ข้ามไปเนื้อหา

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันเหนือ
ตัวอย่างงานในกระแสลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันเหนือผลงานของ คริสเตียน โรห์ลส์ Christian Rohlfa ชื่อภาพ Two Dancer

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันเหนือ (อังกฤษ: Northern German Expressionism) คือ กลุ่มย่อยอีกหนึ่งกลุ่มของ ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน เป็นกลุ่มศิลปินที่ก่อตัวขึ้นภายในเมืองมิวนิก เช่นเดียวกันกับกลุ่มเดอะบลูไรเดอร์

เมื่อลองวาดแผนที่แห่งจินตนาการของลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน เราจะพบว่าเมืองและประเทศต่าง ๆ มีความสำคัญมากต่อการก่อตั้งกลุ่มทางศิลปะ เดรสเดนเป็นเมืองที่ศิลปินกลุ่มเดอะ บริดจ์ ได้รวมตัวกันขึ้นในปี 1905 และแน่นอนว่าเป็นเมืองที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองหลวงของลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน และมิวนิก (Munich) ก็คือเมืองที่ถอดแบบเดรสเดนออกมา ไม่มีกลุ่มทางศิลปะกลุ่มใดที่มีทฤษฎีและหลักการเป็นของตัวเองโดยสมบูรณ์

ประวัติ

[แก้]

หลังจากที่ศิลปินหลายคนได้พากันออกจากกลุ่ม Neue Künstlerverinigung (N.K.V.M. สมาคมศิลปินหน้าใหม่ในมิวนิก) พวกเขาก็ได้ผูกมิตรกันและรวบรวมเอาบทบรรณาธิการของปฏิทินบันทึกเหตุการณ์ของกลุ่ม เดอะ บลูไรเดอร์ ที่เขียนขึ้นโดย วาสสิลี แคนดินสกี (Wassily Kandinsky) และ ฟรานซ์ มาร์ก (Franz Marc)

เอมิล โนลด์ (Emil Nolde), Paula Modersohn-Becker และ Christian Rohlf ได้รับการยกย่องในฐานะตัวแทนของกลุ่มนอร์ธเธิร์น ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน พวกเขาไม่ได้จัดตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการ แต่เป็นเพียงกลุ่มเพื่อนเท่านั้น โนลด์พบกับ Modersohn-Becker เมื่อเขาอยู่ที่กรุงปารีส ในปี 1900 ที่ Soest โนลด์เป็นผู้แนะนำ Rohlfs และ Modersohn-Becker ให้รู้จักกัน โดยมี Osthaus เป็นผู้สนับสนุนกลุ่มของพวกเขา

หลายครั้งที่เราจะพบว่ามีการกล่าวถึงชีวประวัติของโนลด์เสมือนกับเป็นศิลปินในกลุ่มเดอะบริดจ์ เพราะด้วยความที่เขาเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มเดอะบริดจ์ นานถึง 18 เดือน และ Rohlfs ที่มักถูกมองว่าเป็นศิลปินในกลุ่มของไรน์นิชลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ ร่วมกันกับ Morgner, Macke และ Campendonk

แนวคิดและวิธีการทำงาน

[แก้]

ศิลปินแต่ละคนจะอาศัยอยู่ในที่ของตนเอง เป็นที่ซึ่งโดดเดี่ยวและห่างไกลจากคนอื่น ๆ และนั่นเป็นผลทำให้วิวัฒนาการของศิลปินแต่ละคนปรากฏขึ้น เป็นงานศิลปะที่ค่อนข้างอิสระและแทบจะไม่มีการยุ่งเกี่ยวกับโลกภายนอก ที่กล่าวมาทั้งหมดราวกับว่างานศิลปะของทั้ง 3 คน เป็นอิสระออกจากกันเองนั้น ถือเป็นเรื่องผิดพลาด เพราะโดยพื้นฐานของ กลุ่มนอร์ธเธิร์น ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน พวกเขาต่างมีลักษณะพิเศษที่ได้แบ่งปันร่วมกัน โดยที่ศิลปินแต่ละคนจะกำหนดลักษณะการสื่อความทางศิลปะแบบง่าย ๆ แต่รอบคอบ เพื่อจงใจจำกัดวิธีการที่ซับซ้อนมาสู่ความง่าย

พวกเขาแตกต่างจากศิลปินในกลุ่มเดอะบริดจ์ ในการยับยั้งทางอารมณ์กับภาพที่พวกเขาวาด แม้ว่าพวกเขาค่อนข้างที่จะรุนแรง จริงจัง และเคร่งขรึม แต่สำหรับพวกเขา สีไม่ได้มีลักษณะพิเศษเฉพาะในเรื่องของความเปรียบต่างและเต็มไปด้วยความหมายเท่านั้น แต่สีมักจะแสดงสัญลักษณ์เฉพาะตัวอยู่เสมอ รูปทรงและสีที่ปรากฏในภาพวาดของพวกเขาถูกผสมผสานกันเพื่อสร้างรูปแบบที่งดงาม เปรียบเทียบกับความงามของธรรมชาติ

ภายในงานของโนลด์และ Rohlf เป็นงานที่พร้อมจะดึงผู้ชมให้ลงสึกสู่พื้นดิน เป็นนัยสำคัญที่ฝังรากลึงลงไปในงานของพวกเขา เนื่องจากมีการสร้างงานในพื้นที่ชนบทตอนเหนือของเยอรมัน ซึ่งนั่นทำให้งานศิลปะของศิลปินทั้งสองเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตจากปกรนัมของแถบนอร์นิก เช่น ตัวโนม กอบลิน และสัตว์ในตำนาน

อ้างอิง

[แก้]
  • Stephanie Barron. German expressionism (Munich : Prestel),1988.
  • Dietmar Elger. Expressionism (Koln : Taschen),2002.
  • โวล์ฟ, นอร์แบร์ท. ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ (กรุงเทพฯ : เดอะเกรทไฟน์อาร์ท),2552.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]