ป้อมกาลิญชร
ป้อมกาลิญชร | |
---|---|
อำเภอพันทะ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ใกล้กรรวี | |
![]() A view of Kalinjar Fort | |
พิกัด | 24°59′59″N 80°29′07″E / 24.9997°N 80.4852°E |
ประเภท | ป้อมปราการ, ถ้ำ & มนเทียร |
ความสูง | 1,200 ฟุต (370 เมตร) |
ข้อมูล | |
ควบคุมโดย | กรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย |
เปิดสู่ สาธารณะ | ใช่ |
ประวัติศาสตร์ | |
สร้าง | ศตวรรษที่ 5 |
วัสดุ | แกรนิต |
การต่อสู้/สงคราม | มะห์มูดแห่งกัซนี – 1023, เชอร์ ชาห์ สุรี – 1545, ทราฐาเปศวะ – 1732, บริษัทอินเดียตะวันออก – 1812 และ กบฏปี 1857 |
ข้อมูลสถานี | |
ผู้บัญชาการ ในอดีต | คุปตะ, จัณเฑละ, ราชปุตพเฆล แห่งเรวะ, เปศวะมราฐา |
กาลิญชร (ฮินดี: कालिंजर) เป็นป้อมปราการและเมืองในป้อม ตั้งอยู่ในอำเภอพันทะ[1] รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ถูกเปลี่ยนมือระหว่างจักรวรรดิและอาณาจักรมากมาย เช่น คุปตะ, วรรธนะ, จัณเฑละ, วเฆละแห่งเรวะ, โมกุล จนถึงมราฐา
ภายในป้อมปราการยังมีมนเทียรจำนวนหนึ่งซึ่งอายุย้อนไปถึงสมัยคุปตะ สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 3–5 กาลิญชรตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์บนเนินเขาที่ปลายของเทือกเขาวินธยาเหนือต่อที่ราบพุณเฑลขันธ์เบืิ้องล่าง[2]
กาลิญชรปรากฏกล่าวถึงในเอกสารปรัมปราฮินดูโบราณ ตามตำนานฮินดูเล่าว่าหลังกวนเกษียรสมุทร เมื่อพระศิวะทรงกลืนยาพิษเข้าไปและพระศอกลายเป็นสีน้ำเงิน พระองค์เสด็จมายังกาลิญชนและทรงเอาชนะ กาล ในอีกนัยหนึ่งคือทรงเอาชนะความตาย ในกาลิญชนยังเป็นที่ตั้งของนีลกัณฐมนเทียร (เทวาลัยพระผู้มีพระศอสีน้ำเงิน) ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางการแสวงบุญที่สำคัญแห่งหนึ่งของผู้นับถือพระศิวะ[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kalinjar Fort | District Banda, Government of Uttar Pradesh | India". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2021. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.
- ↑
ประโยคหรือส่วนของบทความก่อนหน้านี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติ: Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 15 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 642.
- ↑ Safvi, Rana (19 March 2017). "Peace and belonging in an ancient land". The Hindu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2021. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.