รัฐสภาเซนต์คิตส์และเนวิส
รัฐสภาเซนต์คิตส์และเนวิส National Assembly of Saint Kitts and Nevis | |
---|---|
สมัยที่ 8 | |
ประเภท | |
ประเภท | |
ผู้บริหาร | |
สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ตั้งแต่ ค.ศ. 1983 | |
เซอร์ แทปลีย์ ซีตัน ตั้งแต่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 | |
ประธานสภา | แอนโทนี ไมเคิล เพอร์คินส์ ตั้งแต่ มิภุนายน ค.ศ. 2016 |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 15 ที่นั่ง |
กลุ่มการเมือง | ฝ่ายรัฐบาล (8)
ฝ่ายค้าน (3)
อื่นๆ (4)
|
การเลือกตั้ง | |
ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 5 มิถุนายน ค.ศ. 2020 |
ที่ประชุม | |
ทำเนียบรัฐบาล | |
เว็บไซต์ | |
www |
รัฐสภาเซนต์คิตส์และเนวิส (อังกฤษ: National Assembly of Saint Kitts and Nevis) คือสภานิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยว เมื่อรวมด้วยพระมหากษัตริย์เซนต์คิตส์และเนวิสประกอบเป็นรัฐสภาแห่งสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิส [1]
รัฐสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 14 หรือ 15 คน (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) โดยมี 11 คนมาจาการเลือกตั้งมีวาระคราวละ 5 ปีในแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนคนเดียว เรียกว่า "ผู้แทน" (Representatives) สมาชิกอีก 4 คน เรียกว่า "สมาชิกวุฒิสภา" โดย 3 คนมาจากการแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ และคนที่สี่คือ อัยการสูงสุด เป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง (ex officio)
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1983 บัญญัติให้มีสมาชิกวุฒิสภาอย่างน้อยสามคน หรือสี่คนหากอัยการสูงสุดไม่รวมอยู่ในวุฒิสมาชิกสามคนแรก โดยสามารถเพิ่มจำนวนได้โดยมติของสภาหากไม่มีจำนวนรวมเกินสองในสามของจำนวนผู้แทนทั้งหมด ยกเว้นในกรณีของอัยการสูงสุด วุฒิสมาชิกจำนวนสองคนได้รับการแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการซึ่งปฏิบัติตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี และอีกหนึ่งคนตามคำแนะนำของผู้นำฝ่ายค้าน
ตามรัฐธรรมนูญ รัฐสภามีบทบาทหน้าที่ผ่านกฎหมายเพื่อสันติภาพ ความเป็นระเบียบ และเพื่อการกำกับดูแลรัฐบาลที่ดีแห่งสหพันธรัฐ โดยไม่รวมถึงบทบาทที่รับผิดชอบโดยสภานิติบัญญัติเกาะเนวิส[2] เมื่อกฎหมายได้รับการรับรองจากรัฐสภาแล้ว จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตโดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[3] การลงมติตามรัฐธรรมนูญจะต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากพิเศษจำนวนสองในสามในสภา[4]