ข้ามไปเนื้อหา

ราชิสม์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การรวมกันระหว่าง ริบบิ้นของนักบุญเซนต์จอร์จ และ อักษร Z, โดยทั้งสองมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชิสม์ โดยเปรียบเทียบได้กับสวัสติกะ[1][2]

ราชิสม์ (รัสเซีย: рашизм, อักษรโรมัน: rashizm, ออกเสียง: [rɐˈʂɨzm] คือการรวมคำระหว่าง "รัสเซีย" และ "ฟาสซิสม์";[3][4] ยูเครน: рашизм, อักษรโรมัน: rashyzm[4]) คือคำเรียกใช้กับอุดมการณ์ทางการเมือง และการปฏิบัติทางสังคมของรัสเซีย ในช่วงสมัยต้นศตรวรรษที่ 21 โดยมีการพูดถึงเกี่ยวกับอุดมการณ์ชาตินิยมและการทหารของรัสเซีย โดยตั้งให้คำเรียกดังกล่าวสามารถขยายถึงระบอบการปกคองแบบลัทธิอำนาจนิยมสุดโต่งได้

คำนี้มีการใช้อย่างกว้างขวางในยูเครนทั้งสื่อและองค์กรภาครัฐ เพื่อไว้ใช้เรียกกลุ่มกองกำลังจากกองทัพรัสเซีย และผู้ที่สนับสนุนการทหารของรัสเซีย และเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วโลก หลังจากเกิดเหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน

คำว่า рашизм (รัสซิสม์/ราซีสม์) เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในแวดวงที่ไม่เป็นทางการในปี 2008 ระหว่าง สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย [5] [6] ความนิยมในสื่อมวลชนของยูเครนเพิ่มขึ้นหลังจากการ ผนวกคาบสมุทรไครเมียยูเครนโดยสหพันธรัฐรัสเซีย [7] การตกของ โบอิ้ง 777 ใกล้เมือง โดเนตสค์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2014 และการเริ่มต้น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ในปี 2014

นอกจากนี้ ราชิสม์ยังสามารถใช้ได้อย่างแพร่หลาย ทั้งการทหาร และการเคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งจากรัฐบาลและประชาชน รวมทั้งการแสดงความภาคภูมิใจในชาติมาตุภูมิของตนเอง

สัญลักษณ์ที่พบบ่อยนั้น มักจะเป็นริบบิ้นนักบุญจอร์จ ทำเป็นตัวอักษร Z (โดย Z สามารถแบ่งความหมายได้สองแบบ คือ Za pobedu หรือ เพื่อชัยชนะ หรือ Zapad ที่แปลว่าตะวันตกในภาษารัสเซีย)โดยปรากฎแพร่หลายทั่วทั้งประเทศรัสเซีย และพื้นที่ที่รัสเซียเข้ายึดครองในยูเครน ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ ใบปลิว จนถึงสื่อสังคมออนไลน์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Marayev, Vladlen; Guz, Julia (30 March 2022). "Rashism or why russians are the new Nazi". VoxUkraine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2022. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
  2. Varnytskyy, Viktor (23 March 2022). «Звичайний рашизм»: Путін відверто і послідовно наслідує Гітлера ["Ordinary Rashism": Putin openly and consistently imitates Hitler] (ภาษายูเครน). Radio Free Europe/Radio Liberty. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2022. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
  3. Mishchenko, Mykhailo (1 March 2022). Рашизм і фашизм: знайдіть дві відмінності [Rashism and fascism: find two differences]. Ukrayinskyy Interes (ภาษายูเครน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2022. สืบค้นเมื่อ 11 March 2022.
  4. 4.0 4.1 Snyder, Timothy D. (23 April 2022). "The War in Ukraine Has Unleashed a New Word". The New York Times Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2022. สืบค้นเมื่อ 23 April 2022.
  5. Настоящий "рашизм": в России составляют списки евреев, которых нужно депортировать как "несогласных" с Путиным [Real "Rashism": in Russia they make lists of Jews who need to be deported as "disagreeing" with Putin]. Bagnet (ภาษารัสเซีย). 30 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2022. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
  6. Kovalenko, Iryna (21 July 2014). Росія і рашисти: хто стоїть за спиною Путіна [Russia and Rashists: who is behind Putin]. Expres (ภาษายูเครน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.
  7. Tykha, Lina (9 March 2014). Рашизм – не пройдет, или трудно быть человеком [Rashism – will not pass, or it is difficult to be a human]. Konflikty i Zakony (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2014. สืบค้นเมื่อ 26 February 2022.