รุ่งโรจน์ ทองศรี
รุ่งโรจน์ ทองศรี | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550) ภูมิใจไทย (2550–ปัจจุบัน) |
รุ่งโรจน์ ทองศรี (เกิด 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคภูมิใจไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดบุรีรัมย์
ประวัติ
[แก้]รุ่งโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 เป็นน้องชายเพิ่มพูน ทองศรี และทรงศักดิ์ ทองศรี [1] สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) จาก UNIVERSITY OF SAN JOSE-RECOLETOS ประเทศฟิลิปปินส์
การทำงาน
[แก้]รุ่งโรจน์ เป็นนักการเมืองในจังหวัดบุรีรัมย์ ในปี 2549 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดบุรีรัมย์ ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้ง สว.บุรีรัมย์[2][3] แต่ต้องสิ้นสุดลงเนื่องจากเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ต่อมาในปี 2550 จึงได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคพลังประชาชน ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ชนะการเลือกตั้งทั้ง 3 คน แต่ในภายหลังประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของประกิจ พลเดช, พรชัย ศรีสุริยันโยธิน และรุ่งโรจน์ ทองศรี ว่าที่ สส.เขต 1 จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคพลังประชาชนเป็นเวลา 1 ปี (การแจกใบแดง) และมติดังกล่าวมีผลให้ กกต. ต้องสั่งเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกำหนดวันเลือกตั้งใหม่คือวันที่ 17 มกราคม 2551
รุ่งโรจน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในจังหวัดบุรีรัมย์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขตเลือกตั้งที่ 8[4] เอาชนะขจรธน จุดโต จากพรรคเพื่อไทย และในปี 2557 นายรุ่งโรจน์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.จังหวัดบุรีรัมย์ เขต 8[5] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และลงสมัคร สส.จังหวัดบุรีรัมย์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็น สส.อีกสมัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เจาะสนามเลือกตั้งบุรีรัมย์ รุมสกรัม‘ภูมิใจไทย’ หวังดับฝัน‘อนุทิน-เนวิน’
- ↑ “ชัย ชิดชอบ” นำทายาท ทรท.กวาดเรียบ 5 สว.บุรีรัมย์
- ↑ วุฒิสภาไทย ชุดที่ 9[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-30.
- ↑ "ภท." โผล่สมัคร สส.บุรีรัมย์ ครบ 9 เขต -นปช.หนุน "ขจรธน"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่กันยายน 2024
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดบุรีรัมย์
- สกุลทองศรี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดบุรีรัมย์
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคภูมิใจไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.