ข้ามไปเนื้อหา

ลัทธิเริงรมณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Pornocrates โดยศิลปินเบลเยียมเฟลิเชียง โรพส์ ภาพพิมพ์กัดกรด และ ภาพพิมพ์อย่างสีน้ำ[1]

ลัทธิเริงรมณ์ (อังกฤษ: Decadent movement) คือขบวนการศิลปะ และ ขบวนการวรรณกรรมของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะในฝรั่งเศส

บทนำ

[แก้]

“Decadence” หรือ “ความเริงรมณ์” เป็นชื่อที่เดิมตั้งขึ้นในทางแดกดันโดยนักวิพากษ์ต่อนักเขียนหลายคนในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้เทิดทูนความมีเล่ห์กลเหนือทัศนคติอันปราศจากมายาเกี่ยวกับธรรมชาติของกลุ่ม จินตนิยม ผู้อยู่ในกลุ่มนำคำดังกล่าวมาใช้ด้วยความยินดีและเรียกตนเองว่า “Decadents” โดยทั่วไปแล้วงานของผู้ดำเนินตามแนวลัทธิเริงรมณ์จะมีอิทธิพลมาจากนวนิยายกอธิค และ จากกวีนิพนธ์และนวนิยายที่เขียนโดยเอดการ์ อัลเลน โพและมีความสัมพันธ์กับลัทธิสัญลักษณ์นิยม และ/หรือ ลัทธิสุนทรียนิยม[2][3][4]

ปรัชญาของความเริงรมณ์และความฟุ้งเฟ้อมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะจากชาร์ลส์ เดอ เซคองดัต บารอนแห่งมงต์เตส์คิว และถือกันว่าเป็นคำเสียดสีหลังจากนักวิพากษ์Désiré Nisardใช้ในการวิจารณ์วิกตอร์ อูโก และ ศิลปะจินตนิยมโดยทั่วไป ศิลปินจินตนิยมรุ่นต่อมาเช่นทีโอฟีล โกติเยร์ และ ชาร์ลส์ โบเดอแลร์ใช้คำนี้ด้วยความภูมิใจว่าเป็นการหันหลังให้กับสิ่งที่เรียกกันว่าเป็นความก้าวหน้าอันไม่น่าสนใจ ในคริสต์ทศวรรษ 1880 กลุ่มนักเขียนชาวฝรั่งเศสเรียกตนเองว่า “Decadents” นวนิยายคลาสสิกจากโยริส-คาร์ล อุยส์มองส์นักเขียนของกลุ่มนี้ ชื่อ “À rebours” ถือกันว่าเป็นนวนิยายดีเด่นของลัทธิเริงรมณ์เรื่องแรก แต่ผู้อื่นกล่าวว่างานของชาร์ลส์ โบเดอแลร์เป็นจุดเริ่มต้น[5] ลัทธิเริงรมณ์ในปัจจุบันถือกันว่าเป็นลัทธิที่คาบระหว่างศิลปะจินตนิยม กับ สมัยใหม่นิยม[6]

ในบริเตนบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับลัทธิเริงรมณ์คือออสคาร์ ไวล์ด

ศิลปิน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-02-04.
  2. [1], Paul Verlaine and the decadence, 1882-90 By Philip Stephan, retrieved December 24, 2009
  3. A Chronology เก็บถาวร 2018-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved December 24, 2009
  4. [2]Decadence and the making of modernism By David Weir,retrieved December 24, 2009
  5. [3] Baudelaire and the Decadent Movement by Paul Bourget, retrieved December 24, 2009
  6. [4]Decadence and the making of modernism By David Weir,retrieved December 24, 2009

ดูเพิ่ม

[แก้]