ข้ามไปเนื้อหา

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2556

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2556
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว10 เมษายน พ.ศ. 2556
ระบบสุดท้ายสลายตัว13 ธันวาคม พ.ศ. 2556
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อไพลิน
(สถิติพายุที่มีกำลังแรงที่สุด
เป็นประวัติการณ์ในมหาสมุทรอินเดียเหนือ)
 • ลมแรงสูงสุด260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 3 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด905 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชัน10
พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว6
พายุไซโคลน5
พายุไซโคลนกำลังแรง4
พายุไซโคลนกำลังแรงมาก3
พายุซูเปอร์ไซโคลน1
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด323 คน
ความเสียหายทั้งหมดอย่างน้อย 38.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2013)
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ
2554, 2555, 2556, 2557, 2558

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2556 คือรอบปัจจุบันของพายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ซึ่งไม่มีการกำหนดฤดูอย่างเป็นทางการ แต่พายุไซโคลนมีแนวโน้มก่อตัวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีอัตราสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน

ขอบเขตของบทความนี้จะถูกจำกัดอยู่ในมหาสมุทรอินเดียที่อยู่ในซีกโลกเหนือ ทางทิศตะวันออกของจะงอยแอฟริกาและทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรมลายู โดยมีสองทะเลหลักอยู่ในมหาสมุทรอินเดียเหนือ คือ ทะเลอาหรับ ไปทางตะวันตกของอนุทวีปอินเดีย ถูกเรียกอย่างย่อว่า ARB โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD); และอ่าวเบงกอล ไปทางตะวันออก เรียกอย่างย่อว่า BOB โดย IMD

ผู้ที่รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในแอ่งนี้ตามศูนย์อุตุนิยมวิทยาภูมิภาค คือ กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ขณะที่ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการในภูมิภาคนี้ โดยเฉลี่ยแล้วแอ่งนี้จะมีพายุก่อตัว 4-6 ลูกในทุกฤดูกาล[1]

สรุปฤดูกาล

[แก้]
พายุไซโคลนไพลิน (พ.ศ. 2556)พายุไซโคลนวียารุ (พ.ศ. 2556)

พายุ

[แก้]

พายุไซโคลนวียารุ

[แก้]
พายุไซโคลน (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 10 พฤษภาคม – 17 พฤษภาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
  • ต้นเดือนพฤษภาคม ดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นในอ่าวเบงกอล[2]
  • วันที่ 10 พฤษภาคม ดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไซโคลน (เทียบเท่าพายุโซนร้อน) IMD ออกประกาศให้เรียกชื่อว่า "วียารุ"[3]
  • วันที่ 14 พฤษภาคม พายุเปลี่ยนเส้นทางเดินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 16 พฤษภาคมพายุเข้าสู่จุดที่มีกำลังสูงสุด โดยวัดความเร็วลมได้ 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศวัดได้ 990 มิลลิบาร์ (29.18 นิ้วปรอท)[4] จากนั้นไม่นานก็ขึ้นฝั่งที่เมืองจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ[5]
  • วันที่ 17 พฤษภาคม พายุเคลื่อนตัวไปยังรัฐนาคาแลนด์ ประเทศอินเดีย[6] และสลายตัวในเวลาต่อมา

อิทธิพลของพายุวียารุก่อให้เกิดฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิต 4 คน สูญหาย 6 คน บ้านเรือนเสียหายจำนวนมาก[7][8] ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัว ได้มีการอพยพราษฎรในบางส่วนของพม่าจนเป็นเหตุให้เรือกู้ภัยจำนวนหนึ่งล่ม มีผู้เสียชีวิต 39 คน สูญหาย 19 คน และรอดชีวิต 42 คน[9][10] นอกเหนือจากนี้พายุวียารุยังส่งผลให้ศรีลังกา ไทย และอินเดียใต้ต้องประสบภาวะฝนตกหนัก มีผู้เสียชีวิตในอินเดียและศรีลังกาอย่างน้อย 16 คนอีกด้วย [11][12] ในไทย 1 คน[13]

ต่อมา พายุเคลื่อนขึ้นฝั่งที่บังกลาเทศ ความเสียหายถึงแม้จะน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่มีบ้านเรือนเสียหายจำนวน 85,000 หลัง ส่วนมากเป็นกระท่อมที่สร้างไม่แข็งแรง 17 คนเสียชีวิต ส่วนที่เหลือราว 1.3 ล้านคนต้องการความช่วยเหลือ[14][15] ความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรคิดเป็น 400 ล้านทากาบังกลาเทศ หรือ 5.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[16]

พายุดีเปรสชัน BOB 02

[แก้]
ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 29 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 28 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวบริเวณอ่าวเบงกอล
  • วันที่ 29 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำเพิ่มกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน[17] จากนั้นได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณเบงกอลตะวันตก ด้วยความเร็วลมสูงสุด 45 km/h (28 mph)[18] และความกดอากาศ ณ ศูนย์กลาง 990 มิลลิบาร์
  • วันที่ 31 พฤษภาคม พายุสลายตัวเนื่องจากขาดความชื้นจากน้ำทะเลไปหล่อเลี้ยง[19]

พายุดีเปรสชัน BOB 03

[แก้]
ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 30 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 29 กรกฎาคม เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำในอ่าวเบงกอล
  • วันที่ 30 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียประกาศว่า หย่อมความกดอากาศต่ำได้เพิ่มกำลังเป็นพายุดีเปรสชัน ไม่นานนักพายุเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่เบงกอลตะวันตก ด้วยความเร็วลมสูงสุด 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความกดอากาศ ณ ศูนย์กลาง 990 มิลลิบาร์
  • วันที่ 1 สิงหาคม พายุสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่รัฐมัธยประเทศ[20]

อิทธิพลของพายุส่งผลให้มีฝนตกหนักตามชายฝั่งของบังกลาเทศ ราษฎร 30,000 คนถูกตัดขาดจากโลกภายนอก[21] นอกจากนี้ทางการอินเดียยังชักธงเตือนภันพายุระดับสามที่ท่าเรือโอฑิศา พร้อมประกาศห้ามมิให้ชาวเรือออกเรืออีกด้วย[22]

พายุดีเปรสชันบนฝั่ง 01

[แก้]
ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 20 สิงหาคม – 23 สิงหาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 16 สิงหาคม หย่อมความกดอาหาศต่ำก่อตัวบริเวณอ่าวเบงกอง
  • วันที่ 20 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณฝั่งเบงกอลตะวันตก ตรงรอยต่อรัฐโอฑิศาและรัฐฌาร์ขัณฑ์ ด้วยเหตุที่ก่อตัวบนฝั่งจึงเรียกว่าพายุดีเปรสชันบนฝั่ง (land depression) สามวันให้หลังพายุสลายตัวไป

อิทธิพลของพายุส่งผลให้เกิดฝนตกหนักแถบเบงกอลตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองกัลกัตตา ซึ่งมีฝนตกถึง 206 มิลลิเมตรในระยะเวลาสามวัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมถนน มีรายงานผู้เสียชีวิต 4 คน[23]

พายุซูเปอร์ไซโคลนไพลิน

[แก้]
พายุซูเปอร์ไซโคลน (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 8 (เข้ามาในบริเวณแอ่ง) – 14 ตุลาคม
ความรุนแรง 260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 4 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มติดตามความเคลื่อนไหวของพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่กำลังก่อตัวในอ่าวไทยห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางตะวันตกประมาณ 400 กิโลเมตร (250 ไมล์) ของประเทศเวียดนาม และในอีกสองสามวันต่อมา พายุก็ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกภายในบริเวณที่มีลมเฉือนแนวตั้งระดับต่ำถึงปานกลางก่อนที่จะเคลื่อนตัวผ่านคาบสมุทรมลายู
  • วันที่ 6 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนสลายตัวกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่สลายตัวได้ไม่นานนัก และพายุก็เคลื่อนตัวออกจากแอ่งแปซิฟิกตะวันตก
  • วันที่ 7 ตุลาคม หย่อมความกดอากาศต่ำได้รับอิทธิพลจากทะเลส่งผลให้มีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในเวลาต่อมา และพายุก็เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามัน
  • วันที่ 8 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ออกประกาศคำเตือนพายุดีเปรสชันเขตร้อนดังกล่าว และในช่วงเช้าของวันนี้สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) จะเริ่มติดตามความเคลื่อนไหวของพายุในฐานะพายุดีเปรสชันเขตร้อนเช่นกัน
  • วันที่ 9 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ออกประกาศว่าพายุได้มีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาเพิ่มเติม ก่อนที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในช่วงเช้า เนื่องจากพายุมีกำลังแรงขึ้น และรวมตัวกันมากขึ้น ก่อนที่พายุจะอ่อนกำลังลงเล็กน้อยเมื่อเคลื่อนตัวผ่านมายาบุนเดอร์ในหมู่เกาะอันดามัน และเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวเบงกอล หลังจากนั้นพายุก็ปรับโครงสร้างใหม่อย่างรวดเร็วเมื่อเคลื่อนตัวไปตามขอบทิศใต้ของสันเขาความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดียรายงานว่าพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไซโคลน และตั้งชื่อกับพายุว่า ไพลิน
  • วันที่ 10 ตุลาคม พายุไซโคลนไพลินได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมาก ซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 1 ในช่วงเช้า และเคลื่อนตัวมุ่งหน้าเข้าสู่รัฐเบงกอลตะวันตก
  • วันที่ 11 ตุลาคม พายุไซโคลนไพลินได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก หรือพายุซูเปอร์ไซโคลน นับเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่พายุซูเปอร์ไซโคลนซีดร์ ซึ่งเคยพัดถล่มประเทศบังกลาเทศในปี พ.ศ. 2550 หลังจากที่แถบการพาความร้อนในชั้นบรรยากาศได้ห่อหุ้มศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำของพายุ และก่อตัวเป็นลักษณะตาพายุในช่วงบ่ายของวันนี้ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) รายงานว่าพายุได้กลายเป็นพายุซูเปอร์ไซโคลน และก่อนที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) จะรายงานว่าพายุไซโคลนไพลินได้กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 5 หลังจากที่พายุทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วตลอดทั้งวันนี้
  • วันที่ 12 ตุลาคม พายุไซโคลนไพลินได้ผ่านวัฏจักรการแทนที่กำแพงตา และก่อตัวเป็นกำแพงตาพายุใหม่ ซึ่งต่อมาได้มีการรวมตัวกัน หลังจากที่กำแพงตาพายุใหม่ได้ทำให้พายุมีกำลังแรงขึ้นอีกเล็กน้อยในช่วงเช้าของวันนี้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุได้เข้าสู่ระดับความรุนแรงสูงสุดโดยมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ในช่วงเช้า และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) รายงานความเร็วลมสูงสุด 3 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) ความกดอากาศต่ำของพายุได้ถูกประเมินอย่างเป็นทางการที่ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท)
  • วันที่ 13 ตุลาคม พายุไซโคลนไพลินได้อ่อนกำลังลงแล้วเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่กลิงคปัตนัม เนื่องจากมีการเปลี่ยนกำแพงตาพายุเป็นรอบที่สองก่อนที่ตาพายุจะเริ่มเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวขึ้นชายฝั่งประเทศอินเดีย และในเวลาต่อมาพายุได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งใกล้กับโกปาลปุระเมื่อเวลาประมาณ 22:30 น. (15:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ซึ่งใกล้ระดับความรุนแรงสูงสุด หลังจากที่พายุเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกคำแนะนำสุดท้ายเกี่ยวกับพายุไซโคลนไพลิน
  • วันที่ 14 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) รายงานว่าพายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุไซโคลน พายุไซโคลนไพลินอ่อนกำลังลงจนกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีความชัดเจน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ออกคำแนะนำสุดท้ายเกี่ยวกับพายุลูกนี้

ชื่อพายุ

[แก้]

ภายในแอ่งนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเมื่อมีความรุนแรงในระดับพายุไซโคลน มีความเร็วลม 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) เป็นชื่อที่คัดเลือกโดยสมาชิกของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) โดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาภูมิภาคในนิวเดลีได้มีการเริ่มต้นกำหนดชื่อในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2547 หากมีพายุจากแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเคลื่อนเข้ามา ก็จะใช้ชื่อเดิมที่มากับตัวพายุ ท่านสามารถดูชื่อพายุที่เหลือทั้งหมดได้ที่รายชื่อพายุในมหาสมุทรอินเดียเหนือ

  • วียารุ
  • ไพลิน
  • เฮเลน (ยังไม่ใช้)
  • เลฮาร์ (ยังไม่ใช้)
  • มาดี (ยังไม่ใช้)
  • นาเนาก์ (ยังไม่ใช้)

ผลกระทบ

[แก้]

ตารางนี้แสดงรายการพายุทั้งหมดที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย ในช่วงปี พ.ศ. 2556 ซึ่งจะระบุชื่อของพายุ, วันที่พายุเริ่มก่อตัว, ความรุนแรง (ตามสเกลของ IMD), ข้อมูลพื้นฐานของพายุ, พื้นที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายที่เกิดจากพายุ โดยตัวเลขที่แสดงความเสียหายจะถูกระบุเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปี ค.ศ. 2013 และความเสียหาย การสูญเสียจากพายุ จะนับตั้งแต่พายุเริ่มรวมตัวจนถึงพายุถึงความรุนแรงสูงสุด

ชื่อ วันที่ ระดับความรุนแรง ความเร็วลม ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
เสียชีวิต อ้างอิง
วียารุ 10 พฤษภาคม – 17 พฤษภาคม พายุไซโคลน 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ศรีลังกา ศรีลังกา
อินเดีย อินเดียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศพม่า พม่า
ไทย ไทย
ไม่ทราบ 24-216
BOB 02 29 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม พายุดีเปรสชัน 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) บังกลาเทศ บังกลาเทศ
อินเดีย อินเดีย
ไม่มี ไม่มี
BOB 03 30 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม พายุดีเปรสชัน 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) บังกลาเทศ บังกลาเทศ
อินเดีย อินเดีย
ไม่มี ไม่มี
LAND 01 20 สิงหาคม – 23 สิงหาคม พายุดีเปรสชัน 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) อินเดีย อินเดีย ไม่มี 4
ไพลิน 8 – 14 ตุลาคม พายุซูเปอร์ไซโคลน 260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.) 905 hPa (26.72 นิ้วปรอท) ไทย ไทย
อินเดีย อินเดีย
หมู่เกาะนิโคบาร์และหมู่เกาะอันดามัน
&00000042600000000000004.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 45
สรุปฤดูกาล
10 ระบบ 10 พฤษภาคม – 13 ธันวาคม   240 กม./ชม. (150 mph) 920 hPa (27.17 นิ้วปรอท)   มากกว่า 4.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 149


อ้างอิง

[แก้]
  1. "IMD Cyclone Warning Services: Tropical Cyclones". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-29. สืบค้นเมื่อ 2013-05-15.
  2. India Meteorological Department (May 10, 2013). "Tropical Weather Out For North Indian Ocean Issued At 1200 UTC Of 10 May, 2013" (PDF). India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 10 May 2013.
  3. India Meteorological Department (May 11, 2013). "Cyclone Mahasen over southeastern Bay of Bengal, CWIND Bulletin 5" (PDF). India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-14. สืบค้นเมื่อ May 11, 2013.
  4. "Tropical Storm 'Mahasen' Advisory No. 41". India Meteorological Department. May 16, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-14. สืบค้นเมื่อ May 16, 2013.
  5. "Tropical Storm 'Mahasen' Adviosry No. 43". India Meteorological Department. May 16, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-14. สืบค้นเมื่อ May 16, 2013.
  6. "Depression over Manipur weakened" (PDF). India Meteorological Department. May 17, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-14. สืบค้นเมื่อ May 17, 2013.
  7. "Thousands homeless from floods in Indonesia's Aceh district". Jakarta, Indonesia: United Press International. May 11, 2013. สืบค้นเมื่อ May 16, 2013.
  8. Aris Cahyadi (May 13, 2013). "Aceh Landslide Kills 3 Bus Passengers". Jakarta Globe. สืบค้นเมื่อ May 16, 2013.
  9. Associated Press (May 14, 2013). "Cyclone Mahasen: Boats Carrying Fleeing Rohingya Muslims Capsize Off Coast Of Myanmar". Sittwe, Myanmar: The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ May 14, 2013.
  10. Gaurav Raghuvanshi and Syed Zain Al-Mahmood (May 16, 2013). "Cyclone Mahasen Weakens as It Hits Bangladesh". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ May 16, 2013.
  11. Press Trust of India (Mat 14, 2013). "Cyclone 'Mahasen' hits Sri Lanka, seven killed". Colombo, Sri Lanka: Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-13. สืบค้นเมื่อ May 14, 2013. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  12. Press Trust of India (May 13, 2013). "Eight killed, four injured in Andhra Pradesh cyclonic storm". Hyderabad, India: New Delhi Television Limited. สืบค้นเมื่อ May 14, 2013.
  13. "Turbulent seas at west coast; 1 person killed during storm's passing". Nakhon Sawan, Thailand: National News Bureau of Thailand. May 14, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-16. สืบค้นเมื่อ May 14, 2013.
  14. "Disaster relief emergency fund (DREF) Bangladesh: Tropical Cyclone Mahasen" (PDF). International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies. ReliefWeb. May 18, 2013. สืบค้นเมื่อ May 18, 2013.
  15. Deutsche Presse-Agentur (May 17, 2013). "Bangladesh assesses cyclone damage as toll climbs to 17". The Hindu. สืบค้นเมื่อ May 17, 2013.
  16. "Mahasen aftermath: Thousands under the open sky". Dhaka Tribune. May 18, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ May 18, 2013.
  17. India Meteorological Department. "Depression BOB 02 Bulletin 01". India Meteorological Department. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-02. สืบค้นเมื่อ 2 June 2013.
  18. India Meteorological Department. "Special Tropical Weather Outlook issued at 1600 UTC, 29 May 2013" (PDF). India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-02. สืบค้นเมื่อ 2 June 2013.
  19. India Meteorological Department. "Depression BOB 02 Bulletin 13" (PDF). India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-02. สืบค้นเมื่อ 2 June 2013.
  20. India Meteorological Department. "IMD Cyclone Warning Bulletin 9 Issued at 1130 IST, August 1, 2013". India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-14. สืบค้นเมื่อ 1 August 2013.
  21. Swapan, Anisur Rahman (28 July 2013). "30,000 people marooned in coastal Kalapara". Dhaka Tribune. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
  22. IANS (30 July 2013). "Depression over Bay of Bengal, Odisha fishermen alerted". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-02. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
  23. Telegraph India. "As if the downpour weren't enough, there's strong tide stirring too". Telegraph India. สืบค้นเมื่อ 21 August 2013.