รานีทุรคาวตี
รานีทุรคาวตี | |
---|---|
![]() รานีทุรคาวตี ภาพเขียนศิลปะโมกุล | |
ก่อนหน้า | ทัลปัต ชาห์ |
ถัดไป | วีระ นารายัณ |
ประสูติ | แม่แบบ:Birth-date ป้อมกลินชร |
สวรรคต | 24 มิถุนายน ค.ศ. 1564 ชพัลปุระ รัฐมัธยประเทศ | (39 ปี)
คู่อภิเษก | ทัลปัต ชาห์ |
พระราชบุตร | วีระ นารายัณ |
พระราชบิดา | สัลพาหาม |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู[1] |
รานีทุรคาวตี (อักษรโรมัน: Rani Durgavati; รานีทุรคาวะตี, 5 ตุลาคม 1524 – 24 มิถุนายน 1564) เป็นอัครราชินีแห่งโคณฑวนาระหว่างปค 1550–1564 หลังสมรสกับกษัตริย์ทัลปัต ชาห์ บุตรของสังคราม ชาห์ และเป็นที่รู้จักเป็นหลักจากบทบาทในการต้านทานการรุกรานของจักรวรรดิโมกุลต่อโคณฑวนา ที่ซึ่งเธอนำทัพการต่อสู้ทั้งบนสนามรบและแบบกองโจร รวมถึงนำรบบนช้างด้วยตนเองจนบาดเจ็บถูกยิงธนูเข้าที่หู ก่อนที่จะถูกยิงอีกดอกเข้าที่คอจนหมดสติไป หลังเธอฟื้นคืนสติได้ก็พบว่ากองทัพของตนเพลี่ยงพล้ำและจะต้องพ่ายแพ้ในที่สุด คนคุมช้างเสนอให้เธอหลบหนีออกจากสนามรบเสีย แต่เธอปฏิเสธและหยิบมีดสั้นแทงตนเองจนถึงแก่ชีวิตในสนามรบในวันที่ 24 มิถุนายน 1564 ซึ่งเป็นวันที่มีการปฏิบัติรำลึกสืบต่อมา[2]
เธอมีบทบาทร่วมกับดีวันและขุนนางในการดูแลปกครองโคณฑวนา โดยสนับสนุนสันติสุข การค้า และมิตรภาพระหว่างดินแดนอื่น ๆ[3] ต่อมาเธอได้ย้ายราชธานีจากป้อมสิงโครครห์ ไปยังป้อมจาวรครห์บนเทือกเขาสัตปุระซึ่งเป็นตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ดีกว่า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Chasteen, John Charles (14 November 2023). After Eden: A Short History of the World (ภาษาอังกฤษ). W. W. Norton & Company. p. 11. ISBN 978-1-324-03693-7.
- ↑ Prem Chowdhry (2009). Gender Discrimination in Land Ownership. SAGE Publications India. p. 143. ISBN 9788132105367.
- ↑ Knight, Roderic (2000). "The "Bana", Epic Fiddle of Central India". Asian Music. 32 (1): 101–140. doi:10.2307/834332. JSTOR 834332.