วัฒนา ภู่โอบอ้อม
เกิด | 17 มกราคม พ.ศ. 2513 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
---|---|
สัญชาติ | ไทย |
ฉายา | เดอะ ไทยพูน (The Thai-Poon) เดอะไทยทอร์นาโด (The Thai Tornado) ต๋อง ศิษย์ฉ่อย |
ปีที่เริ่มเล่นอาชีพ | พ.ศ. 2532–2551 และ 2552–2563 |
อันดับสูงสุด | 3 (2537/38) |
เบรกสูงสุด | 147 (3 ครั้ง: ใน 2534, 2535 และ 2540) |
จำนวนเซนจูรีเบรก | 147 |
รายการแข่งขันที่ชนะ | |
รายการสะสมคะแนนที่ชนะ | 3 |
รายการไม่สะสมคะแนนที่ชนะ | 4 |
เหรียญรางวัล | ||
---|---|---|
สนุกเกอร์ชาย | ||
เอเชียนเกมส์ | ||
กรุงเทพ 1998 | ทีม | |
กว่างโจว 2010 | ทีม | |
เอเชียนอินดอร์เกมส์ | ||
มาเก๊า 2007 | เดี่ยว | |
ซีเกมส์ | ||
ฮานอย 2021 | เดี่ยว | |
พนมเปญ 2023 | สนุกเกอร์ 6 แดงชายคู่ |
วัฒนา ภู่โอบอ้อม (ฉายา ต๋อง ศิษย์ฉ่อย หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ เจมส์ วัฒนา, James Wattana) เป็นนักสนุกเกอร์อาชีพชาวไทย รูปแบบการเล่นถือเป็นนักสนุ้กเกอร์คนหนึ่งที่มีการเล่นที่รวดเร็วและแม่นยำมาก ช่วงที่ต๋องสามารถทำผลงานได้ดีนั้นอยู่ในช่วงกลางทศวรรษของปี 90 โดยได้แชมป์รายการแข่งขันรายการอาชีพสะสมคะแนนทั้งสิ้น 3 รายการ อันดับโลกที่สูงที่สุดคืออันดับที่ 3 ของโลกในช่วงฤดูกาลปี 1994/95 โดยเป็นรองเพียง สตีเฟน เฮนดรี้ และ สตีฟ เดวิส เท่านั้น
วัฒนา ภู่โอบอ้อม เป็นชื่อแต่แรกเกิด แต่ตอนหลังมาเปลี่ยนเป็น รัชพล ภู่โอบอ้อม แต่ได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิม คือ วัฒนา นอกจากนี้เขายังเป็นนักสนุกเกอร์คนที่ 8 ของโลกที่สามารถทำเงินรางวัลได้มากกว่า 1 ล้านปอนด์ ปัจจุบันทำรายได้ทั้งหมดจากการแข่งขันอาชีพ 1.75 ล้านปอนด์ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย เป็นผู้ปลุกกระแสให้คนไทยหันมาสนใจในกีฬาสนุกเกอร์ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการแข่งขันสนุกเกอร์ระดับอาชีพและระดับเยาวชนแล้ว
ประวัติ
[แก้]ต๋อง ศิษย์ฉ่อย หรือชื่อจริงว่า วัฒนา ภู่โอบอ้อม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น รัชพล ภู่โอบอ้อม) เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2513 เป็นบุตรของ นายโกวิน ภู่โอบอ้อม กับนางพลอยรุ้ง ภู่โอบอ้อม จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจาก โรงเรียนเทพสัมฤทธิ์วิทยา และมัธยมต้นจากโรงเรียนศรีวิกรม์
โกวิน ภู่โอบอ้อม บิดาของวัฒนา เป็นนักสนุกเกอร์อาชีพ ฉายา "ฉ่อย ซู่ซ่าส์" วัฒนาซึ่งติดตามดูบิดาเล่นสนุกเกอร์มาตั้งแต่เด็ก จึงได้ฝึกฝนฝีมือมาตั้งแต่ยังเล็ก เริ่มแข่งขันสนุกเกอร์ในระดับเยาวชน ได้รองชนะเลิศการแข่งขันประเภทดาวรุ่ง ของนิตยสารคิวทอง เมื่อ พ.ศ. 2527 ขณะอายุเพียง 14 ปี โดยได้ฉายา "ต๋อง ศิษย์ฉ่อย" เพราะบิดา (ฉ่อย ซู่ซ่าส์) เป็นครูผู้สอน
ต๋องชนะเลิศการแข่งขันชิงแชมป์รายการสนุกเกอร์สมัครเล่นโลกเมื่อปี พ.ศ. 2531 ที่ประเทศออสเตรเลีย เริ่มเล่นอาชีพเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีฉายาในเมืองไทยว่า "ไทย ทอร์นาโด" ส่วนในต่างประเทศมีฉายาว่า "Thai Phoon" (อ่านออกเสียงเหมือนคำว่า Typhoon - ไต้ฝุ่น) เนื่องจากไต่อันดับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำและเล่นด้วยความรวดเร็ว เป็นนักกีฬาสนุกเกอร์จากภูมิภาคเอเชียคนแรกที่ประสบความสำเร็จในการเล่นสายอาชีพ (ซึ่งต่อมาก็มีนักสนุกเกอร์จากฮ่องกงคือ มาร์โก ฟู และดิง จุง ฮุยจากประเทศจีน ที่สามารถเข้ามามีอันดับโลกอยู่ภายใน 16 คนแรกของโลก) ได้แชมป์รายการแข่งขันรายการอาชีพสะสมคะแนนทั้งสิ้น 3 รายการ อันดับโลกที่สูงที่สุดคืออันดับที่ 3 ของโลกในช่วงฤดูกาลปี 1994/95 โดยเป็นรองเพียงสตีเฟน เฮนดรี้ และสตีฟ เดวิสเท่านั้น นอกจากนี้ต๋องยังเป็นนักสนุกเกอร์คนที่ 8 ของโลกที่สามารถทำเงินรางวัลได้มากกว่า 1 ล้านปอนด์ ปัจจุบันทำรายได้ทั้งหมดจากการแข่งขันอาชีพ 1.75 ล้านปอนด์
ช่วงที่ต๋องสามารถทำผลงานได้ดีนั้นอยู่ในช่วงกลางทศวรรษของปี 90 ได้รับการคาดหวังจากผู้คนรอบด้านทั้งจากภายในประเทศและสื่อต่างประเทศ จนกระทั่งหลังจากฤดูกาล 1997 ฟอร์มของต๋องก็เริ่มตกลงไปอย่างน่าใจหาย จนในปี 1999 อันดับโลกของต๋องก็หลุดจาก 16 คนแรกของโลกหลังจากอยู่ในอันดับ 1-16 มาได้ 7 ปี จนมาถึงฤดูกาลปี 2007/08 อันดับโลกอย่างไม่เป็นทางการในฤดูกาลนั้นคืออันดับที่ 64 และเป็นที่แน่นอนแล้วว่าหลังจากจบรายการชิงแชมป์โลกประจำฤดูกาล ซึ่งต๋องไม่สามารถชนะในรอบคัดเลือกได้ ทำให้อันดับโลกของต๋องจะต้องหลุดจากอันดับ 64 ของโลกเป็นที่แน่นอนแล้ว และส่งผลให้ต๋องต้องหลุดจากมือวางที่ได้สิทธิ์แข่งขันอาชีพที่ประเทศอังกฤษทันทีหลังจากเดินทางบนเส้นทางสายนี้มายาวนานเกือบ 2 ทศวรรษ แต่หลังจากต๋องสามารถคว้าแชมป์รายการ Asian Championship ในช่วงกลางปี 2009 ที่จัดการแข่งขันที่ประเทศจีน โดยเอาชนะคู่แข่งขันคือ Mei Xiwen ไปได้ 7-3 เฟรม ทำให้ในฤดูกาลปี 2009/10 ต๋องได้กลับไปเล่นสนุกเกอร์อาชีพที่ประเทศอังกฤษอีกครั้ง
ต๋อง ศิษย์ฉ่อย เป็นผู้ปลุกกระแสให้คนไทยหันมาสนใจในกีฬาสนุกเกอร์ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการแข่งขันสนุกเกอร์ระดับอาชีพและระดับเยาวชนแล้ว
รูปแบบการเล่น
[แก้]ต๋อง ถือเป็นนักสนุ้กเกอร์คนหนึ่งที่มีการเล่นที่รวดเร็วและแม่นยำมาก มีความถนัดในการเล่นหลุมกลางเป็นพิเศษ ในช่วงปี 1990-1995 ต๋องจะเล่นแนวแลกหมัด สู้หลุมยาวบ่อยครั้ง แต่หลังจากมีปัญหาทางด้านสายตาและความแม่นยำลดลงไป ต๋องก็เปลี่ยนมาใช้วิธีการเล่นที่รัดกุมและใช้เวลาในการแทงช้าลงแทน ส่วนในเรื่องของการแก้สนุ้ก (Escape from Snooker) ต๋องก็สามารถทำได้ดีเช่นกัน
ผลงาน
[แก้]รายการสมัครเล่นโลก
[แก้]- ชนะเลิศการแข่งขันสนุกเกอร์รายการชิงแชมป์สมัครเล่นโลก ในปี ค.ศ.1988
รายการแข่งขันสะสมคะแนน
[แก้]- ชนะเลิศรายการ Strachan Open ในปี ค.ศ.1992
- ชนะเลิศรายการ Thailand Open ในปี ค.ศ.1994 และ ค.ศ.1995
- รองชนะเลิศรายการ Asian Open ในปี ค.ศ.1989
- รองชนะเลิศรายการ International ในปี ค.ศ.1993
- รองชนะเลิศรายการ British Open 3 ปีซ้อน ในปี ค.ศ.1992,1993,1994
- รอบ semi - finals รายการชิงแชมป์โลก Embassy World ในปี ค.ศ.1993 และปี ค.ศ.1997
รายการชิงเงินรางวัล
[แก้]- ชนะเลิศรายการ Hong Kong Challenge ในปี ค.ศ.1990
- ชนะเลิศรายการ Humo Masters ในปี ค.ศ.1992
- ชนะเลิศรายการ World Matchplay ในปี ค.ศ.1992
- ชนะเลิศรายการ Kings Cup ในปี ค.ศ.1992
- ชนะเลิศรายการ Euro-Asia Masters Challenge ในปี ค.ศ.2003
- ชนะเลิศรายการ Asian Championship 3 สมัย ในปี ค.ศ.1986,1988,2009
- รองชนะเลิศรายการ Benson & Hedges Championship ในปี ค.ศ.1990
- รองชนะเลิศรายการ Hong Kong Challenge ในปี ค.ศ.1991
- รองชนะเลิศรายการ Nescafe Extra Challenge ในปี ค.ศ.1992
- รองชนะเลิศรายการ Kings Cup ในปี ค.ศ.1993
- รองชนะเลิศรายการ The Master ในปี ค.ศ.1993
- รองชนะเลิศรายการ Euro-Asia Masters Challenge ปี ค.ศ.2007
- ชนะเลิศรายการ สนุกเกอร์ 6-แดง ชิงแชมป์ประเทศไทย ปี ค.ศ.2023[1]
เบรกที่ทำได้
[แก้]- Maximun Breaks (ได้คะแนนสูงสุด 147 แต้ม ในการแทงต่อเนื่อง) 3 ครั้ง
- ปี ค.ศ.1991 รายการ Mita World Master
- ปี ค.ศ.1992 รายการ British Open (เวลา 7 นาที 9 วินาที)
- ปี ค.ศ.1997 รายการ Catch China International
- ทำ century breaks มากกว่า 140 ครั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[2]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พลิกนรก! "ต๋อง ศิษย์ฉ่อย" เบียดชนะ "กร" 8-7 ผงาดแชมป์สนุกเกอร์ 6 แดงปทท.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๕ ข หน้า ๒๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕