ข้ามไปเนื้อหา

รุจี อุทัยกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุจี อุทัยกร
รุจี อุทัยกร, เอื้อ สุนทรสนาน, จุรี (มัณฑนา) โมรากุล สมัยเริ่มแรกวงดนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2483
เกิด4 สิงหาคม พ.ศ. 2463
เสียชีวิต28 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 (54 ปี)[ต้องการอ้างอิง]
อาชีพนักร้อง
ปีปฏิบัติงาน2483 - ประมาณ 2500
นายจ้างวงดนตรีอัตตังคนิเคราะห์, วงกรมโฆษณาการ หรือ วงสุนทราภรณ์, วงดนตรี บุญช่วย กมลวาทิน
ผลงานเด่นรักอะไร, เย็น เย็น, แนวหลัง

รุจี อุทัยกร (4 สิงหาคม พ.ศ. 2463 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2518)[1] เป็นอดีตนักร้องหญิงชาวไทยในช่วงก่อนและสมัยสงครามโลก เป็นนักร้องหญิงคนที่สองของวงดนตรีกรมโฆษณาการหรือวงดนตรีสุนทราภรณ์ ถัดจากจุรี (มัณฑนา) โมรากุลเพียงหนึ่งวัน รุจีมีน้ำเสียงที่ไพเราะชวนฟังแบบ “น้ำเซาะแก่งหิน” ทำให้รุจีในยุคนั้นจัดว่าเป็นนักร้องชั้นแนวหน้าของวง[2]

ประวัติ[แก้]

รุจี อุทัยกร เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เป็นธิดาของ พระขยันอักษรกิจ (โสร์ อุทัยกร)[1] ประวัติส่วนตัวของรุจีในวัยเยาว์ยังไม่มีข้อมูล แต่ในวัยแรกทำงานนั้น เธอได้อยู่ร่วมกับคณะละครวิทยุของ เพ็ญ ปัญญาพล ศิลปินตลกและเจ้าของคณะละครในสมัยนั้นและได้มีโอกาสบันทึกเพลงก่อนมาร่วมวงกรมโฆษณาการนั้น เมื่อมัณฑนา โมรากุลได้เข้ามาในวงกรมโษณาการนั้น จมื่นมานิตย์นเรศ เกรงว่ามัณฑนา โมรากุลเข้ามาอยู่กับในวงดนตรีที่มีเฉพาะผู้ชายจะเหงา เลยให้ เพ็ญ ปัญญาพลช่วยหานักร้องหญิงมาเป็นเพื่อนมัณฑนา โมรากุล เพ็ญ ปัญญาพลเลยเสนอ รุจี อุทัยกรมา ทำให้รุจีได้เข้ามาในกรมโฆษณาการเมื่อปี พ.ศ. 2483 เนื่องจากรุจีอายุถึงเกณฑ์ รุจีจึงได้รับราชการเลย ต่างจากมัณฑนา (ขณะนั้นอายุ 16 ปี) ที่ต้องเป็นลูกจ้าง แต่รุจีรับราขการได้ไม่นานก็ได้ลาออกไป[3]

จากซ้าย: จุรี โอศิริ, จันทนา โอบายวาทย์, สุปาณี พุกสมบุญ, รุจี อุทัยกร ในวันครบรอบ 20 ปีวงดนตรีสุนทราภรณ์

ด้วยหน้าตาที่สละสวยงามของเธอ รุจีจึงได้ตกเป็นอนุภรรยาของ จอมพลป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น และหลังจากเป็นอนุภรรยาเธอก็ได้ลาออกจากราชการและไม่ได้ปรากฏตัวอีก[4] แต่ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามไม่มีความรังเกียจและหึงหวงรุจีแม้แต่ใดเลย เพราะท่านผู้หญิงละเอียดมองรุจีในสายตาของเธอว่าเป็นเด็กและต่างคนไม่ได้ยุ่งเรื่องเกี่ยวกัน[4]

ในช่วงปี 2493 ถึง ราวปี 2502 เธอได้หวนมาร่วมกับวงดนตรีสุนทราภรณ์เป็นโอกาสบ้าง และได้ขับร้องบางเพลงให้วงดนตรี บุญช่วย กมลวาทิน

คดีลอบทำร้าย[แก้]

เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างรุจี อุทัยกร และจอมพลป. พิบูลสงคราม ทำให้รุจีถูกคุกคามข่มขู่ผ่านโทรศัพท์ให้เลิกความสัมพันธ์กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม[5] ในปี 2486 หม่อมราชวงศ์แฉล้ม ชุมแสงจ้างวานนายยิ่ง แก้วส่งศรีให้ติดต่อนายสว่าง เจริญบุญเกิด เพื่อลอบสังหารรุจี แต่ถูกจับได้ก่อนลงมือ[4] ความสัมพันธ์ระหว่างรุจีและจอมพล ป. จึงได้ยุติลง[5]

เสียชีวิต[แก้]

รุจี อุทัยกรถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 สิริรวมอายุได้ 54 ปี[ต้องการอ้างอิง]

ผลงานเพลง[แก้]

รุจีได้ขับร้องบันทึกเพลงไว้น้อยมาก เนื่องจากเป็นการขับร้องออกอากาศในสมัยสงครามโลก ก่อนที่เธอจะร่วมวงกรมโฆษณาการนั้น เธอได้ขับร้องบันทึกเสียงกับวงดนตรีสากลต่าง ๆ ดังนี้

  • บุญทำกรรมแต่ง (ดนตรีสากล วงอัตตังคนิเคราะห์)
  • กุหลาบร่วง (ผลงาน ครูจำรัส รวยนิรันดร์)
  • ลมรักลมลวง
  • รอความรัก
  • ยามอยู่เดียว คู่กับ สวัสดิ์ ศรีอุทุมพร

เมื่อรุจีได้เข้ามาในวงกรมโฆษณาการหรือวงดนตรีสุนทราภรณ์นั้น เธอมักจะร้องออกอากาศหรืออาจมีแผ่นดิบชั่วคราวของวง ซึ่งมีดังนี้

และผลงานที่รุจีได้สร้างสมัยที่ร่วมวงดนตรีบุญช่วย กมลวาทินนั้น เธอได้มีผลงานดังนี้

  • เดือนเตือนใจ
  • ไฟสุมขอน
  • หวานน้ำคำ
  • หญิงควรสงวนใจ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Facebook". www.facebook.com.
  2. "รุจี อุทัยกร". Pantip.
  3. ลักษณะศิริ, จุไรรัตน์ (2547). เบิกฟ้า มัณฑนา โมรากุล. ชมนาด: จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. p. 51.
  4. 4.0 4.1 4.2 กุวานนท์, จรูญ (2502). ชีวิตรักของจอมพลป. โรงพิมพ์ประเสริฐอักษร: จรูญ กุวานนท์.
  5. 5.0 5.1 ชานันท์ ยอดหงษ์ (2564). หลังบ้านคณะราษฎร : ความรัก ปฏิวัติ และการต่อสู้ของผู้หญิง. กรุงเทพ: มติชน. p. 47. ISBN 978-974-02-1737-4.
  6. สุนทรสนาน, อติพร (2512). ที่ระลึก ๓๐ ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ รวมเพลงอมตะ ๑. 202 ซอยสุจริต 2 พระราม 5 พระนคร: อติพร สุนทรสนาน. p. 753.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)