี่ปุ่น: ルナ ザ・シルバースター; โรมาจิ: Runa Za Shirubā Sutā) เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทที่พัฒนาโดยเกมอาตส์และสตูดิโออเล็กซ์สำหรับเซกา/เมกะ-ซีดี ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกโดยเกมอาตส์ และวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1992 หลังจากการเปิดตัวที่ประสบความสำเร็จ เกมได้รับการแปลและจำกัดวงโดยเวิร์กกิงดีไซส์เพื่อวางจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือในปีต่อมา
ด้วยการออกแบบในฐานะ "วิดีโอเกมเล่นตามบทบาทชนิดแตกต่าง"[1] ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ได้ใช้ประโยชน์จากรูปแบบซีดี-รอม ซึ่งจะมีชื่อเสียงในอนาคต โดยนำเสนอเสียงคุณภาพสูง, วิดีโอเคลื่อนไหวเต็มรูปแบบ และการพากย์ด้วยเสียงเพื่อเล่าเรื่องราวแฟนตาซีที่มีฉากอยู่ในโลกแห่งเวทมนตร์ เกมดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การกระทำที่กล้าหาญของอเล็กซ์ ซึ่งเป็นเด็กหนุ่มจากเมืองเล็ก ๆ ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะได้เป็นฮีโรที่ยิ่งใหญ่เหมือนกับไอดอลของเขาที่เป็นดรากอนมาสเตอร์ ผู้มีนามว่าดายน์ เมื่อการผจญภัยแบบเด็ก ๆ เปลี่ยนมาเป็นการค้นพบมังกรโบราณในเวลาต่อมา อเล็กซ์และเพื่อนของเขาต้องเดินทางข้ามโลกเพื่อรวบรวมพลังที่จำเป็นเพื่อเป็นดรากอนมาสเตอร์คนต่อไป และช่วยโลกในปฏิบัติการนี้
ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ประสบความสำเร็จจากทั้งการวิจารณ์และในเชิงพาณิชย์ โดยกลายเป็นเกมที่มียอดขายเมกา-ซีดี อันดับหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น และมียอดขายเมกา-ซีดี สูงสุดเป็นอันดับสองตลอดกาล ในฐานะเกมแรกในซีรีส์ลูนาร์ มันได้สร้างมาตรฐานสำหรับเกมอื่น ๆ ที่ตามมา รวมถึงภาคต่อโดยตรงอย่างลูนาร์: อีเทอร์นอลบลู ใน ค.ศ. 1994 นับตั้งแต่เปิดตัวเกมรุ่นดั้งเดิม ก็ได้มีการรีเมกปรับปรุงสามแบบสำหรับระบบต่าง ๆ ได้แก่ ลูนาร์: ซิลเวอร์สตาร์สตอรีคอมพลีต ใน ค.ศ. 1996, ลูนาร์เลเจนด์ ใน ค.ศ. 2002 และลูนาร์: ซิลเวอร์สตาร์ฮาร์โมนี ใน ค.ศ. 2009
รูปแบบการเล่น
[แก้]ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทมุมมองจากบนลงล่างที่มีตัวละครและสภาพแวดล้อมแบบสองมิติแบบดั้งเดิม ผู้เล่นจะต้องสำรวจเมืองต่าง ๆ, ทุ่งกว้าง และสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามเนื้อเรื่องที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า รวมทั้งโต้ตอบกับตัวละครที่ไม่ใช่ผู้เล่นเพื่อขยายสคริปต์และรับรางวัลต่าง ๆ[2] ด้วยการใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านฮาร์ดแวร์ดิสก์ของเซกา ซีดี จึงมีวิดีโอสั้น ๆ และเสียงแทรกมาพร้อมกับการบรรยายของเกม รวมถึงภาพเคลื่อนไหวแบบหนึ่งในสี่หรือแบบเต็มหน้าจอ และไฟล์เสียงซีดี-ดีเอ ผู้เล่นสามารถบันทึกความคืบหน้าโดยการเซฟลงในแรมภายในของเซกา ซีดี หรือตลับแรมที่ซื้อแยกต่างหาก ซึ่งพอดีกับเมกาไดรฟ์/เจเนซิสที่เสริมเข้ามา[3]
ขณะเดินทางในโลกของเกม ผู้เล่นจะสุ่มพบมอนสเตอร์ศัตรูที่ต้องกำจัดหรือหลีกเลี่ยงเพื่อรุดหน้า ลำดับการต่อสู้ใช้วิธีผลัดกันเล่น โดยผู้เล่นและศัตรูกระทำตามระดับ "ความเร็ว" ของพวกเขา ผู้เล่นจะออกคำสั่งกับตัวละครที่ควบคุมแต่ละตัวในหมู่คณะ ซึ่งจะดำเนินการตามลำดับจนกว่าการต่อสู้จะสิ้นสุด ขณะอยู่ในสนามรบ ผู้เล่นสามารถเลือกที่จะเคลื่อนตัวละครเพื่อโจมตีศัตรู, ถอยเข้ามุม, ยืนบนพื้นของพวกเขา หรือหนีจากการต่อสู้ทั้งหมด โดยตัวละครสามารถโจมตีศัตรูได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาเข้าใกล้เป้าหมายมากพอ หรือใช้การโจมตีระยะไกล ส่วนนอล ซึ่งเป็นตัวละครสนับสนุนที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงในการต่อสู้ นั้นมีอยู่ตลอดทั้งเกมเพื่อวิเคราะห์ศัตรูก่อนที่การต่อสู้จะเริ่ม โดยจะประเมินความแข็งแกร่งที่สัมพันธ์กับกลุ่มของผู้เล่น[4] ผู้เล่นอาจพบอาวุธ, อุปกรณ์ และไอเท็มต่าง ๆ ในระหว่างการเล่นเกมซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพของตัวละครในการต่อสู้ เช่น สร้างความเสียหายให้แก่ฝ่ายตรงข้ามและเพิ่มความแข็งแกร่ง จากการชนะการต่อสู้จะได้รับค่าประสบการณ์ที่นำไปสู่การทำให้ตัวละครแข็งแกร่งขึ้นและสามารถต่อสู้กับศัตรูที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ[5] เมื่อพ่ายแพ้ ผู้เล่นสามารถเลือกที่จะโหลดไฟล์ที่เซฟก่อนหน้านี้ หรือเริ่มเกมใหม่ที่เช็กพอยต์ที่ได้เซฟไว้โดยอัตโนมัติ
โครงเรื่อง
[แก้]พื้นฉาก
[แก้]เกมดังกล่าวเกิดขึ้นในดินแดนแฟนตาซีของลูนาร์ ซึ่งเป็นโลกเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ได้ โคจรรอบดาวเคราะห์สีน้ำเงินที่แห้งแล้งขนาดใหญ่ (รู้จักกันในชื่อบลูสตาร์) ที่ทำให้เกิดโลกคู่ขนานอย่างหลวม ๆ ระหว่างโลกของเกมและโลกกับดวงจันทร์ โดยหลายศตวรรษก่อนเริ่มเกม บลูสตาร์ถูกทำให้ไม่สามารถอยู่ได้จากสงครามหลายปี อัลเธนาเทพธิดาที่ทรงอำนาจและมีเมตตาได้ย้ายมนุษยชาติไปที่ซิลเวอร์สตาร์ โลกแห่งลูนาร์ และมอบหมายให้มังกรสี่ตัวปกป้องสภาพแวดล้อมของโลกใหม่ จากจุดนี้ ผู้ที่จะใช้พลังของมังกรเพื่อรับใช้เทพธิดาและปกป้องโลกได้เป็นที่รู้จักในนาม "ดรากอนมาสเตอร์" และไม่มีดรากอนมาสเตอร์คนไหนได้รับความเคารพมากไปกว่าดายน์ ซึ่งเป็นวีรบุรุษในตำนานที่ปกป้องเทพธิดาและตกอยู่ในชะตากรรมที่ไม่แน่นอน เรื่องราวการกระทำที่กล้าหาญของดายน์ได้เป็นแบบอย่างต่อชีวิตของเด็กหนุ่มที่ชื่ออเล็กซ์ ซึ่งเป็นตัวเอกและตัวละครหลักของเกม ผู้ปรารถนาที่จะเป็นดรากอนมาสเตอร์ด้วยตัวเอง[6] สถานที่หลายแห่งของลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ให้ความรู้สึกแบบ "ภาคเหนือ" โดยเจตนาในการนำเสนอสภาพแวดล้อมที่เย็นกว่าพื้นฉากของเกมเล่นตามบทบาทส่วนใหญ่ เพียงเพื่อให้ตัวละครสวมเสื้อผ้าได้มากขึ้น[7] เมืองและสถานที่หลายแห่งอิงจากอาณาบริเวณของรัสเซียและยุโรปยุคกลาง[8]
ตัวละคร
[แก้]ตัวละครของลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ได้รับการออกแบบโดยศิลปินอนิเมะและมังงะที่ชื่อโทชิยูกิ คูโบโอกะ[8] ตัวละครหลัก ได้แก่ อเล็กซ์และสหายของเขา ซึ่งแต่ละคนมีเหตุผลของตัวเองในการเข้าร่วมภารกิจของเขา:[9]
- อเล็กซ์ - เด็กชายอายุ 15 ปีจากเมืองเล็ก ๆ ที่มีความฝันอยากเป็นนักผจญภัย อเล็กซ์เป็นตัวเอกที่เงียบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโดยทั่วไปสำหรับวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทเวอร์ชันญี่ปุ่นที่เขามักจะไม่ออกปากในเกม ยกเว้นฉากตัดเดียวที่เขาเผชิญหน้ากับกาเลียน และในฉากสุดท้ายของเกมที่เขาตะโกนเรียกชื่อของลูนา
- นอล - สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีปีกคล้ายแมวสีขาว ซึ่งอยู่กับเขามาตั้งแต่เกิด
- ลูนา - เพื่อนสมัยเด็กของอเล็กซ์และคนรัก ซึ่งมีความสามารถพิเศษในการรักษาด้วยดนตรี
- เรมัส - ลูกชายของนายกเทศมนตรีเมืองที่ฝันว่าวันหนึ่งจะเปิดร้านของตัวเอง และเริ่มอาชีพการผจญภัยของอเล็กซ์โดยให้เขาไปหาเพชรล้ำค่าจากถ้ำมังกร
- แนช - รองอัครมหาเสนาบดีแห่งนครลอยฟ้าที่ชื่อเวน เขามักจะตัดสินใจแบบบุ่มบ่าม และบางครั้งก็สิ้นหวัง
- มีอา - รองอัครมหาเสนาบดีอีกคนแห่งเวน เธอมีความขรึมกว่าแนชเป็นอย่างมาก
- ไคล์ - โจรที่มุทะลุและเป็นเสือผู้หญิง
- เจสซิกา - ทอมบอยลูกสาวของวีรบุรุษชื่อดังซึ่งกำลังฝึกเป็นนักบวชสาว
ตัวละครสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ สมาชิกที่รอดชีวิตสามคนของสี่วีรบุรุษ, เหล่านักผจญภัยในตำนานที่ช่วยเหลือดรากอนมาสเตอร์ที่ชื่อดายน์ในการปกป้องเทพธิดาอัลเธนาเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งมีตำแหน่ง ได้แก่:
- "จอมมฤตยู" เมล ดี'อัลเคิร์ก - พ่อของเจสซิกา และเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเมอริเบียที่คึกคัก ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นต้นฉบับกล่าวว่าเขาปกครองเมอริเบีย แม้ว่าการแปลของเวิร์กกิงดีไซส์จะเสริมว่าเขาได้ก่อตั้งเมือง[10]
- เลเมีย ออซา - แม่ของมีอา และประมุขแห่งเวน
- กาเลียน - พ่อมดผู้ทรงพลังและอาจารย์ของแนช ผู้ซึ่งกลายเป็นปฏิปักษ์ศัตรูตัวฉกาจหลังจากที่เขามีอัตตาที่เปลี่ยนแปลง สู่การเป็นจักรพรรดิจอมเวทย์
คณะได้รับความช่วยเหลือจาก:
- ไลเกอ - นักดาบที่ทรงพลังและนักผจญภัยผู้เชี่ยวชาญซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของอเล็กซ์ และต่อมาได้รับการเปิดเผยว่าเป็นดรากอนมาสเตอร์ที่ชื่อดายน์ หลังจากสูญเสียพลังของเขา
- เทมเพสต์ และเฟรสกา - นักสู้ที่อาศัยอยู่ในที่ราบซึ่งมีเหตุผลของตัวเองในการช่วยเหลืออเล็กซ์และกลุ่มของเขา[11]
ชื่อเวอร์ชันญี่ปุ่นฉบับดั้งเดิมของตัวละครหลายตัวได้รับการเปลี่ยนแปลงสำหรับเกมในอเมริกาเหนือ เช่น คิลลี เป็นไคล์, เฟย์ดี เป็นควาร์ก, เทมซิน เป็นเทมเพสต์ และพิลยา เป็นเฟรสกา; ส่วนเมล "นรก" ซึ่งเป็นฉายาดั้งเดิมของเมล ได้ถูกเปลี่ยนเป็น "มฤตยู" ด้วยเหตุผลด้านการเซ็นเซอร์[12] และแม่มดชื่อซีโนเบีย ทำหน้าที่เป็นคู่อริและคนรับใช้มือขวาของกาเลียน
เรื่องราว
[แก้]เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ของลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ เขียนโดยนักประพันธ์ชื่อเค ชิเงมะ และเกี่ยวข้องกับโลกแฟนตาซีระดับสูง และเน้นเรื่องคติชนรวมถึงตำนาน[7] เกมดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นที่เมืองเล็ก ๆ บนภูเขาบูร์ก ซึ่งอเล็กซ์ในวัยหนุ่มมักจะไปเยี่ยมชมอนุสาวรีย์ของดายน์ วีรบุรุษที่ตายในสนามรบ ซึ่งเป็นไอดอลของเขา ตามคำขอร้องของเรมัส ลูกชายผู้กระตือรือร้นของนายกเทศมนตรีเมือง เรมัสและอเล็กซ์ได้เริ่มต้นการผจญภัยที่แท้จริงครั้งแรก พร้อมด้วยลูนาน้องสาวบุญธรรมของอเล็กซ์ และนอลสัตว์เลี้ยงที่บินและพูดได้ของพวกเขา ไปยังถ้ำมังกรอันลึกลับเพื่อค้นหาเพชรล้ำค่า พวกเขาได้พบกับควาร์กมังกรสูงวัย ซึ่งมันสัมผัสได้ถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ในตัวอเล็กซ์ และเรียกร้องให้เขาผ่านการพิสูจน์จากมังกรตัวอื่นให้สำเร็จเพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นดรากอนมาสเตอร์, แชมป์แห่งเทพธิดาอัลเธนา และผู้พิทักษ์โลกคนต่อไป ควาร์กแสดงความสนใจในตัวลูนาเช่นกันโดยตั้งข้อสังเกตว่าเธอมีรัศมีที่คุ้นเคยรอบตัวเธอ เมื่อได้รับเพชรจากควาร์กแล้ว เรมัสพบว่าเขาขายมันไม่ได้ในเมืองบูร์ก และต้องเดินทางไปยังเมืองการค้าที่สำคัญของเมอริเบียเพื่ออ้างสิทธิโชคลาภของเขา จากนั้น กลุ่มนี้จะเดินทางไปยังเซธ ซึ่งเป็นเมืองท่าเล็ก ๆ ทางทิศใต้ โดยลูนาได้ออกจากกลุ่มไปอยู่กับครอบครัวของอเล็กซ์
เมื่อข้ามมหาสมุทร อเล็กซ์, นอล และเรมัส ได้เข้าสู่เมอริเบีย ซึ่งพวกเขาได้พบกับหนึ่งในสี่วีรบุรุษในตำนานที่ชื่อเมล เรมัสพยายามขายเพชรของเขา ทว่าถูกพ่อค้าอัญมณีหลอกลวงซึ่งหนีเข้าไปในท่อระบายน้ำ หลังจากยึดคืนมาได้ เรมัสก็ต่อรองราคาอย่างเจ้าเล่ห์สำหรับชีวิตของเจ้าของต่อร้านทั้งหมดของเขา และออกจากกลุ่มเพื่อไล่ตามความฝันที่จะร่ำรวย อเล็กซ์และแนชออกเดินทางไปยังเมืองเวน ซึ่งพวกเขาได้พบกับมีอา ลูกสาวของผู้ปกครองเมืองและคนที่แนชชอบ ผู้แจ้งให้พวกเขาทราบถึงกาเลียน หัวหน้าสหภาพและอดีตวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่ต่อสู้ร่วมกับดายน์เมื่อหลายปีก่อน ดูเหมือนว่าเขาจะรู้สึกทึ่งกับภารกิจของอเล็กซ์ กาเลียนจึงส่งอเล็กซ์ไปปฏิบัติภารกิจเพื่อสืบหาการปรากฏตัวของดรากอนมาสเตอร์จอมปลอมในเมืองที่ห่างไกลออกไป เมื่อมาถึง อเล็กซ์ได้พบกับเจสซิกา ลูกสาวของเมลและนักบวชสาวที่ทะเยอทะยาน ซึ่งช่วยเขาค้นหาผู้แอบอ้างก่อนจะกลับไปที่เวน ด้วยความยินดีกับความสำเร็จของเขา กาเลียนจึงพาอเล็กซ์กลับไปที่บ้านเกิดเพื่อพบกับควาร์กและพูดคุยเกี่ยวกับอนาคตของอเล็กซ์ แล้วจู่ ๆ เขาก็โจมตี โดยเปิดเผยตัวเองว่าเป็นจักรพรรดิจอมเวทย์และดูเหมือนจะสังหารควาร์กด้วยความโกรธ โดยอ้างถึงการสูญเสียดายน์ เพื่อนของเขาที่เสียชีวิตเพื่อปกป้องเทพธิดา กาเลียนสาบานว่าจะแก้แค้นทั้งเธอรวมถึงมังกรของเธอ และจากไปหลังจากการลักพาตัวลูนา อเล็กซ์และนอลที่ว้าวุ่นใจกลับไปที่เมอริเบีย ซึ่งพบว่าเมืองถูกโจมตีโดยกลุ่มสัตว์ประหลาดภายใต้คำสั่งของกาเลียน จากการรวมกลุ่มกับเจสซิกา กลุ่มนี้ได้ต่อสู้กับคลื่นผู้รุกรานก่อนที่จะพบว่าเมลกลายเป็นหินจากเวทมนตร์แห่งความมืดของซีโนเบีย แม่ทัพสูงสุดของกาเลียน ด้วยความต้องการที่จะแก้แค้น เจสซิกาพร้อมกับอเล็กต์มุ่งสู่เวนซึ่งถูกล้อม รวมถึงช่วยเหลือแนชและมีอาจากการรุกรานที่คล้ายกันก่อนที่พวกเขาจะเข้าร่วมกลุ่มด้วย
เมื่อตระหนักว่าพวกเขาต้องทำให้อเล็กซ์เป็นดรากอนมาสเตอร์เพื่อเผชิญหน้ากับกาเลียนและช่วยลูนา ทีมของเขาจึงมุ่งหน้าไปยังเมืองชายแดนแห่งนันซาเพื่อดึงไคล์ ซึ่งเป็นแฟนของเจสซิกาเข้าเป็นพวกและให้พาพวกเขาข้ามไปยังต่างแดน หลังจากเดินทางไปยังเมืองแห่งนักประดิษฐ์ กลุ่มดังกล่าวก็ได้รับอุปกรณ์ลอยน้ำที่จะพาพวกเขาไปยังถ้ำของมังกรแดง ซึ่งดูเหมือนว่ามันจะถูกสังหารโดยกาเลียนก่อนที่พวกเขาจะมาถึง วิญญาณของมังกรมอบพลังให้แก่อเล็กซ์ก่อนที่จะหายตัวไป และกลุ่มก็ออกเดินทางไปยังถ้ำของมังกรน้ำเงินที่อยู่ด้านหลังเมืองแห่งดนตรี มังกรถูกกำจัดอีกครั้งก่อนที่พวกเขาจะมาถึง และทีมดังกล่าวต้องเดินทางไปยังชายแดนที่ห่างไกลและแห้งแล้งเพื่อแสวงหาการพิสุจน์ครั้งสุดท้าย พวกเขาได้พบมังกรดำ ซึ่งโจมตีทีมของเขาด้วยความโกรธเกรี้ยวที่ชักนำโดยกาเลียนแต่มันก็พ่ายแพ้ ด้วยพรสุดท้ายของมังกร อเล็กซ์และพรรคพวกของเขาจึงเข้าใกล้พื้นที่ก่อสร้างปราสาทจักรกลเคลื่อนที่ของกาเลียน นั่นคือกรินเดรี แต่ไม่สามารถหยุดยั้งการรุกคืบของมันได้ก่อนที่มันจะทำลายเวนโดยใช้พลังของลูนา ซึ่งถูกเปิดเผยว่าเป็นร่างมนุษย์ของเทพธิดาอัลเธนา และผู้ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของจักรพรรดิจอมเวทย์ หลังจากได้รับดาบของอัลเธนาและเรียนรู้ความจริงเกี่ยวกับลูนาแล้ว พวกเขาก็โจมตีกรินเดรี และกำจัดทั้งซีโนเบียรวมถึงจักรพรรดิจอมเวทย์ เมื่อรู้ว่าเขาต้องทำอะไรเพื่อพาลูนากลับมา อเล็กซ์จึงไต่เส้นทางไปหาลูนา ซึ่งขณะนี้อยู่ในฐานะอัลเธนาได้ระเบิดเขาอย่างต่อเนื่องด้วยสายฟ้า เขาเล่นพิณของเขาในขณะที่เขาขึ้นหน้า และการได้ยินเพลงของพวกเขาทำให้ความมีตัวตนของลูนากลับคืนมา เธอตื่นขึ้นในอ้อมแขนของอเล็กซ์ ท่ามกลางเพื่อน ๆ ของพวกเขา
การพัฒนา
[แก้]ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ได้รับการพัฒนาโดยเกมอาตส์ในความพยายามที่จะสร้างเกมเล่นตามบทบาทที่เน้นไปที่แอนิเมชันและการเล่าเรื่องเป็นหลัก[8] ทีมงานหันไปหานักเขียนบทและนักประพันธ์เค ชิเงมะ เพื่อสร้างเรื่องราวที่จะแยกตัวออกจากเกม "'แบบ' ซ้ำซาก" ที่ "มีเรื่องราว แต่ไม่มีการเล่าเรื่อง"[7] โดยการใช้ความสามารถในการเล่นวิดีโอของเซกา ซีดี แอะนิเมเตอร์และศิลปิน โทชิยูกิ คูโบกะ ได้ดูแลการวางแผนลำดับวิดีโอหลายชุดที่ควบคู่ไปกับเสียงพากย์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของโลกลูนาร์ได้ดีขึ้น จากการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางแฟนตาซีโดยรวมซึ่งตรงข้ามกับทางเลือกเล่นตามบทบาทยอดนิยมของบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ ทีมงานต้องสำรวจตำนานและประวัติศาสตร์ของโลกสมมติที่จะค่อย ๆ เปิดเผยตัวเองต่อผู้เล่นเมื่อเวลาผ่านไป[8] ในขณะที่มีวิดีโอเกมแบบเลื่อนด้านข้างและวิดีโอเกมยิงแบบเลื่อนฉากที่พัฒนาขึ้นเป็นส่วนใหญ่สำหรับเมกาไดรฟ์และพีซี เอนจิน เกมอาตส์ได้ก่อตั้งบริษัทในเครือชื่อสตูดิโออเล็กซ์ ซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามตัวละครหลักของเกมนี้ เพื่อดูแลการพัฒนาเกมส่วนใหญ่ และเนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลา เกือบหนึ่งในสามของโครงการลูนาร์จึงถูกทิ้งใกล้ ๆ การเปิดตัวเกม[13]
เวอร์ชันภาษาอังกฤษของลูนาร์'ได้รับการจัดการโดยเวิร์กกิงดีไซส์ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายขนาดเล็กในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่เคยแปลเกมขนาดเล็กสำหรับเทอร์โบกราฟซ์-16 และเทอร์โบดูโอมาก่อน ทีมนี้นำโดยวิกเตอร์ ไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นรองประธานบริษัทและหัวหน้านักเขียน โดยมักจะร่วมมือกับทีมงานดั้งเดิมของญี่ปุ่นด้วยตัวพวกเขาเอง นับเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดของพวกเขา[14] องค์ประกอบการเล่นเกมใหม่มักจะถูกเพิ่มตามคำขอของไอร์แลนด์ รวมถึงลำดับใหม่ ๆ เช่นการเล่นพิณของอเล็กซ์เพื่อปลุกลูนาในตอนท้ายของเกม[15] เวิร์กกิงดีไซส์ยังใช้ความพยายามเป็นพิเศษในบรรจุภัณฑ์ของเกม โดยให้คู่มือเล่มเล็กที่มีตัวอักษรนูน และมีตราประทับแยกกันเจ็ดดวง ซึ่งแต่ละชิ้นมีอาร์ตเวิร์กที่แตกต่างกัน โดยผลิตขึ้นสำหรับด้านหน้าของแผ่นเกมเพื่อเพิ่มมูลค่าการสะสม[16]
สคริปต์ภาษาอังกฤษมีขนาดเกือบสี่เมกะไบต์ แต่เวิร์กกิงดีไซส์แปลเสร็จในเวลาเพียงแปดสัปดาห์หลังจากช่วงการเขียนโปรแกรมมาราธอน[17] ในระหว่างการแปล ผู้พัฒนาได้หาเวลาใส่อารมณ์ขันของตัวเองลงในข้อความของเกม โดยวางเป็นประโยคต่าง ๆ เช่น คุณเคยลองว่ายน้ำในเลมอนเจลโลหรือเปล่า? และการอ้างอิงวัฒนธรรมประชานิยมที่น่าสนใจมากมายที่ไม่มีในเวอร์ชันดั้งเดิม รวมถึงการพาดพิงถึงโฆษณาอเมริกัน, ผู้มีชื่อเสียง, ภาษาปาก, ผลิตภัณฑ์ และความคิดเก่าที่คร่ำครึของเกมเล่นตามบทบาท[18]
เสียง
[แก้]เพลงสำหรับลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ แต่งโดยโนริยูกิ อิวาดาเระ, ฮิโรชิ ฟูจิโอกะ, อิซาโอะ มิโซงูชิ และโยชิอากิ คูโบเดระ ซึ่งใช้ความสามารถด้านเสียงของเซกาซีดี เพื่อสร้างซีดี-ดีเอ คุณภาพซีดี[19] เกมดังกล่าวมีรูปแบบธีมฉากเปิด "ลูนาร์" ซึ่งดำเนินการโดยมายูมิ ซูโด ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นต้นฉบับ[20] ส่วนเวอร์ชันภาษาอังกฤษที่ไม่มีชื่อเป็นท่อนที่จัดเรียงเล็กน้อยโดยนักร้องชื่อชิยา อัลเมดา ซึ่งมีเนื้อเพลงใหม่โดยวิกเตอร์ ไอร์แลนด์ ผู้ซึ่งตั้งใจให้เพลงฟังดู "น่ารัก" น้อยลงโดยมี "ความรู้สึกเร่งด่วน" มากขึ้น[21]
ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ออริจินัลซาวด์แทร็ก ได้เปิดตัวเฉพาะในญี่ปุ่นโดยโตชิบา-อีเอ็มไอ เรเคิดส์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1992 สองเดือนก่อนการเปิดตัวจริงของเกม[22] อัลบัมนี้มีธีมการเปิดและการจบเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นเต็มรูปแบบ รวมถึงการจัดเตรียมคาราโอเกะ ธีมฉากหลังของเกมส่วนใหญ่นำเสนอเป็นเพลงหลายเพลงแทนที่จะเป็นแทร็กแยกต่างหาก แม้ว่าจะไม่เคยมีการเปิดตัวเวอร์ชันอเมริกาเหนืออย่างเป็นทางการ แต่เพลงหลายเพลงที่นำเสนอในอัลบัมนี้ได้รับการจัดให้เป็นพิเศษในซาวด์แทร็กโบนัสที่พบในฉบับสะสมของลูนาร์: ซิลเวอร์สตาร์สตอรีคอมพลีต รวมถึงธีมเปิดภาษาอังกฤษ[23]
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "ลูนาร์" (ร้องโดยมายูมิ ซูโด) | 3:16 |
2. | "ซากาออพเดอะซิลเวอร์สตาร์" | 8:09 |
3. | "ฟังคิแดนซ์" (ร้องโดยมายูมิ ซูโด) | 3:49 |
4. | "เซนซิทีฟดรีม" (ร้องโดยคิกูโกะ อิโนอูเอะ) | 4:38 |
5. | "อินโทรดักชัน ~ ลูนาร์" | 2:00 |
6. | "บีกินนิงออฟอะเจอร์นี I" (เบิร์จวิลเลจ / ลูนาส์ดรีม) | 2:07 |
7. | "บีกินนิงออฟอะเจอร์นี II" (ฟีลด์ 1 / แบตเทิล / ดรากอนส์เคฟ / มีตติงเดอะไวต์ดรากอน) | 4:56 |
8. | "แอดเวนเจอร์ I" (วิลเลจ / ชิปวอยเอจ / บอลลูนวอยเอจ / แอร์ชิปวอยเอจ) | 3:11 |
9. | "แอดเวนเจอร์ II" (เมอริเบีย / เคฟ / ทาวน์ / เวน / คริสตัลทาวเวอร์) | 6:40 |
10. | "อินเดอะมิสต์ออฟเดอะเจอร์นี I" (ลูนาส์ธีม (ฮาร์พ) / ออมินัสพรีโมนิชัน / ธีมออฟแซดเนส / ธีมออฟแองไซเอที) | 2:46 |
11. | "อินเดอะมิสต์ออฟเดอะเจอร์นี II" (มีตติงอะเฟรนด์ / ชาโดว์ออฟดิเอเนมี / ซองสเตรสซอง / ซองสเตรสซอง (แฟลต) / ไอเทม / เอเนมีเอนเคาน์เตอร์) | 1:28 |
12. | "เซอร์เมาน์ติงเดอะไทรอัล" (ฟีลด์ 2 / ทาวเวอร์ / มิด-บอส แบตเทิล / กอดเดสทาวเวอร์ / แมชชีนคาสเซิลแอตแทก / อินไซด์แมชชีนคาสเซิล) | 6:32 |
13. | "เดอะไฟนอลแบตเทิล" (เกรตบอสแบตเทิล / อเวคเคนนิง / ดิสแทนต์ลูนาร์) | 4:06 |
14. | "ลูนาร์" (คาราโอเกะ) | 3:16 |
15. | "เซนซิทีฟดรีม" (คาราโอเกะ) | 4:21 |
ความยาวทั้งหมด: | 61:15 |
เสียงพูด
[แก้]ทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษที่ดัดแปลงจากลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ มีบทสนทนาที่พูดได้ประมาณสิบห้านาทีจากนักพากย์ที่มีชื่อเสียงหลายคน แม้ว่าเกมจะมีตัวละครหลักและตัวสนับสนุนจำนวนมาก แต่จริง ๆ แล้วมีเพียงห้าตัวเท่านั้นที่เปล่งเสียงออกมาในระหว่างลำดับเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง โดยเวอร์ชันญี่ปุ่นมีคิกูโกะ อิโนอูเอะ พากย์เป็นทั้งอเล็กซ์และลูนา, เร ซากูมะ พากย์เป็นนอล, โคอิจิ คิตามูระ พากย์เป็นมังกรขาวที่ชื่อควาร์ก และโรกูโร นายะ พากย์เป็นกาเลียน[24] ส่วนเวอร์ชันภาษาอังกฤษประกอบด้วยผู้มีชื่อเสียงทางโทรทัศน์ใหม่ ๆ เป็นส่วนใหญ่ และพนักงานของเวิร์กกิงดีไซส์ เช่น แอชลีย์ พาร์กเกอร์ เอนเจล พากย์เป็นอเล็กซ์, รอนดา กิบสัน พากย์เป็นลูนา, แจ็กกี พาวเวอส์ พากย์เป็นนอล, ฮัล เดลาฮูส พากย์เป็นควาร์ก และจอห์น ทรูต พากย์เป็นกาเลียน[24] ในขณะที่นักพากย์ภาษาญี่ปุ่นทั้งหมดถูกแทนที่สำหรับเกมรีเมกในระบบเพลย์สเตชัน แต่นักพากย์ต้นฉบับภาษาอังกฤษทุกคนจะกลับมาบรรเลงบทเดิมอีกครั้ง[25]
การตอบรับ
[แก้]การตอบรับ | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||||||||||||||||||||||||
|
ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ได้รับการตอบรับอย่างดีในญี่ปุ่นโดยขายได้ประมาณ 100,000 ชุด โดยขายหมดทั้งการผลิตในญี่ปุ่นในปีแรกหลังจากวางจำหน่าย ซึ่งเกือบมากเท่ากับเมกะ ซีดี เอง[35] นับเป็นเกมยอดนิยมเกมแรกของเมกาซีดี ซึ่งเซกาให้เครดิตเพียงเพื่อผลักดันยอดขายของระบบในภูมิภาคนั้น ๆ[13] เกมดังกล่าวยังคงเป็นเกมเมกาซีดีที่ขายดีที่สุดตลอดกาลในประเทศญี่ปุ่น และมียอดขายสูงสุดเป็นอันดับสองทั่วโลกรองจากโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก ซีดี นอกจากนี้ ผู้อ่านนิตยสารเมกาไดรฟ์บีปของญี่ปุ่นได้โหวตให้เกมนี้เป็นเกมเมกาไดรฟ์เล่นตามบทบาทอันดับหนึ่งเป็นเวลา 17 เดือนติดต่อกันก่อนที่จะถูกเอาชนะโดยไชนิงฟอร์ซ II[35]
เวอร์ชันภาษาอังกฤษที่วางจำหน่ายในปีถัดไปได้รับการตอบรับที่คล้ายคลึงกัน โดยสคิดของนิตยสารเกมแฟนกล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็น "วิดีโอเกมเล่นตามบทบาทที่ดีที่สุดที่ผมเคยเล่นเป็นภาษาอังกฤษ" โดยยกย่องในกราฟิก, เสียง และเรื่องราวของเกมที่ "คิดและดำเนินการได้ดี"[28] บรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าวยังยกย่องให้เป็นเกมเล่นตามบทบาทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน ค.ศ. 1993[13] ส่วนนิตยสารเกมโปรได้วิจารณ์ในทำนองเดียวกันว่า "ไม่ใช่แค่วิดีโอเกมเล่นตามบทบาทในระบบเซกา ซีดี ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา แต่เป็นหนึ่งในเกมที่ดีที่สุดในระบบเซกา" ซึ่งให้คุณค่ากับการแปลเกมเป็นพิเศษ[30] ขณะที่นิตยสารเกมเพลเยอส์ได้อธิบายว่ามันเป็น "วิดีโอเกมเล่นตามบทบาทที่สมบูรณ์และคุ้มค่ากับเวลาของคุณ" แต่พบข้อผิดพลาดในกราฟิกตัวละครขนาดเล็กของเกมที่ "ดูเหมือนวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทอื่น ๆ" และคุณค่าในการกลับมาเล่นอีกครั้งที่แทบไม่มีอยู่จริง[32] และนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลีมีผู้วิจารณ์ห้าคน ได้แก่ เอ็ด, ดาโน, อัล, ซูชิ-เอกซ์ และไมค์ ได้ให้คะแนนเกมที่ 9, 8, 7, 7 และ 7 ตามลำดับ ตั้งแต่ระดับ "คุ้มค่า" ไปจนถึง "แทบไม่มีที่ติ" นิตยสารดังกล่าวยกย่องเพลงประกอบของเกม แต่อธิบายลำดับการต่อสู้ว่า "ค่อนข้างน่าเบื่อ"[36] ส่วนคู่มือผู้ซื้อวิดีโอเกม ค.ศ. 1999 ของนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลีได้ระบุคะแนน 4 รายการ ได้แก่ 9, 8, 7 และ 7 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7.75 จาก 10 คะแนนโดยรวม และอธิบายว่าเกมนี้เป็น "หนึ่งในวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา"[27]
นิตยสารเมกะได้จัดอันดับเกมดังกล่าวไว้ที่ #8 ของเกมเมกะ ซีดี ยอดเยี่ยมตลอดกาล[37] ครั้นใน ค.ศ. 2006 ลูนาร์ได้ติดอันดับ 113 ในรายการ "วิดีโอเกมในยุคของพวกเขา" ของนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลี และเว็บไซต์วันอัป.คอม ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองเกมที่ถือว่าดีที่สุดในช่วงแรกของการเปิดตัว[38] ส่วนนิตยสารรีโทรเกมเมอร์ได้รวมภาคเดอะซิลเวอร์สตาร์ไว้ในสิบอันดับสูงสุดของเกมเมกะ ซีดี โดยสังเกตว่ามี "ซาวด์แทร็กที่น่าทึ่ง" และ การปรับปรุงให้เข้ากับตะวันตกที่ "ยอดเยี่ยม"[39]
สิ่งสืบทอด
[แก้]ในฐานะเกมแรกของซีรีส์ลูนาร์ ภาคเดอะซิลเวอร์สตาร์ได้สร้างธีมและตัวละครจำนวนมากที่จะได้เห็นในภาคต่อ ๆ ไป เกมดังกล่าวตามมาด้วยภาคลูนาร์: อีเทอร์นอลบลู ใน ค.ศ. 1994 ซึ่งเป็นภาคต่อโดยตรงที่เนื้อเรื่องแต่งให้เกิดขึ้นหนึ่งเมื่อพันปีในอนาคตของภาคเดอะซิลเวอร์สตาร์' และมีการอ้างอิงถึงภาคต้นฉบับเป็นจำนวนมาก ส่วนภาคอื่น ๆ ที่ตามมา รวมถึงลูนาร์: วอล์กกิงสกูล ใน ค.ศ. 1996 และลูนาร์: ดรากอนซอง ใน ค.ศ. 2005 จะทำหน้าที่เป็นพรีเควลของเกม ซึ่งเกิดขึ้นหลายร้อยปีก่อนเรื่องราวของเกมภาคนี้
ภาครีเมค
[แก้]ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ได้รับการสร้างขึ้นใหม่หลายครั้งโดยนักพัฒนาและผู้เผยแพร่หลายรายสำหรับคอนโซลหลายรุ่นระหว่าง ค.ศ. 1996 ถึง 2009 ซึ่งเกมเหล่านี้มีการปรับปรุงกราฟิกและเสียง รวมถึงสคริปต์แบบขยาย[40][41]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Making of Lunar: Silver Star Story Complete. Working Designs. 1999. SLUS-00628/008995.
- ↑ Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 1617. ISBN 1-884364-00-4.
- ↑ Lunar: The Silver Star Instruction Manual. Working Designs. 1993. p. 5. T-127015.
- ↑ Lunar: The Silver Star Instruction Manual. Working Designs. 1993. p. 15. T-127015.
- ↑ Lunar: The Silver Star Instruction Manual. Working Designs. 1993. p. 1618. T-127015.
- ↑ Lunar: The Silver Star Instruction Manual. Working Designs. 1993. p. 4. T-127015.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Lunar I & II Official Design Materials Collection - Hajime Satou x Katsutoshi Akashi Long Interview. Softbank. 1997. p. 88. ISBN 4-89052-662-5.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Lunar I & II Official Design Materials Collection - Kei Shigema x Toshiyuki Kubooka Long Interview. Softbank. 1997. p. 96. ISBN 4-89052-662-5.
- ↑ Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 0410. ISBN 1-884364-00-4.
- ↑ http://lparchive.org/Lunar-The-Silver-Star/Update%2036/
- ↑ Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 1114. ISBN 1-884364-00-4.
- ↑ Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 122126. ISBN 1-884364-00-4.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Pettus, Sam (July 15, 2004). "Sega CD: A Console too Soon". Sega-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2010. สืบค้นเมื่อ 2009-12-17.
- ↑ Rudo (May 1999). "Interviews - Victor Ireland (Interview 2)". LunarNET. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ Rudo and Webber (May 1998). "Interviews - Victor Ireland (Interview 1)". LunarNET. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ "Lunar: The Silver Star - Details (archived)". Working Designs. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-12-12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 33. ISBN 1-884364-00-4.
- ↑ "*GALLERY* Lunar: The Silver Star". Games, Books, Films. Dec 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
- ↑ Rzeminski, Lucy (2004). "Chudah's Corner - Lunar the Silver Star". Chudah's Corner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ Rzeminski, Lucy (2004). "Chudah's Corner - Lyrics - Lunar". Chudah's Corner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ Lunar: The Silver Star Instruction Manual. Working Designs. 1993. p. 22. T-127015.
- ↑ Farand, Eric (2004-05-17). "RPGFan Soundtracks - Lunar: The Silver Star OST". RPGFan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-05. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ Musashi (2004-05-17). "RPGFan Soundtracks - Lunar: Silver Star Story Complete Soundtrack". RPGFan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-09. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ 24.0 24.1 Shannon, Mickey (2002). "Lunar: The Silver Star - Game Credits". LunarNET. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ Shannon, Mickey (2002). "Lunar: Silver Star Story Complete - Game Credits". LunarNET. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ 26.0 26.1 "Lunar: The Silver Star for Sega CD". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 29 January 2012.
- ↑ 27.0 27.1 "1999 Video Game Buyer's Guide". Electronic Gaming Monthly: 141. 1999.
- ↑ 28.0 28.1 Skid (December 1993). GameFan. Vol. 2. DieHard Gamers Club).
- ↑ Paul Anderson; Rick Petzoldt & Ross VanDerSchaegen (March–April 1994). Game Informer. Vol. 4. GameStop Corporation.
- ↑ 30.0 30.1 Lawrence of Arcadia (January 1994). GamePro. Vol. 6. IDG Entertainment.
- ↑ Camron, Marc (January 1994). "Lunar: The Silver Star". Electronic Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2004. สืบค้นเมื่อ 10 February 2012.
{{cite journal}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ 32.0 32.1 Lundigren, Jeff (February 1994). Game Players. Vol. 6. Imagine Media.
- ↑ Chris; Gore; Mike; Nikos (December 1993). VideoGames & Computer Entertainment. Vol. 6. Larry Flynt Publications.
- ↑ Scan of Mega Machine 17 page 52
- ↑ 35.0 35.1 Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 12. ISBN 1-884364-00-4.
- ↑ Danyon Carpenter; Al Manuel; Ed Semrad; David "Sushi-X" Siller; Mike Weigand (December 1993). Electronic Gaming Monthly. Vol. 5. Ziff Davis Media.
- ↑ Mega magazine issue 26, page 74, Maverick Magazines, November 1994.
- ↑ Semrad, Steven (February 2006). "The Greatest 200 Videogames of Their Time from 1UP.com". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ http://www.retrogamer.net/top_10/top-ten-mega-cd-games/
- ↑ Bartholow, David (1999). "Lunar: Silver Star Story Complete for PlayStation Review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ Kasavin, Greg (2002). "Lunar Legend for Game Boy Advance Review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-25. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15., and the newly announced third remake for the PlayStation Portable, Lunar: Harmony of the Silver Star.