รายชื่อเครื่องยนต์โตโยต้า
เครื่องยนต์โตโยต้า ผลิตโดยโตโยต้ามอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก ผลิตเครื่องยนต์หลายรุ่นที่ใช้สำหรับรถยนต์ รถยก (ForkLift) และอื่นๆ เช่นรถใช้ในราชการทหาร ทั้งผลิตเองและร่วมกันผลิตกับผู้ผลิตเครื่องยนต์และรถยนต์ อย่าง ฮีโน่ และ ไดฮัทสุ ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 (ค.ศ.1935)
รหัสเครื่องยนต์นั้นช่วงเริ่มต้น ใช้ตัวอักษรตัวเดียวระบุรุ่น ต่อมาได้เริ่มใช้ตัวเลขสองสำหรับรุ่นถัดไปของเครื่องยนต์ในแบบนั้นๆ จนถึง พ.ศ. 2521 จึงเริ่มใช้ตัวเลขหนึ่งเป็นตัวระบุเครื่องยนต์รุ่นแรกของเครื่องยนต์ในแบบนั้น และเปลี่ยนเป็นตัวเลขพร้อมตัวอักษรอีกสองตัวเมื่อ พ.ศ. 2530
ระบบเปิด-ปิดลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียที่ใช้ในเครื่องยนต์โตโยต้า
[แก้]- OHV หรือ Over Head Valve ใช้ลิ้นปิด-เปิดไอดีและไอเสียไว้บนหัวลูกสูบใช้แรงขับจากโซ่ที่ติดตั้งไว้กับเพลาข้อเหวี่ยงหมุนตัวดันก้านข้างเครื่องยนต์แล้วจึงดันกระเดื่องลิ้นเปิดและปิดไอดีและไอเสีย
- SOHC หรือ Single Over Head Cam Shaft คล้าย OHV แตกต่างที่การใช้เพลาราวลิ้นเดี่ยวเป็นตัวเปิดปิดลิ้นไอดีและไอเสียอยู่บนหัวลูกสูบใช้แรงขับจากสายพานราวลิ้นที่ติดตั้งไว้บริเวณเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ (Timing Belt)
- DOHC หรือ Double Over Head Cam Shaft ใช้หลักการเดียวกับ SOHC แต่เพิ่มเพลาราวลิ้นมาอีกหนึ่งตัวเป็นเพลาราวลิ้นคู่[1]
คำอธิบายตัวอักษรในรหัสเครื่องยนต์ของโตโยต้า
[แก้]แต่เดิมรหัสเครื่องยนต์ของโตโยต้า ถูกจัดเรียงมาให้อ่านและเข้าใจได้อย่างง่ายดาย
- ตำแหน่งที่หนึ่งที่แสดงอยู่บนรหัสเครื่องยนต์ ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลข หมายถึง รุ่นของเครื่องยนต์ตระกูลนั้นๆ (ในเครื่องยนต์รุ่นเก่าบางรุ่นไม่มีเลขบอกรุ่นเครื่องยนต์)
- ตำแหน่งที่สองที่แสดงอยู่บนรหัสเครื่องยนต์ จะเป็นตัวอักษรหนึ่งหรือสองตัว หมายถึง ตระกูลของเครื่องยนต์
- ตำแหน่งสุดท้ายที่แสดงอยู่บนรหัสเครื่องยนต์ จะอยู่หลังสัญลักษณ์ "-" ส่วนใหญ่จะแสดงเป็นชุด มีตั้งแต่หนึ่งถึงสามตัว หมายถึง รายละเอียดย่อยของเครื่องยนต์รุ่นนั้นๆ (ในกรณีเครื่องยนต์รุ่นเก่า อาจจะยังไม่มีหรือมีความหมายที่ต่างจากปัจจุบัน) ความหมายของตัวอักษรตำแหน่งที่สามสามารถเทียบได้ตากตารางข้างล่างนี้
ตัวอักษร | ความหมาย |
---|---|
A | วาล์วเมติก (Valvematic) - วาล์วไอดีเป็นแบบแปรผันระยะกดวาล์วได้ |
B | ก่อนปี 2000 หมายถึง ใช้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบ คาร์บูเรเตอร์คู่ (ดูดอากาศแนวนอน) หลังปี 2000 หมายถึง รองรับน้ำมัน E85 |
C | ใช้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบ คาร์บูเรเตอร์ ในเครื่องยนต์บางรุ่นหมายถึง ผ่านมาตรฐานควบคุมไอเสียของรัฐแคลิฟอร์เนีย |
D | ในอดีต หมายถึง ใช้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบ คาร์บูเรเตอร์คู่ (ดูดอากาศแนวตั้ง) ในปัจจุบัน หมายถึง เครื่องยนต์ โตโยต้า ที่ใช้ในรถยนต์ ไดฮัทสุ ที่ไม่มีระบบ VVT-i |
E | จ่ายเชื้อเพลิงด้วยระบบ หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์แบบหลายรู (Multi-points EFi) |
F | เครื่องยนต์ที่มีองศาวาล์วแคบ ถูกออกแบบมาเพื่อเน้นประหยัดน้ำมัน (ใช้สำหรับเครื่องยนต์ที่มีเพลาราวลิ้นคู่เหนือฝาสูบ หรือ DOHC) |
G | เครื่องยนต์ที่มีองศาวาล์วกว้าง ถูกออกแบบมาเพื่อเน้นสมรรณนะ (ใช้สำหรับเครื่องยนต์ที่มีเพลาราวลิ้นคู่เหนือฝาสูบ หรือ DOHC) |
H | ในเครื่องยนต์ที่ไม่มีระบบอัดอากาศ หมายถึง มีแรงอัดในกระบอกสูบสูงกว่าปกติ ในเครื่องยนต์ที่มีระบบอัดอากาศ หมายถึง มีแรงอัดจากระบบอัดอากาศมากกว่าปกติ |
I | จ่ายเชื้อเพลิงด้วยระบบ หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์แบบรูเดี่ยว (Single-point EFi) |
J | ในอดีต หมายถึง มีระบบโช๊คอัตโนมัติ ในเครื่องยนต์บางรุ่นหมายถึง ผ่านมาตรฐานควบคุมมลพิษ |
K | เครื่องยนต์แบบ วัฏจักรแอ็ทคินสัน (Atkinson cycle) ที่ไม่มีระบบไฮบริด (เครื่องยนต์ที่มีระบบไฮบิดทุกรุ่นของโตโยต้า เป็นเครื่องยนต์แบบวัฏจักรแอ็ทคินสันทั้งหมด) |
L | เครื่องยนต์สำหรับวางในแนวขวางกับตัวรถ |
M | ไม่ทราบความหมาย แต่จะพบได้ในเครื่องยนต์สเป็คฟิลิปปินส์เท่านั้น |
N | ออกแบบมาสำหรับใช้เชื้อเพลิง CNG |
P | ออกแบบมาสำหรับใช้เชื้อเพลิง LPG |
R | เครื่องยนต์ที่มีแรงอัดในกระบอกสูบต่ำกว่าปกติ (เหมาะสำหรับเชื้อเพลิงที่มีค่าออกเทนต่ำกว่า 87) |
S | ในอดีต หมายถึง มีระบบจ่ายไอดีแบบหมุนวน ในปัจจุบัน หมายถึง จ่ายเชื้อเพลิงด้วยระบบฉีดตรง โตโยต้าเรียกว่า "D-4" (สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน) |
T | ใช้ระบบอัดอากาศแบบ เทอร์โบชาร์จเจอร์ |
U | มีระบบบำบัดไอเสีย สำหรับสเป็คญี่ปุ่นเท่านั้น |
V | จ่ายเชื้อเพลิงด้วยระบบรางร่วม+ฉีดตรง โตโยต้าเรียกว่า "D-4D" (สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเท่านั้น) เครื่องยนต์โตโยต้าที่ใช้ในรถไดฮัสทุที่มีระบบ VVT-i |
X | ทำงานร่วมกับระบบไฮบิด และเป็นเครื่องยนต์แบบ วัฏจักรแอ็ทคินสัน |
Z | ใช้ระบบอัดอากาศแบบ ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ |
ตัวอย่าง
- 2NR-FE
- 2NR – เครื่องยนต์รุ่นที่ 2 ในตระกูล NR (2 เป็นตำแหน่งแรก ส่วน NR เป็นตระกูลเครื่องยนต์อยู่ตำแหน่งสอง)
- F – ขับวาล์วด้วยเพลาราวลิ้นคู่เหนือฝาสูบ แบบเน้นประหยัดน้ำมัน
- E – จ่ายเชื้อเพลิงด้วยระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์แบบหลายรู
- 2NR – เครื่องยนต์รุ่นที่ 2 ในตระกูล NR (2 เป็นตำแหน่งแรก ส่วน NR เป็นตระกูลเครื่องยนต์อยู่ตำแหน่งสอง)
- 1ND-TV
- 1ND – เครื่องยนต์รุ่นที่ 1 ในตระกูล ND
- T – มีเทอร์โบชาร์จเจอร์
- V – ใช้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบ D-4D
- 1ND – เครื่องยนต์รุ่นที่ 1 ในตระกูล ND
รหัส "G" ถูกใช้ครั้งแรกในปี 1971 โดยโตโยต้าตัดสินใจเปลี่ยนรหัสเครื่องยนต์จาก 10R มาใช้ 8R-G แทน.[2] เพราะฉะนั้น 10R เป็นเครื่องยนต์เพลาราวลิ้นคู่รุ่นเดียวของโตโยต้าที่ไม่มีรหัส "G" ต่อท้าย
ยุค 1930
[แก้]- เครื่องยนต์ A รุ่นที่ 1 (First Generation Model A) ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 6 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว ขนาดความจุกระบอกสูบ 3389 ซีซี (3.4 ลิตร) จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2478 - กรกฎาคม พ.ศ. 2490
- เครื่องยนต์ B รุ่นที่ 1 (First Generation Model B) ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 6 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว ขนาดความจุกระบอกสูบ 3386 ซีซี (3.4 ลิตร) จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ไม่ปรากฏปีที่เลิกผลิตหรือจำหน่าย
ยุค 1940
[แก้]- เครื่องยนต์ C รุ่นที่ 1 (First Generation Model C) ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว ขนาดความจุกระบอกสูบ 2258 ซีซี (2.3 ลิตร) จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนมกราคม พ.ศ. 2483 ไม่ทราบปีที่เลิกผลิตหรือจำหน่าย
- เครื่องยนต์ S รุ่นที่ 1 (First Generation Model S)ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบ แถวเรียง ลิ้นเปิด-ปิด ไอดีและไอเสียอยู่ด้านข้างลูกสูบ ระบายความร้อนด้วยของเหลว ปริมาตรความจุ 995 ซีซี (1.0 ลิตร) จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นสำหรับรถยนต์และรถยก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2490 ไม่ทราบปีที่เลิกผลิตหรือจำหน่าย
- เครื่องยนต์ F ใช้เชื้อเพลิงเบนซินและ แก๊สปิโตรเลียมเหลว6 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว เครื่องยนต์แบบ F ได้ผลิตออกมาทั้งหมดสี่รุ่น เริ่มจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนตุลาคม พ.ศ. 2492 ปัจจุบันยังคงทำการผลิตสำหรับรถยก
- รุ่น F ปริมาตรความจุ 3878 ซีซี (3.9 ลิตร)
- รุ่น 2F ปริมาตรความจุ 4230 ซีซี (4.2 ลิตร)
- รุ่น 3F ปริมาตรความจุ 3956 ซีซี (4.0 ลิตร)
ยุค 1950
[แก้]- เครื่องยนต์ R ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน และแก๊สปิโตรเลียมเหลว 4 สูบแถวเรียง OHV,SOHC และ DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว ผลิตออกมาทั้งหมด 17 รุ่น สำหรับรถยนต์และรถยก เริ่มจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเดือนกันยายน พ.ศ. 2496 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 รุ่นสำหรับรถยกไม่ทราบปีที่เลิกผลิตหรือจำหน่าย
- รุ่น R ปริมาตรความจุ 1453 ซีซี (1.5 ลิตร)
- รุ่น 2R ปริมาตรความจุ 1490 ซีซี (1.5 ลิตร)
- รุ่น 3R ปริมาตรความจุ 1897 ซีซี (1.9 ลิตร)
- รุ่น 4R ปริมาตรความจุ 1587 ซีซี (1.6 ลิตร)
- รุ่น 5R ปริมาตรความจุ 1994 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 6R ปริมาตรความจุ 1707 ซีซี (1.7 ลิตร)
- รุ่น 7R ปริมาตรความจุ 1591 ซีซี (1.6 ลิตร)
- รุ่น 8R ปริมาตรความจุ 1858 ซีซี (1.9 ลิตร)
- รุ่น 9R ปริมาตรความจุ 1587 ซีซี (1.6 ลิตร)
- รุ่น 10R หรือ รุ่น 8R-G ปริมาตรความจุ 1858ซีซี (1.9 ลิตร)
- รุ่น 12R ปริมาตรความจุ 1587 ซีซี (1.6 ลิตร)
- รุ่น 16R ปริมาตรความจุ 1808 ซีซี (1.8 ลิตร)
- รุ่น 18R ปริมาตรความจุ 1968 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 19R ปริมาตรความจุ 1968 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 20R ปริมาตรความจุ 2189 ซีซี (2.2 ลิตร)
- รุ่น 21R ปริมาตรความจุ 1972 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 22R ปริมาตรความจุ 2366 ซีซี (2.4 ลิตร)
- เครื่องยนต์ D ใช้เชื้อเพลิงดีเซล 6 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนมีนาคม พ.ศ. 2500 ผลิตออกมาทั้งหมด 2 รุ่น ปัจจุบันผลิตเป็นการเฉพาะและอยู่ระหว่างการตัดสินใจจะผลิตต่อหรือไม่
- รุ่น D ปริมาตรความจุ 5890 ซีซี (5.9 ลิตร)
- รุ่น 2D ปริมาตรความจุ 6494 ซีซี (6.5 ลิตร)
- เครื่องยนต์ P ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว สำหรับรถยนต์และรถยกจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนตุลาคม พ.ศ. 2502 ผลิตออกมาทั้งหมด 4 รุ่น ไม่ทราบปีที่เลิกผลิตหรือจำหน่าย
- รุ่น P ปริมาตรความจุ 997 ซีซี (1.0 ลิตร)
- รุ่น 2P ขนาดความจุ 1198 ซีซี (1.2ลิตร)
- รุ่น 3P ขนาดความจุ 1345 ซีซี (1.3 ลิตร)
- รุ่น 4P ขนาดความจุ 1.5 ลิตร
- เครื่องยนต์ C ยุคที่สอง (Second Generation Model C) ใช้เชื้อเพลิงดีเซล4 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว สำหรับรถยนต์จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนตุลาคม พ.ศ. 2502 ไม่ทราบปีที่เลิกผลิตหรือจำหน่าย
- รุ่น C ปริมาตรความจุ 1491 ซีซี (1.5 ลิตร)
ยุค 1960
[แก้]- เครื่องยนต์ U ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 2 สูบแนวราบหรือแนวนอน (Boxer 2 (รุ่น 4U จะมี 4 สูบ)OHV,DOHC ระบายความร้อนด้วยอากาศ (ยกเว้นรุ่น 4U ที่ระบายความร้อนด้วยของเหลว) สำหรับรถยนต์จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2504 ถึง ปัจจุบันผลิตออกมาทั้งหมด 2 รุ่น
- รุ่น U ปริมาตรความจุ 697 ซีซี (0.7 ลิตร)
- รุ่น 2U ปริมาตรความจุ 790 ซีซี (0.8 ลิตร)
- รุ่น 4U ปริมาตรความจุ 1,998 ซีซี (2.0ลิตร)
- เครื่องยนต์ J ใช้เชื้อเพลิง ดีเซล 4 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว สำหรับรถยนต์และรถยกจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนมีนาคม พ.ศ. 2507 ไม่ทราบปีที่เลิกผลิตหรือจำหน่าย ผลิตออกมาทั้งหมด 2 รุ่น
- รุ่น J ปริมาตรความจุ 2336 ซีซี (2.3 ลิตร)
- รุ่น 2J ปริมาตรความจุ 2481 ซีซี (2.5 ลิตร)
- เครื่องยนต์ V ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 8 สูบวี8 (V8) OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว สำหรับรถยนต์จำหน่ายในญี่ปุ่น เดือนเมษายน พ.ศ. 2507 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2540 ผลิตทั้งหมด 4 รุ่น
- รุ่น V ปริมาตรความจุ 2599 ซีซี (2.6 ลิตร)
- รุ่น 3V ปริมาตรความจุ 2981 ซีซี (3.0 ลิตร)
- รุ่น 4V ปริมาตรความจุ 3376 ซีซี (3.4 ลิตร)
- รุ่น 5V ปริมาตรความจุ 3995 ซีซี (4.0 ลิตร)
- เครื่องยนต์ M ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน และ แก๊สปิโตรเลียมเหลว 6 สูบแถวเรียง SOHC และ DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว สำหรับรถยนต์จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 ผลิตออกมาทั้งหมด 7 รุ่น
- รุ่น M ปริมาตรความจุ 1988 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 2M ปริมาตรความจุ 2253 ซีซี (2.3ลิตร)
- รุ่น 3M ปริมาตรความจุ 1988 ซีซี (2.0ลิตร)
- รุ่น 4M ปริมาตรความจุ 2563 ซีซี (2.6ลิตร)
- รุ่น 5M ปริมาตรความจุ 2759 ซีซี (2.8 ลิตร)
- รุ่น 6M ปริมาตรความจุ 2954 ซีซี (3.0ลิตร)
- รุ่น 7M ปริมาตรความจุ 2954 ซีซี (3.0ลิตร)
- เครื่องยนต์ K ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว สำหรับรถยนต์และรถยกจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2509 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 ผลิตออกมาทั้งหมด 6 รุ่น ปัจจุบันผลิตเพื่อติดตั้งกับรถยก
- รุ่น K ปริมาตรความจุ 1077 ซีซี (1.1 ลิตร)
- รุ่น 2K ปริมาตรความจุ 996 ซีซี (1.0ลิตร)
- รุ่น 3K ปริมาตรความจุ 1166 ซีซี (1.2ลิตร)
- รุ่น 4K ปริมาตรความจุ 1290 ซีซี (1.3ลิตร)
- รุ่น 5K ปริมาตรความจุ 1496 ซีซี (1.5ลิตร)
- รุ่น 7K ขนาดความจุ 1781 ซีซี (1.8 ลิตร)
- เครื่องยนต์ G ยุคที่ 1 ผลิตโดย บริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ จำกัด ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว ขนาดความจุ 1251ซีซี (1.3 ลิตร) จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนเมษายน พ.ศ. 2510 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2511
- เครื่องยนต์ H ใช้เชื้อเพลิงดีเซล 6 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2510 โดยใช้กับรถยก ส่วนรถยนต์เริ่มจำหน่ายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2511 รุ่นสำหรับรถยกอยู่ระหว่างตัดสินว่าจะผลิตต่อหรือไม่ ผลิตออกมาทั้งหมด 3 รุ่น
- รุ่น H ปริมาตรความจุ 3576 ซีซี (3.6 ลิตร)
- รุ่น 2H ปริมาตรความจุ 3980 ซีซี (4.0 ลิตร)
- รุ่น 12H ปริมาตรความจุ 3980 ซีซี (4.0 ลิตร)
- เครื่องยนต์ B ยุคที่ 2 (Second generation Model B)ผลิตร่วมกับ บริษัท ไดฮัทสุ ใช้เชื้อเพลิงดีเซล และ แก๊สธรรมชาติอัด 4 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว ผลิตสำหรับรถยนต์และรถอื่นๆจำหน่ายในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ถึงปัจจุบันยังทำการผลิตอยู่ ผลิตออกมาทั้งหมด 9 รุ่น
- รุ่น B ปริมาตรความจุ 2997 ซีซี (3.0 ลิตร)
- รุ่น 2B ปริมาตรความจุ 3168 ซีซี (3.2 ลิตร)
- รุ่น 3B ปริมาตรความจุ 3431 ซีซี (3.4 ลิตร)
- รุ่น 4B ปริมาตรความจุ 3.7 ลิตร
- รุ่น 5B ปริมาตรความจุ 4.1 ลิตร
- รุ่น 11B ปริมาตรความจุ 2977 ซีซี (3.0ลิตร)
- รุ่น 13B ปริมาตรความจุ 3431 ซีซี (3.4ลิตร)
- รุ่น 14B ปริมาตรความจุ 3660 ซีซี (3.7ลิตร)
- รุ่น 15B ปริมาตรความจุ 4104 ซีซี (4.1ลิตร)
ยุค 1970
[แก้]- เครื่องยนต์ T ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบแถวเรียง OHV,SOHC และ DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนตุลาคม พ.ศ. 2513 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2528 ผลิตออกมาทั้งหมด 6 รุ่น
- รุ่น T ปริมาตรความจุ 1407 ซีซี (1.4 ลิตร)
- รุ่น 2T ปริมาตรความจุ 1588 ซีซี (1.6 ลิตร)
- รุ่น 3T ปริมาตรความจุ 1770 ซีซี (1.8 ลิตร)
- รุ่น 4T ปริมาตรความจุ 1800 ซีซี (1.8 ลิตร)
- รุ่น 12T ปริมาตรความจุ 1600 ซีซี (1.6 ลิตร)
- รุ่น 13T ปริมาตรความจุ 1770 ซีซี (1.8 ลิตร)
- เครื่องยนต์ L ใช้เชื้อเพลิงดีเซล 4 สูบแถวเรียง SOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนตุลาคม พ.ศ. 2520 ไม่ปรากฏปีที่เลิกผลิตหรือจำหน่าย ผลิตออกมาทั้งหมด 4 รุ่น
- รุ่น L ปริมาตรความจุ 2188 ซีซี (2.2 ลิตร)
- รุ่น 2L ปริมาตรความจุ 2446 ซีซี (2.4 ลิตร)
- รุ่น 3L ปริมาตรความจุ 2779 ซีซี (2.8 ลิตร)
- รุ่น 5L ปริมาตรความจุ 2986 ซีซี (3.0ลิตร)
- เครื่องยนต์ A ยุคที่สอง (Second Ganerration Model A)ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบแถวเรียง SOHC และ DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2521 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 ผลิตออกมาทั้งหมด 8 รุ่น
- รุ่น 1A ปริมาตรความจุ 1452 ซีซี (1.5 ลิตร)
- รุ่น 2A ปริมาตรความจุ 1295 ซีซี (1.3ลิตร)
- รุ่น 3A ปริมาตรความจุ 1452 ซีซี (1.5ลิตร)
- รุ่น 4A ปริมาตรความจุ 1587 ซีซี (1.6ลิตร)
- รุ่น 5A ปริมาตรความจุ 1498 ซีซี (1.5ลิตร)
- รุ่น 6A ปริมาตรความจุ 1397 ซีซี (1.4 ลิตร) จำหน่ายเฉพาะในประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2535
- รุ่น 7A ปริมาตรความจุ 1762 ซีซี (1.8ลิตร)
- รุ่น 8A ปริมาตรความจุ 1342 ซีซี (1.3ลิตร)
ยุค 1980
[แก้]- เครื่องยนต์ G ยุคที่สอง ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน และ แก๊สปิโตรเลียมเหลว 6 สูบแถวเรียง SOHC และ DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนมีนาคม พ.ศ. 2523 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2551 ผลิตออกมารุ่นเดียว
- รุ่น 1G ปริมาตรความจุ 1988 ซีซี (2.0 ลิตร)
- เครื่องยนต์ S ยุคที่สอง (Second Ganeration Model S) ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 ลูกสูบ แถวเรียง SOHC และ DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2524 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ผลิตออกมาทั้งหมด 5 รุ่น
- รุ่น 1S ปริมาตรความจุ 1832 ซีซี (1.8ลิตร)
- รุ่น 2S ปริมาตรความจุ 1995 ซีซี (2.0ลิตร)
- รุ่น 3S ปริมาตรความจุ 1998 ซีซี (2.0ลิตร)
- รุ่น 4S ปริมาตรความจุ 1838 ซีซี (1.8ลิตร)
- รุ่น 5S ปริมาตรความจุ 2163 ซีซี (2.2ลิตร)
- เครื่องยนต์ C ยุคที่สาม (Third Generation Model C)ใช้เชื้อเพลิงดีเซล 4 สูบแถวเรียง SOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนมกราคม พ.ศ. 2525 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 ผลิตออกมาทั้งหมด 3 รุ่น
- รุ่น 1C ปริมาตรความจุ 1839 ซีซี (1.8ลิตร)
- รุ่น 2C ปริมาตรความจุ 1974 ซีซี (2.0ลิตร)
- รุ่น 3C ปริมาตรความจุ 2184 ซีซี (2.0ลิตร)
- เครื่องยนต์ Y ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน แก๊สปิโตรเลียมเหลว 4 สูบแถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2525 ถึงปัจจุบันยังคงผลิตและจำหน่ายสำหรับรถยกผลิตออกมาทั้งหมด 5 รุ่น
- รุ่น 1Y ปริมาตรความจุ 1626 ซีซี (1.6 ลิตร)
- รุ่น 2Y ปริมาตรความจุ 1812 ซีซี (1.8 ลิตร)
- รุ่น 3Y ปริมาตรความจุ 1998 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 4Y ปริมาตรความจุ 2237 ซีซี (2.2 ลิตร)
- รุ่น 5Y ไม่มีข้อมูล
- เครื่องยนต์ W ใช้เชื้อเพลิงดีเซล 4 สูบ แถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว ผลิตโดย บริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ จำกัด จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนเมษายน พ.ศ. 2526 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2538
- รุ่น 1W ปริมาตรความจุ 4009 ซีซี (4.0 ลิตร)
- เครื่องยนต์ E ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบ แถวเรียง SOHCและ DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนตุลาคม พ.ศ. 2527 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 ผลิตออกมาทั้งหมด 5 รุ่น
- รุ่น 1E ปริมาตรความจุ 999 ซีซี (1.0 ลิตร)
- รุ่น 2E ปริมาตรความจุ 1295 ซีซี (1.3 ลิตร)
- รุ่น 3E ปริมาตรความจุ 1457 ซีซี (1.5 ลิตร)
- รุ่น 4E ปริมาตรความจุ 1331 ซีซี (1.3 ลิตร)
- รุ่น 5E ปริมาตรความจุ 1496 ซีซี (1.5 ลิตร)
- เครื่องยนต์ N ใช้เชื้อเพลิงดีเซล 4 สูบ แถวเรียง SOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2529 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542
- รุ่น 1N ขนาดความจุ 1453ซีซี (1.5 ลิตร)
- เครื่องยนต์ Z ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ผลิตสำหรับรถยก ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2529 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะผลิตต่อหรือไม่ ผลิตออกมาทั้งหมด 5 รุ่น
- รุ่น 1Z 4 สูบ ปริมาตรความจุ 2953 ซีซี (3.0 ลิตร) กระบอกสูบ 96 mm ช่วงชัก 102 mm
- รุ่น 2Z 4 สูบ ปริมาตรความจุ 3469 ซีซี (3.5 ลิตร) กระบอกสูบ 98 mm ช่วงชัก 115 mm
- รุ่น 3Z 4 สูบ ปริมาตรความจุ 3469 ซีซี (3.5 ลิตร)[3]
- รุ่น 11Z 6 สูบ ปริมาตรความจุ 4429 ซีซี (4.5 ลิตร) กระบอกสูบ 96 mm ช่วงชัก 102 mm
- รุ่น 13Z 6 สูบ ปริมาตรความจุ 4616 ซีซี (4.6 ลิตร)
- รุ่น 14Z ปริมาตรความจุ 5.2 ลิตร
- เครื่องยนต์ VZใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 6 สูบ V6 SOHC และ DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือน พ.ศ. 2530 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2549 ผลิตออกมาทั้งหมด 5 รุ่น
- รุ่น 1VZ ปริมาตรความจุ 1992 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 2VZ ปริมาตรความจุ 2507 ซีซี (2.5 ลิตร)
- รุ่น 3VZ ปริมาตรความจุ 2958 ซีซี (3.0 ลิตร)
- รุ่น 4VZ ปริมาตรความจุ 2496 ซีซี (2.5 ลิตร)
- รุ่น 5VZ ปริมาตรความจุ 3378 ซีซี (3.4 ลิตร)
- เครื่องยนต์ UZ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 8 สูบ V8 DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2532 ปัจจุบันยังผลิตอยู่ ผลิตออกมาทั้งหมด 3 รุ่น
- รุ่น 1UZ ปริมาตรความจุ 3969 ซีซี (4.0 ลิตร)
- รุ่น 2UZ ปริมาตรความจุ 4633 ซีซี (4.6 ลิตร)
- รุ่น 3UZ ปริมาตรความจุ 4292 ซีซี (4.3 ลิตร)
- เครื่องยนต์ RZ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน และ แก๊สปิโตรเลียมเหลว 4 สูบ แถวเรียง SOHC และ DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2532 ผลิตออกมาทั้งหมด 3 รุ่น
- รุ่น 1RZ ปริมาตรความจุ 1998 ซีซี
- รุ่น 2RZ ปริมาตรความจุ 2438 ซีซี (2.4 ลิตร)
- รุ่น 3RZ ขนาดความจุ 2693 ซีซี (2.4 ลิตร)
- เครื่องยนต์ HZ ใช้เชื้อเพลิงดีเซล 6 สูบ แถวเรียง SOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 ผลิตออกมารุ่นเดียว ไม่ทราบปีที่เลิกผลิตหรือจำหน่าย
- รุ่น 1HZ ขนาดความจุ 4163 ซีซี (4.2 ลิตร)
- เครื่องยนต์ HD ใช้เชื้อเพลิงดีเซล 6 สูบ แถวเรียง SOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 ผลิตออกมารุ่นเดียว ไม่ทราบปีที่เลิกผลิต
- รุ่น 1HD ขนาดความจุ 4163 ซีซี (4.2 ลิตร)
ยุค 1990
[แก้]- เครื่องยนต์ PZ ใช้เชื้อเพลิงดีเซล 6 สูบ แถวเรียง SOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนมกราคม พ.ศ. 2533 ผลิตออกมารุ่นเดียว ไม่ทราบปีที่เลิกผลิต
- รุ่น 1PZ ปริมาตรความจุ 3469 ซีซี (3.5 ลิตร)
- เครื่องยนต์ TZ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2543 ผลิตออกมารุ่นเดียว
- รุ่น 2TZ ปริมาตรความจุ 2438 ซีซี (2.4 ลิตร)
- เครื่องยนต์ JZ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 6 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 ผลิตออกมาทั้งหมด 2 รุ่น
- รุ่น 1JZ ปริมาตรความจุ 2491 ซีซี (2.5 ลิตร)
- รุ่น 2JZ ปริมาตรความจุ 2997 ซีซี (3.0 ลิตร)
- เครื่องยนต์ FZ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 6 สูบแถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นโดยติดตั้งในรถยก พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน และอยู่ระหว่างตัดสินว่าจะทำการผลิดต่อไปหรือไม่ รุ่นที่ติดตั้งในรถยนต์นั้น จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 ผลิตออกมารุ่นเดียว
- รุ่น 1FZ ปริมาตรความจุ 4477 ซีซี (4.5 ลิตร)
- เครื่องยนต์ KZ ผลิตร่วมกับ บริษัท ไดฮัทสุ จำกัด ใช้เชื้อเพลิงดีเซล 4 สูบแถวเรียง SOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 ผลิตออกมารุ่นเดียว ไม่ทราบปีที่เลิกผลิตหรือจำหน่าย
- รุ่น 1KZ ปริมาตรความจุ 2982ซีซี (3.0 ลิตร)
- เครื่องยนต์ MZ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 6 สูบ V6 DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2538 ผลิตออกมาทั้งหมด 3 รุ่น
- รุ่น 1MZ ปริมาตรความจุ 2995 ซีซี (3.0 ลิตร)
- รุ่น 2MZ ปริมาตรความจุ 2496 ซีซี (3.0 ลิตร)
- รุ่น 3MZ ปริมาตรความจุ 3.3 ลิตร)
- เครื่องยนต์ GZ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน และ แก๊สธรรมชาติอัด 12 สูบ V12 DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศ เดือนเมษายน พ.ศ. 2540
- รุ่น 1GZ ปริมาตรความจุ 4996ซีซี (5.0 ลิตร)
- เครื่องยนต์ NZ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน และ แก๊สธรรมชาติอัด 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 ผลิตออกมา 2 รุ่น
- รุ่น 1NZ ปริมาตรความจุ 1496 ซีซี (1.5 ลิตร)
- รุ่น 2NZ ปริมาตรความจุ 1298 ซีซี (1.3 ลิตร)
- เครื่องยนต์ ZZ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 ผลิตออกมา 4 รุ่น
- รุ่น 1ZZ ปริมาตรความจุ 1794 ซีซี (1.8 ลิตร)
- รุ่น 2ZZ ปริมาตรความจุ 1796 ซีซี (1.8 ลิตร)
- รุ่น 3ZZ ปริมาตรความจุ 1598 ซีซี (1.6 ลิตร)
- รุ่น 4ZZ ปริมาตรความจุ 1398 ซีซี (1.4 ลิตร)
- เครื่องยนต์ SZ ผลิตโดย บริษัท ไดฮัทสุ จำกัด ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือน มกราคม พ.ศ. 2542 ผลิตออกมา 3 รุ่น
- รุ่น 1SZ ปริมาตรความจุ 997ซีซี (1.4 ลิตร)
- รุ่น 2SZ ปริมาตรความจุ 1296 ซีซี (1.3 ลิตร)
- รุ่น 3SZ ปริมาตรความจุ 1495 ซีซี (1.5 ลิตร)
ยุค 2000
[แก้]- เครื่องยนต์ AZ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 ผลิตออกมา 2 รุ่น
- รุ่น1AZ ปริมาตรความจุ 1998 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 2AZ ปริมาตรความจุ 2362 ซีซี (2.4 ลิตร)
- เครื่องยนต์ KD ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ระบบคอมมอนเรล 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ผลิตออกมา 2 รุ่น
- รุ่น 1KD ปริมาตรความจุ 2982 ซีซี (3.0 ลิตร)
- รุ่น 2KD ปริมาตรความจุ 2494 ซีซี (2.5 ลิตร)[4]
- เครื่องยนต์ CD ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ระบบคอมมอนเรล4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในต่างประเทศเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543
- รุ่น 1CD ปริมาตรความจุ 1995 ซีซี (2.0ลิตร)
- เครื่องยนต์ BZ ใช้เชื้อเพลิง แก๊สปิโตรเลียมเหลว และ แก๊สธรรมชาติอัด 4 สูบ แถวเรียง SOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะผลิตต่อหรือไม่
- รุ่น 1BZ ปริมาตรความจุ 4104 ซีซี (4.1 ลิตร)
- เครื่องยนต์ ND ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ระบบคอมมอนเรล 4 สูบ แถวเรียง SOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2543 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ในต่างประเทศจำหน่าย พ.ศ. 2543 ผลิตออกมารุ่นเดียว
- รุ่น 1ND ปริมาตรความจุ 1362 ซีซี (1.4 ลิตร)
- เครื่องยนต์ GR ใช้เชื้อเบนซิน 6 สูบ V6 DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในต่างประเทศ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ปัจจุบันผลิตออกมาทั้งหมด 5 รุ่น
- รุ่น 1GR ปริมาตรความจุ 3955 ซีซี (4.0 ลิตร)
- รุ่น 2GR ปริมาตรความจุ 3456 ซีซี (3.5 ลิตร)
- รุ่น 3GR ปริมาตรความจุ 2994 ซีซี (3.0 ลิตร)
- รุ่น 4GR ปริมาตรความจุ 2499 ซีซี (2.5 ลิตร)
- รุ่น 5GR ปริมาตรความจุ 2497 ซีซี (2.5 ลิตร)
- เครื่องยนต์ TR ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน และแก๊สปิโตรเลียมเหลว 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 ผลิตออกมา 2 รุ่น
- รุ่น 1TR ปริมาตรความจุ 1998 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 2TR ปริมาตรความจุ 2693 ซีซี (2.7 ลิตร)
- เครื่องยนต์ KR ผลิตโดย บริษัท ไดฮัทสุ จำกัด ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 3 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547
- รุ่น 1KR ปริมาตรความจุ 996 ซีซี (1.0 ลิตร)
- เครื่องยนต์ AD ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ระบบคอมมอนเรล 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในต่างประเทศ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ผลิตออกมา 2 รุ่น
- รุ่น 1AD ปริมาตรความจุ 1998 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 2AD ปริมาตรความจุ 2231 ซีซี (2.2 ลิตร)
- เครื่องยนต์ UR ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 8 สูบ V8 DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนกันยายน พ.ศ. 2549
- รุ่น 1UR ปริมาตรความจุ 4608 ซีซี (4.6 ลิตร)
- รุ่น 2UR ปริมาตรความจุ 4968 ซีซี (5.0 ลิตร)
- รุ่น 3UR ปริมาตรความจุ 5663 ซีซี (5.7 ลิตร)
- เครื่องยนต์ ZR ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือน
- รุ่น 1ZR ปริมาตรความจุ 1598 ซีซี (1.6 ลิตร)
- รุ่น 2ZR ปริมาตรความจุ 1797 ซีซี (1.8 ลิตร)
- รุ่น 3ZR ปริมาตรความจุ 1986 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 4ZR ปริมาตรความจุ 1598 ซีซี (1.6 ลิตร)
- เครื่องยนต์ VD ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ระบบคอมมอนเรล 8 ลูกสูบ V8 DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในต่างประเทศ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550
- รุ่น 1VD ปริมาตรความจุ 4461 ซีซี (4.5 ลิตร)
- เครื่องยนต์ AR ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในต่างประเทศ เดือนมกราคม พ.ศ. 2552
- รุ่น1AR ปริมาตรความจุ 2672 ซีซี (2.7 ลิตร)
- รุ่น 2AR ปริมาตรความจุ 2362 ซีซี (2.5 ลิตร)
- รุ่น 6AR ปริมาตรความจุ 1998 ซีซี (2.0 ลิตร)
- รุ่น 8AR VVT-iW ปริมาตรความจุ 1998 ซีซี (2.0 ลิตร)
- เครื่องยนต์ NR ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว
- รุ่น 1NR ปริมาตรความจุ 1329 ซีซี (1.3 ลิตร)
- รุ่น 2NR ปริมาตรความจุ 1496 ซีซี (1.5 ลิตร)
- รุ่น 3NR ปริมาตรความจุ 1197 ซีซี (1.2 ลิตร)
- รุ่น 4NR ปริมาตรความจุ 1329 ซีซี (1.3 ลิตร)
- รุ่น 5NR ปริมาตรความจุ 1496 ซีซี (1.5 ลิตร)
- รุ่น 6NR ปริมาตรความจุ 1329 ซีซี (1.3 ลิตร)
- รุ่น 7NR ปริมาตรความจุ 1498 ซีซี (1.5 ลิตร)
- รุ่น 8NR ปริมาตรความจุ 1197 ซีซี (1.2 ลิตร)
- เครื่องยนต์ LRใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 10 สูบ V10 DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552
- รุ่น 1LR ปริมาตรความจุ 4805 ซีซี (4.8 ลิตร)
ยุค 2010 (TNGA)
[แก้]- เครื่องยนต์ A ยุคที่สาม (Third generation model A)ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว
- รุ่น A25A - DOHC 2.5 L (2487 cc)
- เครื่องยนต์ M ยุคที่สอง (Second generation model M)ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 3 สูบ / 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว
- รุ่น M15A - DOHC 1.5 L (1490 cc)
- รุ่น M20A - DOHC 2.0 L (1987 cc)
- เครื่องยนต์ V ยุคที่สอง (Second generation model V)ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 6 สูบ ทวินเทอร์โบ V6 DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว
- รุ่น V35A – DOHC 3.4 L (3445 cc)
- เครื่องยนต์GD ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ระบบคอมมอนเรล 4 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว ผลิตออกมา 2 รุ่น
- รุ่น 1GD ปริมาตรความจุ 2755 ซีซี (2.8 ลิตร)
- รุ่น 2GD ปริมาตรความจุ 2393 ซีซี (2.4 ลิตร)[5]
ยุค 2020 (TNGA)
[แก้]- เครื่องยนต์ WA ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 3 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว ผลิดโดย Daihatsu
- รุ่น WA-VE – DOHC 1.2 L (1198 cc)
- เครื่องยนต์ G16E ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 3 สูบ แถวเรียง DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว
- รุ่น G16E-GTS - DOHC 1.6 L (1618 cc)
- เครื่องยนต์ F ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ระบบคอมมอนเรล 6 สูบ ทวินเทอร์โบ V6 DOHC ระบายความร้อนด้วยของเหลว
- รุ่น F33A-FTV - DOHC 3.3 L (3298 cc)
- เครื่องยนต์ T ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 4 สูบ แถวเรียง DOHC เทอร์โบ ระบายความร้อนด้วยของเหลว
- รุ่น T24A-FTS – DOHC 2.4 L (2396 cc)
เครื่องยนต์อื่นๆ
[แก้]- เครื่องยนต์ DZ ใช้เชื้อเพลิงดีเซล 4 ลูกสูบ แถวเรียง OHV ระบายความร้อนด้วยของเหลว สำหรับรถยกไม่ทราบปีที่เริ่มผลิตหรือจำหน่าย ปัจจุบันยังทำการผลิตอยู่ ผลิตออกมา 2 รุ่น
- รุ่น 1DZ ปริมาตรความจุ 2486 ซีซี (2.5 ลิตร)[6]
- รุ่น 2DZ ปริมาตรความจุ 1974 ซีซี (2.0 ลิตร)
เครื่องยนต์สำหรับรถแข่งขัน
[แก้]- เครื่องยนต์ R
- 1988 – 3.2 L (3,200 cc) รุ่น R32V V8
- 1989–1994 – 3.6 L (4,663 cc) รุ่น R36V V8
- เครื่องยนต์ RV
- 1996- – 2.65L รุ่น RV8A, RV8B, RV8C, RV8D, RV8E, RV8F V8
- 2003 – 3.5L รุ่น RV8I V8
- 2003 – 4.0 L ไม่ทราบรุ่น V8
- 2006-2008 – 4.0 L รุ่น RV8J V8
- 2009/2011 – 3.4 L รุ่น RV8K, RV8KG, RV8KLM V8
- 2011 – 3.0 L รุ่น RVX-05 V10
- เครื่องยนต์ RI
- 2014 – รุ่น RI4A 2.0 L I4
- 2017 – รุ่น RI4AG 2.0 L I4 Turbo
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กว่าจะมาเป็นเครื่องยนต์[ลิงก์เสีย] (ไทย)
- ↑ All About the Toyota Twin Cam, 2nd ed., Tokyo, Japan: Toyota Motor Company, 1984, p. 27
- ↑ Z Series 3ZToyota Industrial Key Components
- ↑ Performance เก็บถาวร 2009-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ไทย)
- ↑ Performance[ลิงก์เสีย] (ไทย)
- ↑ Engine 1DZToyota Industrial Key Components
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Engine (อังกฤษ)
- Pick engine family (อังกฤษ)
- ลักษณะเครื่องยนต์
- Toyota Industrial Key Components(อังกฤษ)