ริค สแตนตัน
ริค สแตนตัน | |
---|---|
สแตนตันใน ค.ศ. 2008 | |
เกิด | ริชาร์ด วิลเลียม สแตนตัน ค.ศ. 1961 (อายุ 63–64 ปี) เอพพิงฟอเรสต์ เอสเซกซ์ สหราชอาณาจักร |
สัญชาติ | อังกฤษ |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยแอสตัน |
อาชีพ | นักผจญเพลิง |
มีชื่อเสียงจาก | การดำน้ำในถ้ำ, การกู้ภัยถ้ำ |
ริชาร์ด วิลเลียม สแตนตัน, เอ็มบีอี, จีเอ็ม (อังกฤษ: Richard William Stanton; เกิด ค.ศ. 1961)[1] ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม ริค สแตนตัน เป็นนักดำน้ำในถ้ำพลเรือนชาวอังกฤษผู้มีความเชี่ยวชาญในการช่วยเหลือผ่านองค์กรเคฟเรสคิวและสมาคมสำรวจถ้ำอังกฤษ เขาได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "หนึ่งในนักดำน้ำในถ้ำที่มีความชำนาญมากที่สุดในโลก", "โฉมหน้าการดำน้ำในถ้ำของอังกฤษ" และ "นักดำน้ำในถ้ำที่ดีที่สุดในยุโรป" สแตนตันอาศัยอยู่ในคอเวนทรีเป็นเวลาหลายปีและก่อนหน้านี้เป็นนักผจญเพลิงร่วมกับบริการดับเพลิงเวสต์มิดแลนส์เป็นเวลา 25 ปีก่อนที่เขาจะเกษียณ ครั้นใน ค.ศ. 2018 เขามีบทบาทนำในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงและได้รับจอร์จเมดัลในรายชื่อความกล้าหาญภาคพลเรือน
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]สแตนตันเกิดใน ค.ศ. 1961[2] และเติบโตในเขตเอพพิงฟอเรสต์ ที่เอสเซกซ์[3] เขาให้ความสนใจในการดำน้ำในถ้ำกับรายการโทรทัศน์ดิอันเดอร์กราวน์ไอเกอร์ที่เขาดูสมัยวัยรุ่น โดยกล่าวว่า "หลังจากดูรายการนี้แล้ว ผมจึงรู้ว่าการดำน้ำในถ้ำเป็นกิจกรรมสำหรับผม"[4] สแตนตันเรียนที่มหาวิทยาลัยแอสตัน ที่ซึ่งเขาได้เข้าร่วมทั้งสโมสรสำรวจถ้ำและสโมสรดำน้ำ[3] ทั้งนี้ เขาเริ่มเป็นนักดำน้ำที่เรียนรู้ด้วยตนเองที่แม่น้ำลูนในคัมเบรียและแลงคาเชอร์[4]
สแตนตันอาศัยอยู่ในคอเวนทรีเป็นเวลาหลายปี และเคยเป็นนักผจญเพลิงร่วมกับบริการดับเพลิงเวสต์มิดแลนส์มา 25 ปีก่อนที่เขาจะเกษียณ[5]
กิจกรรมสำรวจถ้ำและการช่วยชีวิต
[แก้]การช่วยชีวิต
[แก้]สแตนตันมักจะดำน้ำในถ้ำและดำเนินการช่วยเหลือร่วมกับจอห์น โวลันเธน ผู้เป็นคู่หู ใน ค.ศ. 2004 เขามีส่วนร่วมในการช่วยชีวิตนักสำรวจถ้ำชาวอังกฤษหกคนที่ติดอยู่ในถ้ำแอลปาแซตในประเทศเม็กซิโกเป็นเวลาแปดวัน[6] สแตนตันยังเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่พยายามช่วยเหลือปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำของเอริก เอสตาบลี ในถ้ำดรากูนีเยร์กูด์ใกล้กับลาบาตีด์-เดอ-วีรัก ที่จังหวัดอาร์แด็ชของประเทศฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 2010 ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ[7][8]
ส่วนใน ค.ศ. 2011 สแตนตันได้ช่วยในการกู้ศพอาร์ตูร์ คอสลอฟสกี นักดำน้ำในถ้ำชาวโปแลนด์ จากถ้ำพอลโลโนรา ที่คิลทาร์ทัน ประเทศไอร์แลนด์[9]
ทางการนอร์เวย์ขอให้เขาช่วยกู้ศพนักดำน้ำชาวฟินแลนด์สองคนจากถ้ำยอร์ดบรูโกรตตาใน ค.ศ. 2014 แต่หลังจากดำดิ่งลงไป ณ สถานที่เกิดเหตุแล้ว เขาและเพื่อนร่วมงานของเขารู้สึกว่าการดำเนินการนั้นเสี่ยงเกินไป ซึ่งเขาเคยทำการกู้อื่นที่นั่นใน ค.ศ. 2006[10]
ใน ค.ศ. 2018 เขาได้ช่วยหาทีมฟุตบอลเยาวชนในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง[5][11][12] หลังจากค้นหาและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือทีมรวมถึงโค้ชที่หายไป สแตนตันกล่าวว่าเขาและนักดำน้ำในถ้ำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ใช่วีรบุรุษ โดยกล่าวว่า "เราแค่ใช้ชุดทักษะพิเศษที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งโดยปกติเราใช้เพื่อผลประโยชน์ของเราเอง และบางครั้งเราสามารถใช้สิ่งนั้นเพื่อตอบแทนบางสิ่งแก่ชุมชน"[13]
สถิติ
[แก้]ใน ค.ศ. 2004 สแตนตันและโวลันเธนสร้างสถิติโลกสำหรับการบรรลุความลึกในถ้ำบริติช จากการดำน้ำในถ้ำ 76 ม. (249 ฟุต) ที่ถ้ำวูคีย์โฮล ในซัมเมอร์เซต[14] ส่วนใน ค.ศ. 2010 สแตนตัน, โวลันเธน, เจสัน มัลลินสัน และเรอเน เฮาเบิน สร้างสถิติโลกสำหรับการดำน้ำในถ้ำที่ไกลที่สุด โดยการบรรลุ 8,800 ม. (28,900 ฟุต) ในกลุ่มถ้ำโปโซอาซุล ณ รูดรอนบัลเลย์ ที่ประเทศสเปน[15]
อุปกรณ์
[แก้]สแตนตันเป็นนักดำน้ำด้านเทคนิค โดยพัฒนาอุปกรณ์ดำน้ำของตัวเองให้ได้ผลดี เขาพัฒนาเครื่องผสมอากาศหายใจอัตโนมัติสองหน่วย ซึ่งเทคโนโลยีใหม่นี้เป็น "เครื่องมือในการบรรลุสถิติการดำน้ำลึกในถ้ำของเขาทั่วโลก"[16] มีการดัดแปลงอย่างหนึ่งคือการให้เครื่องผสมอากาศหายใจสวมใส่ด้านข้างของร่างกายร่างกายมากกว่าที่หน้าอกหรือด้านหลัง นี่คือข้อได้เปรียบในการติดตั้งผ่านพื้นที่ขนาดเล็ก เขาสร้างสิ่งที่เป็นต้นแบบการออกแบบของเขาและทดสอบพวกมันในสระว่ายน้ำ ก่อนที่จะใช้พวกมันในถ้ำ[3]
นอกจากนี้ เขายังใช้สกูตเตอร์ใต้น้ำเพื่อดำน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น, เดินทางไกลยิ่งขึ้นในขณะที่ประหยัดพลังงานและอุปกรณ์ออกซิเจน[17]
หนังสือ
[แก้]- อความนอต: อะไลฟ์บินีธเดอะเซอร์เฟซ - เดอะอินไซด์สตอรีออฟเดอะไทยเคฟเรสคิว (อังกฤษ: Aquanaut: A Life Beneath the Surface - The Inside Story of the Thai Cave Rescue.) ค.ศ. 2021. ไมเคิล โจเซฟ ISBN 978-0241421260[18][19]
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]สแตนตันได้รับการเรียกว่า "หนึ่งในนักดำน้ำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก",[4] "โฉมหน้าการดำน้ำในถ้ำของอังกฤษ"[20] และ "นักดำน้ำในถ้ำที่ดีที่สุดในยุโรป"[20]
ใน ค.ศ. 2008 สแตนตันได้รับ "รางวัลนักดำน้ำแห่งการประชุม" ของยูโรเทคสำหรับ "การมีส่วนร่วมสำคัญในการดำน้ำขั้นสูงและเชิงเทคนิค"[21] ความพยายามในการช่วยเหลือนักดำน้ำของสแตนตันในถ้ำฝรั่งเศส และความช่วยเหลือในการระบุตำแหน่งของร่างของนักดำน้ำคนนั้น ทำให้เขาได้รับเหรียญทองแดงจากราชสมาคมส่งเสริมการมีมนุษยธรรมใน ค.ศ. 2012[22]
สแตนตันยังได้รับรางวัล 'วีรบุรุษแห่งปี' ที่งานแอสไปร์อะวอดส์ของหน่วยงานดับเพลิงเวสต์มิดแลนด์[23]
สแตนตันได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช (MBE) ในเกียรติยศเนื่องในวันปีใหม่ 2013 "สำหรับบริการแก่ราชการส่วนท้องถิ่น"[5][24]
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 สแตนตันและสมาชิกทีมกู้ภัยถ้ำชาวอังกฤษอีกห้าคนได้รับไพรด์ออฟบริเตนอะวอร์ดประจำ ค.ศ. 2018 สำหรับ "ความกล้าหาญที่โดดเด่น" สำหรับเหตุการณ์ถ้ำหลวง โดยเด็กที่ได้รับการช่วยเหลือได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลที่ลอนดอน[25] เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2018 มีการประกาศว่าสแตนตันและโวลันเธนจะได้รับพระราชทานจอร์จเมดัลในเกียรติยศเนื่องในวันปีใหม่ 2019 สำหรับบทบาทของพวกเขาที่ถ้ำหลวง[26][27] ส่วนสมาชิกอีกสามคนในทีมของพวกเขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช และอีกสองคนได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญของพระราชินี[27]
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 นักสำรวจชื่อมาร์ก วูด ประธานชมรมนักสำรวจบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ได้มอบเหรียญสาขาของสมาคมแก่สแตนตันเพื่อเป็นเกียรติแก่บทบาทของเขาในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ที่ประเทศไทยเมื่อ ค.ศ. 2018[28]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[29]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]สแตนตันอาศัยอยู่ในคอเวนทรี[30][31]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nick Allen; Francesca Marshall; Victoria Ward (4 July 2018). "Thailand cave rescue: Meet the 'A-Team' of heroic volunteer British divers who led search". The Telegraph. Telegraph Media Group Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-30. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "Stanton, Rick, MBE". Diving Almanac Book of Records. 5 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-17. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Hanwell, J.; Price, D.; Witcombe, R. (2010). Wookey Hole: 75 Years of Cave Diving & Exploration (PDF). Cave Diving Group. ISBN 0901031070.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Rick Stanton". Divernet. October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Thailand cave rescue: The Brits who helped find the boys". BBC News. BBC. 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
- ↑ "Military cavers rescued by Royal Navy in 'gentle' trip that became PR disaster". The Telegraph. Telegraph Media Group Limited. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
- ↑ "South and Mid Wales experts join Ardeche cave rescue". BBC News. BBC. 11 October 2010. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
- ↑ "Cave explorer found dead after dramatic eight-day search". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2010-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
- ↑ Siggins, Lorna (12 September 2011). "British rescue team recovers body of missing cave diver". The Irish Times. The Irish Times. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ Kremer, William (9 May 2016). "The cave divers who went back for their friends". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
World-renowned for his rescue and recovery work in caves, Stanton had a feeling he would be asked to travel to Plurdalen to retrieve the bodies - he had done a recovery there in 2006 - and had already started to find out what he could.
- ↑ "British divers Richard Stanton and John Volanthen at the heart of the Thai cave rescue". 4 July 2018. สืบค้นเมื่อ 22 July 2018 – โดยทาง www.thetimes.co.uk.
- ↑ "Meet the British 'A-team' divers at the center of Thailand cave rescue". Washington Post. 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
- ↑ "British divers insist they are not heroes after Thai cave rescue". The Irish Times. The Irish Times. 13 July 2018. สืบค้นเมื่อ 14 July 2018.
- ↑ "Thailand cave rescue: 'Best of the best' enlisted to find boys and coach". nzherald.co.nz. NZME. 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "Records and Aquatic Superlatives". Diving Almanac. Diving Almanac & Book of Records. 3 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-11. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "TEKCAMP LUMINARIES". TEKCAMP. Vobster Diving Ltd. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ Rider, Helen (October 2006). "FRENCH LEAVE". Divernet. Genius CMS Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-05. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ Tham Luang cave rescue: the extraordinary story of how the boys were saved
- ↑ "THE ENTHRALLING INSIDE STORY OF THE THAI CAVE RESCUE NOW CHRONICLED IN NATIONAL GEOGRAPHIC HIT DOCUMENTARY THE RESCUE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-11.
- ↑ 20.0 20.1 Roy, Eleanor Ainge (2 July 2018). "British divers at heart of Thai cave rescue among best in world". The Guardian. Guardian News and Media Limited. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ Gallant, Jeffrey (20 November 2017). "Awards Hall of Fame". Diving Almanac. Diving Almanac & Book of Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ Royal Humane Society (2012). Annual Report 2012 (PDF) (Report). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-26. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "Coventry fireman is made MBE in New Year Honours". Coventry Telegraph. 29 December 2012. สืบค้นเมื่อ 6 November 2018.
- ↑ "No. 60367". The London Gazette (1st supplement). 28 December 2012. p. 22.
- ↑ "Displaying items by tag: 2018 - Pride of Britain Awards" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Pride of Britain. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-12. สืบค้นเมื่อ 6 November 2018.
- ↑ Rosemary E Lunn 7 Medals and a Cave Dive - New Year's Honour Awards for the Thai Rescuers เก็บถาวร 2018-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน X-Ray Magazine
- ↑ 27.0 27.1 "Honours for Thai cave rescue divers". BBC News. 28 December 2018.
- ↑ Rosemary E Lunn Rick Stanton presented with Explorers Club 'Chapter Coin' X-Ray Magazine
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา (21 March 2019). "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2019-03-22.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Coventry diver Rick Stanton honoured over Thai cave rescue". BBC News. 4 September 2018.
- ↑ "Heroism of Thai cave rescuer Rick Stanton to be recognised". 3 August 2018.