ลกเจ๊ก
ลกเจ๊ก (ลู่ จี) | |
---|---|
陸績 | |
ประติมากรรมดินเผาสมัยราชวงศ์จิน (กิมก๊ก) เล่าเรื่องยี่จับสี่เห่า (24 ยอดกตัญญู) ตอน ลกเจ๊กลักผลส้มของอ้วนสุดไปฝากมารดา จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์มณฑลชานซี | |
เจ้าเมืองอุดหลิม (鬱林太守 ยฺวี่หลินไท่โฉ่ว) (ภายใต้ซุนกวน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 219 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
ขุนพลรอง (偏將軍 เพียนเจียงจวิน) (ภายใต้ซุนกวน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 219 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 188[1] นครซูโจว มณฑลเจียงซู |
เสียชีวิต | ค.ศ. 219 (31 ปี)[1][2] นครกุ้ยผิง มณฑลกวางซี |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ | |
อาชีพ | บัณฑิต, ขุนนาง |
ชื่อรอง | กงจี้ (公紀) |
ลกเจ๊ก (ค.ศ. 188–219) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ลู่ จี (จีน: 陸績; พินอิน: Lù Jī) ชื่อรอง กงจี้ (จีน: 公紀; พินอิน: Gōngjì) เป็นขุนนางและบัณฑิตผู้รับใช้ขุนศึกซุนกวนในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน ลกเจ๊กยังเป็นหนึ่งในยี่จับสี่เห่าหรือยี่สิบสี่ยอดกตัญญู[1]
ประวัติ
[แก้]ลกเจ๊กเป็นชาวอำเภออู๋ (吳縣 อู๋เซี่ยน) เมืองง่อกุ๋น (吳郡 อู๋จฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในนครซูโจว มณฑลเจียงซู บิดาของลกเจ๊กคือลู่ คาง (陸康) รับราชการเป็นเจ้าเมืองของเมืองโลกั๋ง (廬江郡 หลูเจียงจฺวิ้น) ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[3] ลกเจ๊กเกิดในตระกูลลก (陸 ลู่) ที่เป็นหนึ่งในสี่ตระกูลทรงอิทธิพลที่สุดในเมืองง่อกุ๋น และยังเป็นหนึ่งในสี่ตระกูลทรงอิทธิพลที่สุดในภูมิภาคกังตั๋ง (江東 เจียงตง)[b]
เมื่อลกเจ๊กอายุ 6 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[c] บิดาของลกเจ๊กพาลกเจ๊กไปเมืองกิวกั๋ง (九江郡 จิ่วเจียงจฺวิ้น) เพื่อเยี่ยมอ้วนสุด อ้วนสุดนำส้มจีนมาเลี้ยงแขก ลกเจ๊กแอบหยิบส้มสามลูกซ่อนไว้ในแขนเสื้อ เมื่อลกเจ๊กและบิดาเตรียมจะออกไป ส้มก็กลิ้งออกมาจากแขนเสื้อของลกเจ๊ก อ้วนสุดพูดว่า "คุณชายลก เจ้ามาในฐานะแขก เหตุใดเจ้าจึงซ่อนส้มไว้" ลกเจ๊กคุกเข่าและตอบว่า "ข้าพเจ้าอยากนำส้มกลับบ้านไปให้มารดา" อ้วนสุดรู้สึกประทับใจการกระทำนี้ของลกเจ๊กอย่างมาก[4] เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งใน 24 เรื่องเล่าเกี่ยวกับความกตัญญูในตำราลัทธิขงจื๊อชื่อยี่จับสี่เห่าหรือยี่สิบสี่ยอดกตัญญู
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]ลกเจ๊กปรากฏในช่วงสั้น ๆ ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 43[d] ลกเจ๊กเป็นหนึ่งในบัณฑิตง่อที่โต้วาทีกับจูกัดเหลียงในเรื่องการตัดสินใจของซุนกวนที่จะเป็นพันธมิตรกับเล่าปี่ในการต้านโจโฉก่อนหน้ายุทธการที่เซ็กเพ็ก ลกเจ๊กแย้งว่า
"อันโจโฉนี้มาทว่าทำหยาบช้า แอบรับสั่งพระเจ้าเหี้ยนเต้เที่ยวปราบปรามบ้านเมืองทั้งปวงให้แผ่นดินเดือนร้อนก็จริง แต่ว่าโจโฉนี้เปนเชื้อสายของโจฉำผู้เปนอุปราชมาแต่แผ่นดินก่อน อันเล่าปี่นี้ว่าเปนเชื้อกษัตริย์กระเสนกระสายพระเจ้าเหี้ยนเต้นั้นเราไม่รู้ แจ้งแต่ว่าตระกูลของเล่าปี่นั้นเปนคนอนาถา ตัวเล่าปี่เล่าก็เปนแต่คนทอเสื่อขาย ควรหรือจะมาองค์อาจไม่คิดเจียมตัว แลจะต่อสู้โจโฉนั้นเราไม่เห็นด้วย"
จูกัดเหลียงตอบว่า
"ท่านนี้หรือชื่อว่าลกเจ๊ก เมื่อยังเปนเด็กอยู่นั้นลักส้มเขาเอาไปให้แก่มารดา นั่งลงเถิดเราจะเจรจาด้วย ซึ่งท่านนับถือโจโฉว่าเปนเชื้อสายของโจฉำก็จริง แต่โจฉำนั้นเปนคนกตัญญูสัตย์ซื่อต่อเจ้าปรากฎมาแต่ก่อน อันโจโฉนี้เปนคนเสียชาติเสียตระกูล มิได้ประพฤติตามประเพณีปู่ย่าตายาย ทำให้ผิดจากตระกูลของตัว ซึ่งจะนับถือว่าดีนั้นก็แต่คนพาลเหมือนหนึ่งท่าน อันเล่าปี่นายเรานั้น ก็เปนเชื้อสายพระเจ้าเหี้ยนเต้ ๆ ก็ทำนุบำรุงให้ยศฐานาศักดิ์ คนทั้งปวงก็รู้อยู่ เหตุไฉนท่านจึงว่าเปนคนอนาถา ถึงมาทว่าเปนคนทอเสื่อขายเกือกก็ดี อันนี้ประเพณีเปนที่ทำมาหากินจะอับอายเปนกะไรนักหนา ฝ่ายพระเจ้าฮั่นโกโจนั้นเล่าก็มิใช่เปนเชื้อพระวงศ์มา แต่ก่อนก็เปนแต่พันนายบ้าน แต่กอปไปด้วยความเพียรก็ได้เปนกษัตริย์อันใหญ่ จึงได้สืบพระราชวงศ์เสวยราชสมบัติมาตราบเท่าทุกวันนี้ ท่านจะมาประมาทเล่าปี่นายเรานั้นหาควรไม่ ตัวท่านเปนเด็กยังมิสิ้นกลิ่นน้ำนม จะมาอวดรู้กว่าผู้ใหญ่นั้นอย่าเจรจาสืบไปเลย"
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ลกซุน, ลู่ เม่า และมารดาของกู้เฉิง เป็นหลานปู่ของพี่ชายของลู่ คาง (บิดาของลกเจ๊ก) ลู่ คางเป็นปู่น้อย (น้องชายของปู่) ของทั้งสาม
- ↑ สี่ตระกูลใหญ่ในเมืองง่อกุ๋น ได้แก่ ตระกูลโกะ (顧 กู้), ลก (陸 ลู่), จู (朱 จู) และเตียว (張 จาง) สี่ตระกูลใหญ่ในภูมิภาคกังตั๋ง ได้แก่ ตระกูลโกะ (顧 กู้), ลก (陸 ลู่), งี/ยี (虞 ยฺหวี) และอุย/งุย (魏 เว่ย์) สมาชิกที่มีชื่อเสียงจากแต่ละตระกูล ได้แก่ โกะหยง (กู้ ยง), กู้ เช่า และกู้ ถานจากตระกูลโกะ; ลกซุน (ลู่ ซฺวิ่น), ลกเจ๊ก (ลู่ จี) และลู่ ข่ายจากตระกูลลก; จูหวน (จู หฺวาน) และจู จฺวี้จากตระกูลจู; เตียวอุ๋น (จาง เวิน) จากตระกูลเตียว; งีห้วน/ยีหวนจากตระกูลงี/ยี และเว่ย เถิง (魏騰) จากตระกูลอุย/งุย
- ↑ เวลานั้นมีลกเจ๊กมีอายุจริงประมาณ 5 ปี ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก บุคคลใด ๆ ถือว่ามีอายุ 1 ปีตั้งแต่ปีแรกของชีวิต ดูรายละเอียดในการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก
- ↑ ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) อยู่ในตอนที่ 38
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 de Crespigny (2007), p. 617.
- ↑ (年三十二卒。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 57.
- ↑ (陸績字公紀,吳郡吳人也。父康,漢末為廬江太守。) สามก๊ก เล่มที่ 57.
- ↑ (績年六歲,於九江見袁術。術出橘,績懷三枚,去,拜辭墮地,術謂曰:「陸郎作賔客而懷橘乎?」績跪荅曰:「欲歸遺母。」術大奇之。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 57.
- ↑ สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 43.
- ↑ "สามก๊ก ตอนที่ ๓๘". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ October 18, 2024.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ล่อกวนตง (คริสต์ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้).
- de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-15605-0.