ข้ามไปเนื้อหา

ลัมโบร์กีนี กัลลาร์โด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลัมโบร์กีนี กัลลาร์โด
กัลลาร์โด แอลพี550-2 คูเป (โฉมที่สอง)
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตลัมโบร์กีนี
เริ่มผลิตเมื่อค.ศ. 2003–2013
รุ่นปีค.ศ. 2003–2013
แหล่งผลิตSant'Agata Bolognese, ประเทศอิตาลี
ผู้ออกแบบ
  • อิตัลดีไซน์จูจีอาโร (Italdesign Giugiaro) (ออกแบบช่วงต้น)
  • ลุก ดังเคอร์เวิร์ค (Luc Donckerwolke) (ออกแบบช่วงท้าย)
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง (Sports car)
รูปแบบตัวถัง2 ประตู คูเป
2 ประตู โรดสเตอร์
โครงสร้าง
  • เครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสี่ล้อ (M4)
  • ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR) (ในรุ่น LP550-2)
จำนวนประตู2 แบบบานเปิดธรรมดา
รุ่นที่คล้ายกันออดี อาร์8
ลัมโบร์กินี คอนเซ็ปต์ เอส
ลัมโบร์กีนี เซสโต เอเลเมนโต
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์5.0 L V10 (โฉมแรก)
5.2 L V10 (โฉมที่สอง)
ระบบเกียร์เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ
เกียร์กึ่งอัตโนมัติ อี-เกียร์ 6 จังหวะ
มิติ
ระยะฐานล้อ2,560 mm (100.8 in)
ความยาว4,300–4,386 mm (169.3–172.7 in)
ความกว้าง1,900 mm (74.8 in)
ความสูง1,165 mm (45.9 in) (coupé)
1,184 mm (46.6 in) (spyder)
น้ำหนัก1,591 kg (3,507 lb) LP560-4

[1]
1,597 kg (3,520 lb) Gallardo [2]
1,733 kg (3,820 lb) Spyder [3]
1,558 kg (3,434 lb) Supperleggera[4]
1,547 kg (3,410 lb) LP550-2 Valentino Balboni[5]

1,520 kg (3,350 lb) LP570-4 Superleggera[6]
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าลัมโบร์กินี แจลปา
รุ่นต่อไปลัมโบร์กินี ฮูราแคน

ลัมโบร์กีนี กัลลาร์โด (อิตาลี: Lamborghini Gallardo; อ่านว่า "กัลญาร์โด") เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนตร์กลางลำท้าย ขับเคลื่อนทุกล้อ (M4)/ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัท ลัมโบร์กีนีจากอิตาลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 จนถึงปัจจุบัน กัลลาร์โด กลายเป็นรุ่นที่มียอดจำหน่ายดีที่สุดของลัมโบร์กีนี ด้วยยอดการผลิตทั้งหมดตลอดจนจบสายการผลิตคือ 14,022 คัน[7] โดยชื่อ "กัลลาร์โด" มาจากชื่อ กระทิงที่มีชื่อเสียงจากกีฬาต่อสู้กระทิงของสเปน[8] เครื่องยนต์ V10 ของกัลลาร์โด ได้กลายเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้คู่กับรถรุ่นนี้มาโดยตลอด จนได้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดเป็น เครื่องยนต์ V12 สำหรับรุ่นต่อๆไป โดยรุ่นแรกคือ ลัมโบร์กีนี มูร์เซียลาโก และ ลัมโบร์กีนี อะเวนตาโดร์[9]

ปัจจุบัน ลัมโบร์กีนี กัลลาร์โด ถือเป็นชื่อสายการผลิตที่ยาวนานที่สุดของลัมโบร์กีนี โดยสถิติก่อนหน้านี้คือรุ่นแจลปา (Lamborghini Jalpa) ซึ่งยกเลิกการผลิตไปในปี ค.ศ. 1988 และในปี ค.ศ. 2013 ทางบริษัทลัมโบร์กีนี ก็ได้ออกมาประกาศ ยกเลิกการผลิตกัลลาร์โดรุ่นนี้แล้ว และถูกแแทนที่ด้วยรุ่น ฮูราแคน (Huracan)

โฉมทั้งหมดของกัลลาร์โด

[แก้]

โฉมแรก

[แก้]
Lamborghini Gallardo ( ในโฉมที่ 1)
  1. Gallardo - เปิดตัวในปี ค.ศ. 2004 : ถือเป็นรุ่นแรกและโฉมแรก ของ รุ่นกัลลาร์โด มาพร้อมกับเครื่องยนต์ขนาด 5 ลิตร (4961cc) V10 โดยนำเครื่อง V8 ของออดี้ มาเป็นฐานในการพัฒนา ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย บริษัท คอสเวิร์ธ( Cosworth ) จากอังกฤษ โฉมนี้ได้ออกแบบระบบเกียร์ออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทธรรมดา ( Manual ) 6 จังหวะ และ ประเภทเซมิ-ออโต ( Semi-automatic ) 6 จังหวะ หรือคำย่อ ชื่อเกียร์ของลัมโบร์กีนีนี้ว่า "E Gear"[10]
  2. Spyder - เปิดตัวในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2006 ที่งานลอสแองเจิลลิส ออโต้ โชว์ : เป็นโฉมที่ปรับหลังคาด้านบนให้เป็นแบบ หลังคาผ้าใบ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Soft top"
  3. Gallardo Superleggera - เปิดตัวในช่วงปี ค.ศ. 2007 ที่งานเจนีวา ออโต้ โชว์ : โฉมนี้ได้มีคำว่า "ซูเปอร์เล็กเกร่า" ตามหลังชื่อรุ่น ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งให้กับแนวการออกแบบสไตล์ใหม่ของลัมโบร์กีนี 350 จีที ซึ่งได้รับการสร้างและออกแบบโดยบริษัท Carrozzeria Touring จากอิตาลี จนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 ลัมโบร์กีนี ก็ได้ยุติการการสร้างโฉมนี้ลง จึงทำให้โฉมนี้ออกสู่ตลาดเพียง 172 คัน โดยแบ่ง เป็นสีขาว 10 คัน สีดำ 37 คัน สีเหลือง 45 คัน สีส้ม 46 คัน และสีชมพูเพียงแค่ 1 คัน[11]

โฉมที่สอง

[แก้]
  1. LP 560-4 - เปิดตัวในปี ค.ศ. 2008 ที่งานเจนีวา มอเตอร์ โชว์  : นับเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้า ในโฉมที่ 2 ของกัลลาร์โด มาพร้อมกับเครื่องยนต์ใหม่ ขนาด 5.2 ลิตร V10 และใช้รหัส 560 เป็นแรงม้า มีการปรับลด การปล่อย CO2 ลงถึง 18% ขัดกับสมถนะที่สูงขึ้น สำหรับการออกแบบ ก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ลัมโบร์กีนี มูร์เซียลาโก และ ลัมโบร์กีนี เรเบนตัน[12]
  2. LP 560-4 Spyder - เปิดตัวในปี 2008 ที่งาน แอลเอ ออโต้ โชว์  : เป็นโฉมเสริมต่อจาก LP 560-4 อีกที โดยการปรับหลังคาเป็นแบบเปิดประทุน สำหรับความเร็วและความเร่งถือว่า ลดลงเล็กน้อย
  3. LP 570-4 Superleggera - เปิดตัวในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2010 : มาพร้อมกับขนาดที่เบากว่า ทำให้โฉมนี้เป็นโฉมที่เบาที่สุดในบรรดารถทุกคันของลัมโบร์กีนี รวมถึงสมถนะที่สูงขึ้นกว่า LP 560-4 ด้วยแรงม้า 570 แรงม้า ใช้อัตราเร่ง 0-100 เพียง 3.4 วินาที และความเร็วสูงสุดถึง 324 กม./ชม.
  4. LP 570-4 Spyder Performante - ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2010 : เป็นโฉมเสริมต่อจาก LP 570-4 Superleggera อีกที โดยการปรับหลังคาเป็นแบบเปิดประทุน สำหรับความเร็วและความเร่งยังคงสามารถรักษาสภาพเดิมไว้ได้อยู่
  5. 2013 LP 560-4 Coupe and Spyder - เปิดตัวในปี ค.ศ. 2012 ที่งาน ปารีส มอเตอร์ โชว์  : เป็นโฉมปรับแต่ง ในสไตล์ใหม่ อย่าง การแต่งด้านหน้า-หลัง ในรูปทรงสีเหลี่ยมคางหมู การใช้ยางขนาด 19 นิ้ว เป็นต้น[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "2009 Lamborghini Gallardo LP560-4 - Short Take Road Test - Car Reviews". Caranddriver.com. 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-26.
  2. "Vehicle comparisons" (PDF). Media.caranddriver.com. สืบค้นเมื่อ 2017-03-26.
  3. "Vehicle : Ferrari F430 v Lambo Gallardo" (PDF). Media.caranddriver.com. สืบค้นเมื่อ 2017-03-26.
  4. "Car and Driver Track Sheet" (PDF). Media.caranddriver.com. สืบค้นเมื่อ 2017-03-26.
  5. "2010 Lamborghini Gallardo LP550-2 Valentino Balboni – Instrumented Test – Car and Driver". Caranddriver.com. สืบค้นเมื่อ 2017-03-26.
  6. "2011 Lamborghini Gallardo LP570-4 Superleggera - Second Drive - Car Reviews". Caranddriver.com. 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-26.
  7. Lamborghini Gallardo production ends on No. 14,022 – AutoBlog, 26 November 2013
  8. Markus, Frank (February 2013). "Sant'Agata Bolognese to Zaragoza, the Heming-Way". Motor Trend. 65 (2): 108. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-09. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-09. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  10. http://www.lambocars.com/gallardo/gallardo_5_0.html
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-05. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  12. http://www.autoblog.com/2008/03/04/geneva-2008-lamborghini-gallardo-lp560-4-live-and-drool-worthy/
  13. http://www.autoblog.com/2012/09/26/lamborghini-releases-2013-gallardo-details/

ดูเพิ่ม

[แก้]