ข้ามไปเนื้อหา

ลี ชาร์ป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลี ชาร์ป
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ลี สจ๊วต ชาร์ป
วันเกิด (1971-05-27) 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1971 (53 ปี)
ตำแหน่ง ปีกซ้าย
สโมสรเยาวชน
0000–1987 ทอร์คีย์ยูไนเต็ด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1987–1988 ทอร์คีย์ยูไนเต็ด 14 (3)
1988–1996 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 193 (21)
1996–1999 ลีดส์ยูไนเต็ด 30 (5)
1998–1999ซามพ์โดเรีย (ยืมตัว) 3 (0)
1999แบรดฟอร์ดซิตี (ยืมตัว) 9 (2)
1999–2002 แบรดฟอร์ดซิตี 47 (2)
2001พอร์ตสมัท (ยืมตัว) 17 (0)
2002 Exeter City 4 (1)
2003 Grindavík 7 (0)
2004 Garforth Town 21 (6)
รวม 345 (40)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

ลี สจ๊วต ชาร์ป (อังกฤษ: Lee Stuart Sharpe; เกิด 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1971) เป็นนักกอล์ฟอาชีพ อดีตนักฟุตบอลอาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอลทางโทรทัศน์ และผู้เข้าร่วมรายการเรียลลิตี้ทีวีชาวอังกฤษ

ในฐานะนักฟุตบอล เขาเล่นเป็นปีกซ้ายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 ถึง ค.ศ. 2004 โดยเฉพาะเมื่อเล่นในพรีเมียร์ลีกให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, ลีดส์ยูไนเต็ดและแบรดฟอร์ดซิตี และในเซเรียอากับซามพ์โดเรีย นอกจากนี้เขายังเคยเล่นในฟุตบอลลีกกับทอร์คีย์ยูไนเต็ด, พอร์ตสมัท และเอ็กเซเตอร์ซิตี ก่อนจะปิดฉากเส้นทางอาชีพในไอซ์แลนด์กับกรินดาวิค และในฟุตบอลนอกลีกกับการ์ฟอร์ธ ทาวน์ ชาร์ปเล่นให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 จนถึงปี ค.ศ. 1996 โดยเขาคว้าแชมป์ลีก 3 สมัย เอฟเอคัพ และลีกคัพ เขาติดทีมชาติอังกฤษทั้งหมด 8 นัดและติดทีมชาติอังกฤษชุดบี 1 นัด

เขาแขวนสตั๊ดในปี ค.ศ. 2004 แต่ได้รับชื่อเสียงขึ้นมาใหม่หลังจากปรากฏตัวในรายการเรียลลิตีทีวีหลายครั้งในฐานะผู้เข้าร่วมรายการ เขายังทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอลทางโทรทัศน์อีกด้วย

ในปี ค.ศ. 2021 ชาร์ปเริ่มแข่งขันกอล์ฟอาชีพ[1]

ระดับสโมสร

[แก้]

ทอร์คีย์ยูไนเต็ด

[แก้]

ชาร์ปเกิดในเฮลโซเวน วุร์สเตอร์เชอร์ เป็นแฟนคลับของแอสตันวิลลา แต่เริ่มอาชีพค้าแข้งกับทอร์คีย์ยูไนเต็ดตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 17 ปี เขาลงเล่น 14 นัดในฤดูกาล 1987–88 พวกเขาจบฤดูกาลอย่างปลอดภัยในฟุตบอลลีก ดิวิชั่น 4 (ปัจจุบันคืออีเอฟแอลลีกทู) ในไม่ช้าเขาก็อยู่ในการจับตามองของสโมสรในดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 และถูกขายให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1988 ในราคาเพียง 200,000 ปอนด์ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในเวลานั้น

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

[แก้]

ชาร์ปเปิดตัวกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1988 โดยชนะเวสต์แฮมยูไนเต็ด 2–0 เมื่ออายุได้ 17 ปี โอกาสในทีมชุดใหญ่ของเขาเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายนด้วยการออกจากสโมสรของปีกซ้ายตัวจริงคือเจสเปอร์ โอลเซน และราล์ฟ มิลน์ ปีกซ้ายดาวรุ่งคนใหม่ทำผลงานได้ไม่สม่ำเสมอ ชาร์ปจบฤดูกาล 1988–89 ด้วยการลงเล่นในลีก 22 นัดและยิงประตูไม่ได้ และยูไนเต็ดมีฟอร์มที่น่าผิดหวังด้วยการจบอันดับที่ 11 ในลีกหลังจากจบด้วยการเป็นรองแชมป์ในฤดูกาลที่แล้ว เขาลงเล่น 30 นัดในทุกรายการในฤดูกาลนั้น และอยู่ในรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลนักฟุตบอลดาวรุ่งแห่งปีของพีเอฟเอ ซึ่งพอล เมอร์สัน ปีกของอาร์เซนอลคว้าไปครอง[2]

ในฤดูกาลถัดมา ชาร์ปทำประตูแรกในสีเสื้อยูไนเต็ด โดยทำประตูในนัดที่เปิดบ้านชนะมิลล์วอลล์ 5–1 เมื่อวันเสาร์ที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1989 เขาลงเล่น 18 นัดในลีกฤดูกาลนั้น (และ 20 นัดในทุกรายการ) แต่ล้มเหลวในการติดทีมสำหรับเอฟเอคัพรอบชิงชนะเลิศกับคริสตัลพาเลซซึ่งยูไนเต็ดชนะ 1–0 จากประตูชัยของลี มาร์ตินในการแข่งขันนัดรีเพลย์หลังจากเสมอ 3–3 ในนัดแรก ซึ่งอเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้เลือกแดนนี วอลเลซปีกซ้ายคนใหม่จากเซาแทมป์ตัน เป็นปีกซ้ายตัวจริงสำหรับฤดูกาล 1989–90[2]

เขามีส่วนสำคัญในความสำเร็จของยูไนเต็ดในยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพในปี 1990–91 โดยยิงด้วยเท้าซ้ายเข้ามุมบนของประตูในเกมเหย้าในรอบรองชนะเลิศกับลีเกีย วอร์ซอว์ จากโปแลนด์ (1–1) เขายังมีชื่อเสียงจากการทำแฮตทริกใส่อาร์เซนอลที่ไฮบิวรีในลีกคัพรอบ 4 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 ซึ่งยูไนเต็ดชนะ 6–2 ตอนนี้เขาเป็นผู้เล่นตัวจริงในตำแหน่งปีกซ้ายของยูไนเต็ดนำหน้าแดนนี่ วอลเลซ แม้ว่าจะมีคู่แข่งคนใหม่ในตำแหน่งปีกซ้ายคือไรอัน กิ๊กส์ เด็กหนุ่มชาวเวลส์วัย 17 ปีที่ได้รับการเลื่อนชั้นขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่จากอะคาเดมี่ของสโมสร[3]

ชาร์ปได้รับการเรียกตัวติดทีมชาติอังกฤษก่อนวันเกิดครบรอบ 20 ปีของเขา แม้ว่าเขาจะไม่สามารถแทนที่จอห์น บาร์นส์ ปีกซ้ายความเร็วสูงจากลิเวอร์พูลในตำแหน่งปีกซ้ายตัวจริงได้ เขาหายหน้าหายตาไปนานจากอาการบาดเจ็บและอาการป่วย (เขาป่วยด้วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1992) และเมื่อความฟิตกลับมาเป็นปกติ ไรอัน กิ๊กส์ก็อยู่ในฟอร์มที่ยอดเยี่ยมกลายเป็นปีกซ้ายตัวหลัก ทำให้ชาร์ปต้องไปเล่นเป็นแบ็คซ้าย (เดนิส เออร์วินเป็นแบ็คซ้ายตัวหลัก) หรือปีกขวา โดยต้องแย่งตำแหน่งกับอังเดร แคนเชลสกี ซึ่งเข้ามาสู่สโมสรในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1991

โอกาสในการติดทีมชุดใหญ่ของเขาถูกจำกัดด้วยอาการบาดเจ็บและฟอร์มของกิ๊กส์ในฤดูกาล 1991–92 แต่เขาได้ลงเล่นเป็นตัวสำรองในชัยชนะเหนือนอตทิงแฮมฟอเรสต์ในลีกคัพรอบชิงชนะเลิศ

เขาลงเล่นมากพอที่จะได้รับเหรียญแชมป์พรีเมียร์ลีกสำหรับฤดูกาล 1992–93 และเพิ่มอีกเหรียญในฤดูกาล 1993–94 โดยลงเล่น 30 นัด (สำรอง 4 นัด) และยิงได้ 9 ประตูในลีก (11 ประตูในทุกรายการ) เขายิงสองประตูให้ยูไนเต็ดในลีกนัดที่ 4 ของฤดูกาลเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1993 เมื่อพวกเขาเอาชนะแอสตันวิลลา 2–1 ที่วิลลาพาร์ก ตามด้วยประตูแรกในเกมชนะเซาแทมป์ตัน 3–1 ที่เดอะเดลในเกมถัดมา เขาทำอีกสองประตูในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1994 ในเกมลีกที่เสมอกับอาร์เซนอล 2–2 และลงมาเป็นตัวสำรองในเอฟเอคัพรอบชิงชนะเลิศกับเชลซี ยูไนเต็ดคว้าดับเบิ้ลแชมป์ทั้งแชมป์พรีเมียร์ลีกและเอฟเอคัพในฤดูกาลนั้น

ชาร์ปเป็นที่จดจำสำหรับประตูที่น่าจดจำของเขากับบาร์เซโลนา ซึ่งในเกมที่เสมอกัน 2-2 ในรอบแบ่งกลุ่มของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 1994–1995 เมื่อเขายิงประตูจากการครอสบอลของรอย คีนเข้ามุมตาข่ายอย่างงดงาม เขายังได้แอสซิสต์ในเกมนี้ โดยครอสบอลให้มาร์ก ฮิวส์ โหม่งทำประตูแรกของการแข่งขัน[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Taylor, Daniel. "Lee Sharpe, golfer: How the first pop-star footballer of his era turned a 'pipe dream' into reality". The Athletic. สืบค้นเมื่อ 27 May 2022.
  2. 2.0 2.1 "Football photographic encyclopedia, footballer, world cup, champions league, football championship, olympic games & hero images by sporting-heroes.net". www.sporting-heroes.net. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
  3. Smyth, Rob (24 September 2004). "Lee Sharpe". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 7 May 2010.
  4. Brewin, John (8 May 2009). "From Robbo v Diego to Ronaldo v Messi". ESPN Soccernet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 26 August 2010.