ข้ามไปเนื้อหา

ลูกขนไก่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูกขนไก่ไนลอน
ลูกขนไก่ที่ทำจากขนนก

ลูกขนไก่ (อังกฤษ: shuttlecock หรือเรียกในชื่อ bird หรือ birdie)[1] เป็นลูกที่ตีออกไปซึ่งมีแรงต้านสูง สำหรับใช้ในกีฬาแบดมินตัน ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยเปิด โดยเป็นขนนกที่ทับซ้อนกัน 16 ก้านจากห่านหรือเป็ดที่มาจากปีกข้างซ้ายหรือปีกข้างขวาอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นในแต่ละลูก[ต้องการอ้างอิง] และฝังลงในฐานไม้ก๊อกที่โค้งมน ซึ่งไม้ก๊อกจะมีการคลุมด้วยชั้นหนังบาง ๆ รูปร่างของลูกขนไก่เช่นนี้จะทำให้มีเสถียรภาพด้านอากาศพลศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยไม่คำนึงถึงการปรับตัวเบื้องต้น มันจะให้ส่วนที่เป็นไม้ก๊อกนำออกไปก่อน และจะยังคงอยู่ในสภาพไม้ก๊อกเคลื่อนลงมาเป็นอันดับแรก อนึ่ง ชื่อลูกขนไก่ บ่อยครั้งจะเรียกในภาษาอังกฤษแบบสั้น ๆ ว่า shuttle คำว่า "shuttle" อาจเป็นชื่อที่ได้มาจากการเคลื่อนไหวที่พุ่งกลับไปมาในระหว่างการแข่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกระสวยของกี่ ส่วนคำว่า "cock" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเต็มในภาษาอังกฤษ อาจจะได้มาจากความคล้ายคลึงกับขนนกที่อยู่บนตัวของลูกไก่ตัวผู้

เปรียบเทียบระหว่างแบบขนนกกับแบบวัสดุสังเคราะห์

[แก้]

ขนนกมีลักษณะเปราะ ลักษณะเช่นนี้ของลูกขนไก่จะแตกง่ายและมักจะต้องมีการเปลี่ยนหลายครั้งในระหว่างการแข่งขัน ด้วยเหตุนี้ ลูกขนไก่แบบสังเคราะห์ที่ได้รับการพัฒนาจึงเข้ามาแทนที่แบบขนนกโดยจะมีลักษณะเป็นบานกระโปรงพลาสติก ผู้เล่นมักจะอ้างถึงลูกขนไก่แบบสังเคราะห์ว่าเป็นพลาสติก และแบบขนว่ามีลักษณะเป็นขนนก

ราคาของแบบขนนกคุณภาพดีจะมีความใกล้เคียงกับแบบพลาสติกคุณภาพดี แต่แบบพลาสติกจะมีความทนทานมากกว่า โดยปกติแล้วจะสามารถใช้ได้เป็นเวลานานในหลายแมตช์โดยไม่ด้อยไปกว่ากัน

ผู้เล่นส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์และความชำนาญอย่างมากจะชอบแบบขนนก และการแข่งขันแบบเอาจริงเอาจังหรือแบบลีกมักจะใช้ลูกขนไก่แบบขนนกที่มีคุณภาพสูงสุด[2] ตลอดจนมีความรู้สึกชอบต่อลูกขนไก่แบบขนนก[ต้องการอ้างอิง] และยืนยันว่าพวกเขาสามารถควบคุมการตีในแบบขนนกได้ดีกว่าแบบพลาสติก ในทวีปเอเชีย ลูกขนไก่แบบขนนกจะมีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ และแทบจะไม่ได้นำลูกขนไก่แบบพลาสติกมาใช้เลย[ต้องการอ้างอิง]

ลักษณะการเล่นลูกขนไก่แบบพลาสติกกับแบบขนนกจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยแบบพลาสติกจะเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าในตอนเริ่มตี แต่จะลดความช้าลงเมื่อการพุ่งออกไปใกล้จะสิ้นสุดลง ดังนั้น แบบขนนกจะมีแนวโน้มเคลื่อนที่เป็นแนวดิ่งแบบเห็นภาพชัดเจน ส่วนในแบบพลาสติกจะไม่ค่อยตกลงมาในแนวดิ่งตามวิถีทแยงมุม ลูกขนไก่แบบขนนกอาจพุ่งมาด้วยความเร็วที่กว่า 320 กิโลเมตร/ชั่วโมง (200 ไมล์ต่อชั่วโมง) แต่จะชะลอความเร็วเมื่อหยอดคล้อยลง ด้วยเหตุนี้ แบบขนนกจะทำให้การแข่งขันนั้นดูเหมือนเร็วกว่า[ต้องการอ้างอิง] แต่ยังช่วยให้ใช้เวลามากขึ้นในการเล่นจังหวะ เพราะแบบขนนกสามารถพุ่งไปได้เร็วกว่าเมื่อกระทบกับหน้าไม้แบดมินตัน ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อไหล่และได้รับบาดเจ็บน้อยลง[ต้องการอ้างอิง]

ข้อมูลจำเพาะ

[แก้]

ลูกขนไก่มีน้ำหนักที่ประมาณ 4.75 ถึง 5.50 กรัม (0.168 ถึง 0.194 ออนซ์) ซึ่งประกอบด้วยขนนก 16 ก้านโดยแต่ละก้านมีความยาวที่ 70 มิลลิเมตร (2.8 นิ้ว) และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้ก๊อกอยู่ที่ 25 ถึง 28 มิลลิเมตร (0.98 ถึง 1.10 นิ้ว) และเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมที่ขนปักล้อมอยู่ที่ประมาณ 54 มิลลิเมตร (2.1 นิ้ว)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "birdie". thefreedictionary.com. สืบค้นเมื่อ 2011-01-09.
  2. "BWF's tournament sanctioned shuttlecocks". Badminton World Federation site. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-28. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.