ข้ามไปเนื้อหา

รอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออก
ตำแหน่งตุรกีตะวันออก
ประเทศตุรกี
เปลือกโลก
เปลือกโลกแผ่นอานาโตเลีย
แผ่นอาระเบีย
แผ่นดินไหว
ประเภทรอยเลื่อนตามแนวระดับ, ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
รอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออกและรอยเลื่อนใกล้เคียงครอบคลุมส่วนใหญ่ของประเทศตุรกี

รอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออก (ตุรกี: Doğu Anadolu Fay Hattı) เป็นแนวรอยเลื่อนหลักแบบรอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) พาดจากทางตะวันออกไปยังภาคกลางตอนใต้ของตุรกี ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ผ่านกันของแผ่นธรณีภาคระหว่างแผ่นเปลือกโลกอานาโตเลียกับแผ่นเปลือกโลกอาระเบียซึ่งเคลื่อนตัวไปทางเหนือ ความแตกต่างสัมพัทธ์ในการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกทั้งสองแสดงเป็นรอยเลื่อนแบบซ้ายเข้า (sinistral [en] หรือ left-lateral fault) รอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออกและรอยเลื่อนอานาโตเลียเหนือมีส่วนร่วมในการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกของแผ่นอานาโตเลียเนื่องจากถูกแรงเค้นจากการชนกันอย่างต่อเนื่องกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย

รอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออกมีแนวมุ่งไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มจากรอยต่อสามผสานมารัช [tr] ในตอนเหนือสุดของชุดรอยเลื่อนแปลงเดดซี (Dead Sea Transform) แล้วไปสิ้นสุดที่รอยต่อสามผสานคาร์ลือโอวา (ตุรกี: Karlıova üçlü eklemi) ซึ่งบรรจบกับรอยเลื่อนอานาโตเลียเหนือ

การเกิดแผ่นดินไหว

[แก้]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 ถึง พ.ศ. 2542 เกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่องไปทางตะวันตกตามแนวรอยเลื่อนอานาโตเลียเหนือ แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 มีชุดของแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออก โดยเหตุการณ์เริ่มต้นจากแผ่นดินไหวอาดานา–เจย์ฮัน พ.ศ. 2541 และรวมถึงแผ่นดินไหวบิงเกิล พ.ศ. 2546,[1] แผ่นดินไหวเอลาซือ พ.ศ. 2553, แผ่นดินไหวเอลาซือ พ.ศ. 2563 และแผ่นดินไหวในประเทศตุรกีและประเทศซีเรีย พ.ศ. 2566[2][3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "MAY 1, 2003 BİNGÖL (TURKEY) EARTHQUAKE – Preliminary Report". Kandilli Rasathanesi ve Deprem Araştırma Enstitüsü (ภาษาอังกฤษ). Boğaziçi Üniversitesi. 13 พฤษภาคม 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2010.
  2. Zukerman, Wendy (24 ตุลาคม 2011). "Turkey earthquake reveals a new active fault zone". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2011.
  3. USGS.com (24 มกราคม 2020). "M 6.7 – 4km ENE of Doganyol, Turkey". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2020.
  4. Belam, Martin; Abdul, Geneva; Beazley, Jordyn; Lock, Samantha; Abdul, Martin Belam (now); Geneva; Lock (earlier), Samantha (6 กุมภาพันธ์ 2023). "Turkey and Syria: more than 1,700 people confirmed dead after two large earthquakes strike – latest updates". the Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2023.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Chorowicz, Jean; Luxey, Pascal; Lyberis, Nikos; Carvalho, José; Parrot, Jean-François; Yürür, Tekin; Gündogdu, Niyazi (1994). "The Maras Triple Junction (southern Turkey) based on digital elevation model and satellite imagery interpretation". Journal of Geophysical Research: Solid Earth. 99 (B10): 20225–20242. doi:10.1029/94jb00321. ISSN 0148-0227.
  • Duman, Tamer Y.; Emre, Ömer (2013). "The East Anatolian Fault: geometry, segmentation and jog characteristics". Geological Society, London, Special Publications. 372 (1): 495–529. doi:10.1144/sp372.14. ISSN 0305-8719.
  • Güvercin, Sezim Ezgi; Karabulut, Hayrullah; Konca, A Özgün; Doğan, Uğur; Ergintav, Semih (2022). "Active seismotectonics of the East Anatolian Fault". Geophysical Journal International. 230 (1): 50–69. doi:10.1093/gji/ggac045. ISSN 0956-540X.