รามัน ปราตาเชวิช
รามัน ปราตาเชวิช | |
---|---|
Раман Пратасевіч Роман Протасевич | |
ปราตาเชวิชเมื่อมิถุนายน 2021 | |
เกิด | [1] ประเทศเบลารุส | 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1995
การศึกษา | มหาวิทยาลัยรัฐเบลารุส |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | 2011–ปัจจุบัน |
องค์การ | เญคตา |
ขบวนการ | ยังฟรอนต์ |
คู่รัก | โซเฟีย ซาเปกา (Sofia Sapega) |
รามัน จมีตรือเยวิช ปราตาเชวิช (เบลารุส: Раман Дзмітрыевіч Пратасевіч, อักษรโรมัน: Raman Dzmitryyevich Pratasyevich; Raman Dzmitryevič Pratasevič) หรือ โรมัน ดมีตรีเยวิช โปรตาเซวิช (รัสเซีย: Роман Дмитриевич Протасевич; Roman Dmitriyevich Protasevich, เกิด 5 พฤษภาคม 1995) เป็นนักข่าวและนักกิจกรรมชาวเบลารุส อดีตบรรณาธิการบริหารของช่องเญคตา (Nexta) ทางเทเลแกรม และหัวหน้าบรรณาธิการของช่อง "เบลารุสออฟเดอะเบรน" (Belarus of the Brain) ทางเทเลแกรม เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2021 ปราตาเชวิชถูกรัฐบาลเบลารุสจับกุมหลังเที่ยวบินพาณิชย์ที่เขากำลังเดินทางถูกเครื่องบินไล่ล่าของรัฐบาลเบลารุสบังคับลงจอดที่มินสค์ เมืองหลวงของเบลารุส เขาเป็นที่รู้จักจากการทำกิจกรรมและเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการและเรียกร้องประชาธิปไตยในเบลารุส
การงาน
[แก้]การเคลื่อนไหวต่อต้านในเบลารุส (2011–2019)
[แก้]ปราตาเชวิชเป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลนับตั้งแต่เป็นเยาวชน และเข้าร่วมการประท้วงครั้งแรกตั้งแต่ในต้นทศวรรษ 2010[2] และนับตั้งแต่ปี 2011 เขาเข้าร่วมองค์การต่อต้านรัฐบาลในชื่อยังฟรอนต์[3] เขามีส่วนร่วมในการบริหารกลุ่มหนึ่งทางสื่อสังคมวคอนตัคเต (VKontakte) เพื่อต่อต้านประธานาธิบดีอาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา จนกระทั่งปี 2012 เมื่อกลุ่มนั้นถูกเจ้าหน้าที่รัฐบาลแฮ็ก[4] เขาเข้าศึกษาต่อด้านวารสารและการหนังสือพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยรัฐเบลารุส จนกระทั่งพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาในปี 2018[5] ในปี 2019 เขาเป็นช่างภาพให้กับ Euroradio.fm[6] และยังเคยเป็นผู้ดำเนินรายการภาคภาษาเบลารุสของ Radio Free Europe/Radio Liberty[7]
กิจกรรมต่อต้านขณะลี้ภัย (2019–2021)
[แก้]ในปี 2019 ปราตาเชวิชลี้ภัยไปยังประเทศโปแลนด์[8] และดำเนินการช่องเญคตาทางเทเลแกรม[9] ในเดือนสิงหาคม 2020 หลังรัฐบาลเบลารุสพยายามตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2020 ช่องเญคตาของเขากลายเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลหลักเกี่ยวกับการประท้วงผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นและเริ่มถูกใช้เป็นช่องทางหลักหนึ่งในการจัดการประท้วง[9] และมีผู้เข้าร่วมใหม่มากกว่า 800,000 คนในหนึ่งสัปดาห์[9] เขาออกจากช่องในเดือนกันยายน 2020[8][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "КДБ унёс Сцяпана Пуцілу і Рамана Пратасевіча ў спіс тэрарыстаў". Наша Ніва. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2021. สืบค้นเมื่อ 24 May 2021.
- ↑ "Бывший журналист Еврорадио Роман Протасевич попросил убежища в Польше". Новости Беларуси | euroradio.fm. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
- ↑ "Роман Протасевич: О политике в семье не говорим". belaruspartisan.by. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 24 May 2021.
- ↑ "В Минске задержаны модераторы социальных сетей". spring96.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
- ↑ "З журфака адлічылі блогера Рамана Пратасевіча". novychas.by. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2021. สืบค้นเมื่อ 24 May 2021.
- ↑ "На вечере памяти Сергей Румас выступил перед австрийским канцлером по-белорусски". Новости Беларуси | euroradio.fm. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
- ↑ 7.0 7.1 "Кто такой Роман Протасевич: журналист, блогер, "террорист" – биография". officelife.media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
- ↑ 8.0 8.1 "Главный редактор Nexta Роман Протасевич уходит из проекта". 28 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 ""Мне не по себе от кадров, где люди с дырками в теле". Интервью главреда Nexta - крупнейшего протестного канала в Беларуси". BBC News Русская служба. 12 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Higgins, Andrew; Kramer, Andrew E. (25 May 2021). "Roman Protasevich: A Belarus Activist Who 'Refused to Live in Fear'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
- Vigdor, Neil; Nechepurenko, Ivan (23 May 2021). "Who Is Roman Protasevich, the Captive Journalist in Belarus?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.