ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อภาษาของอินเดียเรียงตามจำนวนคนพูด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายชื่อของภาษาของประเทศอินเดียที่มีผู้พูดมากกว่า 10 ล้านคน มีอยู่ด้านล่าง ภาษาอังกฤษมีชาวอินเดียพูดเป็นภาษาที่สองระหว่าง 50 และ 250 ล้านคน ข้อมูลนี้มาจากฐานข้อมูลของ Ethnologue โดยคิดเฉพาะผู้พูดเป็นภาษาแม่ ภาษาที่พูดในอินเดียส่วนใหญ่จะอยู่ในตระกูลอินโด-อารยัน (ประมาณ 74%), ดราวิเดียน (ประมาณ 24%), ออสโตรเอเชียติก (มุนดา) (ประมาณ 1.2%) หรือทิเบโต-เบอร์แมน (ประมาณ 0.6%) โดยที่มีบางภาษาของเทือกเขาหิมาลัยที่ยังไม่ได้จัดประเภท ภาษาอังกฤษ ซึ่งได้นำมาใช้ภายใต้จักรพรรดิอังกฤษ มีบทบาทสำคัญเป็น ภาษากลางที่ไม่ยึดติดกับชนพื้นเมืองใด ๆ ของอินเดียโดยเฉพาะ ก่อนหน้ายุคอาณานิคม ภาษาเปอร์เซีย มีบทบาทสำคัญเป็นภาษาของรัฐบาล การศึกษาและการค้า เนื่องจากข้อบัญญัติของผู้นำมุสลิม และยังคงเป็นภาษาคลาสสิกที่ศึกษาในโรงเรียนอินเดียหลายแห่ง จำนวนอย่างเป็นทางการของ 'ภาษาแม่' ที่พูดในอินเดีย คือ 1,683 ซึ่งจำนวนนี้มีประมาณ 850 ภาษาที่ใช้ประจำวัน ส่วน SIL Ethnologue นับภาษาที่มีชีวิตได้ 387 ภาษาในอินเดีย

ภาษากำหนด

[แก้]
บทความหลัก:ภาษาราชการของอินเดีย

เรียงตามจำนวนผู้พูดเป็นภาษาแม่ [1] เก็บถาวร 2006-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  1. ภาษาฮินดี: 337 ล้านคน
  2. ภาษาเบงกอล: 70 ล้านคน
  3. ภาษาเตลูกู: 66 ล้านคน (ดราวิเดียน)
  4. ภาษามราฐี: 63 ล้านคน
  5. ภาษาทมิฬ: 53 ล้านคน (ดราวิเดียน) (คลาสสิก)
  6. ภาษาอูรดู: 43 ล้านคน
  7. ภาษาคุชราต: 41 ล้านคน
  8. ภาษากันนฑะ: 50 ล้านคน (ดราวิเดียน)
  9. ภาษามลยาฬัม: 30 ล้านคน (ดราวิเดียน)
  10. ภาษาโอริยา: 28 ล้านคน
  11. ภาษาปัญจาบ: 23 ล้านคน
  12. ภาษาโภชปุรี: 23 ล้านคน
  13. ภาษาอัสสัม: 13 ล้านคน
  14. ภาษาไมถิลี: 8 ล้านคน
  15. ภาษาสินธ์ : 2.1 ล้านคน
  16. ภาษากงกัณ: 1.7 ล้านคน
  17. ภาษามณีปุรี : 1.2 ล้านคน
  18. ภาษาเนปาล : 1 ล้านคน
  19. ภาษากัศมีร์ (ภาษาแคชเมียร์): 0.5 ล้านคน
  20. ภาษาสันสกฤต: <0.1 ล้านคน (คลาสสิก)

ภาษาสำคัญอื่น ๆ

[แก้]

ภาษาชนกลุ่มน้อย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]