ข้ามไปเนื้อหา

รัฐเฉียนเหลียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐเฉียนเหลียง (前涼)

西平, 涼
ค.ศ. 301–ค.ศ. 376
รัฐเฉียนเหลียงในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
รัฐเฉียนเหลียงในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
เมืองหลวงนครกูจาง ปัจจุบันคือเมืองอู่เว่ย
การปกครองราชาธิปไตย
กง/อ๋อง
"เจ้าผู้ปกครอง"
 
• 301–314
อู่อ๋อง
• 314–320
จาวอ๋อง
• 320–324
เฉิงอ๋องจางเม่า
• 324–346
เหวินอ๋องจางจวิ้น
• 346–353
ฮ่วยอ๋องจางฉงฮว่า
• 353
อายกงจางเหยาหลิง
• 353–355
เว่ยอ๋องจางจั้ว
• 355–363
จิ้งเต้ากง
• 363–376
เต้ากง
ประวัติศาสตร์ 
• อู่อ๋องดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการเหลียงโจว
ค.ศ. 301
• จาวอ๋องสนับสนุนซือหม่ารุ่ยขึ้นเป็นจักรพรรดิ
ค.ศ. 318
• เฉิงอ๋องรับพระราชทานพระยศเป็นอ๋องปกครองเหลียงโจวจากจักรพรรดิรัฐฮั่นจ้าวหลิวเย่า
ค.ศ. 323
• เหวินอ๋องจางจวิ้นประกาศขึ้นเป็นเหลียงอ๋อง
ค.ศ. 345
• เว่ยอ๋องจางจั้วแยกรัฐออกจากจิ้นตะวันออกอย่างเป็นทางการ
ค.ศ. 354
• จิ้งเต้ากงกลับเข้าเป็นรัฐบริวารจิ้นตะวันออก
ค.ศ. 361
• สิ้นสุด
26 กันยายน[1][2] ค.ศ. 376
• เต้ากงถึงแก่พิราลัย
ค.ศ. 406
สกุลเงินเหรียญจีนโบราณ
ก่อนหน้า
ถัดไป
จิ้นตะวันออก
เฉียนฉิน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจีน
คีร์กีซสถาน
มองโกเลีย

รัฐเฉียนเหลียง (จีน: 前涼; พินอิน: Qián Liáng; ค.ศ. 301[3] – ค.ศ. 376) เป็นรัฐที่อยู่ในช่วงสิบหกอาณาจักร

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ค.ศ. 301 จางกุย (张轨) ชาวฮั่นในเหลียงโจว ได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิจิ้นตะวันตก ให้เป็นผู้ตรวจราชการเหลียงโจว (凉州刺史) จางกุยได้ส่งเสริมการเกษตร และการปลูกฝ้าย, จัดตั้งสถานศึกษา, และมีการสร้างโครงการพัฒนาหลายอย่าง นอกจากนี้ยังได้ทำการหล่อเหรียญที่ใช้เป็นเงินในพื้นที่นั้น ถึงทั้งภูมิภาค และมีผลงานที่สำคัญอีกหลายประการ[4]

ค.ศ. 301 จางกุยถึงแก่กรรม และจางสือ (张寔) บุตรชายได้สืบทอดตำแหน่ง ต่อมาจักรพรรดิจิ้นหมิ่นโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจางสือเป็นซีผิงจวิ้นกง (西平郡公)

ค.ศ. 316 ราชวงศ์จิ้นตะวันตกล่มสลายไป และในปี ค.ศ. 317 มีการสถาปนาราชวงศ์จิ้นตะวันออก และแคว้นเฉียนเหลียง ยังคงภักดีให้ความเคารพต่อเจ้านายราชวงศ์จิ้นตะวันออก แต่ไม่ได้ใช้ปีศักราชของราชวงศ์จิ้นตะวันออก แต่ยังคงใช้ปีศักราชเจี้ยนซิ่ง (建兴) ของจักรพรรดิจิ้นหมิ่นแห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตกต่อไป แสดงให้เห็นว่าแคว้นเฉียนเหลียงเริ่มกลายเป็นรัฐอิสระที่ไม่อยู่ภายใต้อำนาจจักรวรรดิจิ้นตะวันออกอีกต่อไป

ค.ศ. 323 จางเม่า (张茂) พระอนุชาของจางสือ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นอ๋องปกครองเหลียงโจว

ค.ศ. 345 จางจวิ้น (张骏) พระโอรสของจางซื่อ ประกาศเป็นอ๋องปกครองเหลียงโจวโดยไม่ได้รับการแต่งตั้งจากทางการ และเริ่มตั้งข้าราชการในปกครอง

ในช่วงที่จางจวิ้น และจางฉงฮว่า (张重华) พระบิดาและพระโอรสได้ร่วมกันปกครอง ทำให้แคว้นเฉียนเหลียงเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด โดยในช่วงนี้มีการพัฒนาทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างมาก

ค.ศ. 353 จางฉงฮว่าถึงแก่พิราลัย ทำให้เกิดความวุ่นวายในแคว้นเฉียนเหลียง เกิดการชิงอำนาจกันภายในหมู่พระราชวงศ์ จนทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเริ่มอ่อนแอลงเป็นอย่างมาก

ค.ศ. 354 - ค.ศ. 355 จางจั้ว (张祚) พระภาดาต่างพระมารดาของจางฉงฮว่า ได้ประกาศเป็น จักรพรรดิ

ค.ศ. 376 สมเด็จพระเจ้าฟู่เจียน (天王苻坚) แห่งแค้วนเฉียนฉิน นำทัพม้า 130,000 นาย เข้าบุกโจมตีแคว้นเฉียนเหลียงอย่างหนัก เป็นเหตุให้เต้ากงต้องยอมจำนน ทำให้แคว้นเฉียนเหลียงล่มสลาย

รายพระนามพระประมุข

[แก้]
ตำแหน่งราชการและฐานันดรศักดิ์:
  • ผู้ตรวจราชการเหลียงโจว ค.ศ. 301-316、ค.ศ. 329-345、ค.ศ. 353、ค.ศ. 361-363、ค.ศ. 366-376
  • ซีผิงจวิ้นกง (西平郡公) ค.ศ. 314-320、ค.ศ. 324-353、ค.ศ. 355、ค.ศ. 361-376
  • ผู้ว่าราชการเหลียงโจว (凉州牧) ค.ศ. 316-353、ค.ศ. 353-354、ค.ศ. 355、ค.ศ. 363-376
  • เหลียงอ๋อง : ภายใต้รัฐฮั่นจ้าว ค.ศ. 323-327
  • เหลียงอ๋อง : ประกาศสถาปนาด้วยพระองค์เอง ค.ศ. 345-347
  • เหลียงอ๋อง : อิสระ ค.ศ. 347-353、ค.ศ. 355-363
  • เหลียงกง ค.ศ. 353-354
  • ราชาธิราชเหลียง (凉帝) ค.ศ. 354-355
  • เหลียงอ่อง ค.ศ. 355-359
เจ้าผู้ปกครอง (ค.ศ. 301-ค.ศ. 376)
พระอารามนาม พระสมัญญานาม พระนามเดิม ระหว่าง ศักราช
ไท่จู่
(太祖)
(โดยเว่ยอ่อง)
อู่อ่อง
(武王)
(โดยเว่ยอ่อง)
จางกุย
(张轨)
ค.ศ. 301 - 314 ใช้ชื่อตามราชวงศ์จิ้นตะวันตก
เกาจู่
(高祖)
(โดยเว่ยอ่อง)
จาวอ่อง
(昭王)
(โดยเว่ยอ่อง)
จางสือ
(张寔)
ค.ศ. 314-320 เจี้ยนซิ่ง (建兴)
ไท่จง
(太宗)
(โดยเว่ยอ่อง)
เฉิงอ่อง
(成王)
(โดยเว่ยอ่อง)
จางเม่า
(张茂)
ค.ศ. 320-324 เจี้ยนซิ่ง (建兴)
ซื่อจู่
(世祖)
(โดยเว่ยอ่อง)
เหวินอ่อง
(文王)
(โดยเว่ยอ่อง)
จางจวิ้น
(张骏)
ค.ศ. 324-346 เจี้ยนซิ่ง (建兴)
ซื่อจง
(世宗)
(โดยเว่ยอ่อง)
ฮ่วยอ๋อง
(桓王)
(โดยเว่ยอ่อง)
จางฉงฮว่า
(张重华)
ค.ศ. 346-353 เจี้ยนซิ่ง (建兴)
- อายกง
(哀公)
จางเหยาหลิง
(张曜靈)
ค.ศ. 353 เจี้ยนซิ่ง (建兴)
เว่ยตี้
(威帝)
เว่ยอ๋อง
(威王)
จางจั้ว
(张祚)
ค.ศ. 353-355 เหอผิง (和平)
ค.ศ. 354-355
- ฉงอ๋อง
(沖王)
จางเสวียนจิ้ง
(张玄靚)
ค.ศ. 355-363 เจี้ยนซิ่ง (建兴) ค.ศ. 355-361
เซิงผิง (升平) ค.ศ. 361-363
- เต้ากง
(悼公)
จาง เทียนสี
(张天錫)
ค.ศ. 363-376 เซิงผิง (升平) ค.ศ. 363-376
- - จาง ต้าอวี้
(张大豫)
ค.ศ. 376-377 เฟิงหวง (凤凰)
ค.ศ. 376-377

พงศาวลี

[แก้]
เหลียงอู่อ๋อง
凉武王
张轨
255-301-314
เหลียงจาวอ๋อง
凉明王张寔
?-314-320
เหลียงเฉิงอ๋อง
凉成王张茂
276-320-324
เหลียงเหวินอ๋อง
凉文王张骏
307-324-346

เหลียงเว่ยอ๋อง
凉威王张祚
?-353-355
เหลียงฮ่วยอ๋อง
凉桓王张重华
327-346-353
ซีผิงจวิ้นเต้ากง
西平郡悼公张天锡
346-363-376-406
ซีผิงจวิ้นอายกง
西平郡哀公张曜灵
344-353-355
เหลียงฉงอ๋อง
凉冲王张玄靓
350-355-363
จางต้าอวี้
张大豫
364-386-387

ข้อมูลอ้างอิง

[แก้]
  1. "中央研究院網站".
  2. Zizhi Tongjian, vol. 104.
  3. Earliest possible interpretation of Former Liang's year of establishment. Other interpretations include 318, 323, 345 and 354.
  4. 赵向群. 五凉史. 北京: 社会科学文献出版社