รัฐสภายิบรอลตาร์
รัฐสภายิบรอลตาร์ Gibraltar Parliament (อังกฤษ) | |
---|---|
สมัยที่ 4 | |
ประเภท | |
ประเภท | |
ผู้บริหาร | |
ประธานสภา | เมลวิน ฟาร์เรลล์ ตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 |
ผู้นำสภาผู้แทน | ฟาเบียน ปิการ์โด, Gibraltar Socialist Labour ตั้งแต่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2011 |
ผู้นำฝ่ายค้าน | คีธ อะโซพาร์ดี, Gibraltar Social Democrats ตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 17 ที่นั่ง |
กลุ่มการเมือง | ฝ่ายรัฐบาล (10)
ฝ่ายค้าน (7) |
การเลือกตั้ง | |
ระบบจำกัดคะแนนเสียง | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 17 ตุลาคม ค.ศ. 2019 |
ที่ประชุม | |
ที่ทำการรัฐสภา[1] จัตุรัสจอห์นแม็คอินทอช ยิบรอลตาร์ |
รัฐสภายิบรอลตาร์ (อังกฤษ: Gibraltar Parliament) คือสภานิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยวของยิบรอลตาร์ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร เมื่อก่อตั้งในปีค.ศ. 1969 ประกอบด้วยสมาชิกรวม 15 คน มาจากการเลือกตั้ง กับสมาชิกโดยตำแหน่งอีกสองคนโดยรวมถึงอัยการสูงสุดด้วย ก่อนปีค.ศ. 2006 เคยเรียกว่า "สมัชชาแห่งยิบรอลตาร์" (House of Assembly) ซึ่งเรียกแบบเดียวกันในกลุ่มดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรทั้งหมดซึ่งยังไม่มีอธิปไตยเต็มตัว โดยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2006 ได้เปลี่ยนมาเรียกว่า "รัฐสภา" ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอำนาจอธิปไตยที่เพิ่มขึ้น โดยประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 17 คนมาจากการเลือกตั้ง
ในระบบการลงคะแนนนั้น ผู้มีสิทธิลงคะแนนสามารถลงคะแนนให้กับผู้แทนทั้งสิบคนได้พร้อมกัน เนื่องจากอาณาเขตประเทศที่มีขนาดเล็ก จึงไม่มีการแบ่งเขตเลือกตั้งเพราะถือเป็นเขตเดียวทั้งประเทศ จึงถือว่าเป็นการเลือกตั้งแบบเหนือกว่ายกเขต ("at large")
ยิบรอลตาร์ใช้การลงคะแนนแบบจำกัดคะแนนเสียง ซึ่งแต่ละพรรคการเมือง หรือกลุ่มพรรคการเมืองนั้นจะส่งรายชื่อผู้สมัครเป็นชุดๆละสิบคนพร้อมกัน และจะหาเสียงโดยโน้มน้าวให้ผู้ลงคะแนนออกเสียงเลือกทั้งหมดยกชุด ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่นั้นพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งจะได้รับที่นั่งไปทั้งสิบที่นั่ง ในขณะที่พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงเป็นลำดับสองจะได้ไปอีกเจ็ดที่นั่งที่เหลือ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Benady, Tito (1996). The Streets of Gibraltar. Gibraltar Books. pp. 17–18. ISBN 0-948466-37-5.