รอยัล แฟมิลี (ภาพยนตร์)
รอยัล แฟมิลี | |
---|---|
เขียนโดย | แอนโทนี่ เจย์ |
กำกับโดย | ริชาร์ด คอสตัน |
แสดงนำ | |
บรรยายโดย | ไมเคิล แฟลนเดอร์ส |
ประเทศแหล่งกำเนิด | สหราชอาณาจักร |
ภาษาต้นฉบับ | อังกฤษ |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | ริชาร์ด คอสตัน |
ความยาวตอน | 110 นาที[1][2] |
บริษัทผู้ผลิต | บีบีซี, ไอทีวี |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | บีบีซีวัน, บีบีซีทู, ไอทีวี |
ออกอากาศ | 21 มิถุนายน ค.ศ. 1969 |
รอยัล แฟมิลี (อังกฤษ: Royal Family) เป็นสารคดีทางโทรทัศน์ของอังกฤษเกี่ยวกับครอบครัวของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ออกอากาศทางบีบีซีวัน และ ไอทีวี ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1969 ภาพยนตร์เรื่องนี้ดึงดูดผู้ชมกว่า 38 ล้านคนในสหราชอาณาจักร และจำหน่ายไปทั่วโลกและมีผู้ชมประมาณ 350 ล้านคน [3] ต่อมาสมเด็จพระราชินีได้ทรงสั่งห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้[4] [5] มันไม่ได้ฉายทางทีวีอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977[6] และการเข้าถึงเพื่อดูภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกจำกัดอย่างมาก[7] ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2019 ได้พบการรั่วไหลและมีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต[4] [5] ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังคงสามารถดูได้บนแพลตฟอร์มแบ่งปันวิดีโอ YouTube [8] และเว็บไซต์ห้องสมุดดิจิทัล Internet Archive
การถ่ายทำ
[แก้]ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เพื่อเฉลิมฉลองในการที่พระราชโอรสองค์โตของพระองค์ เจ้าชายชาลส์ได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์[9] กำกับโดย ริชาร์ด คอสตัน[10] เขียนบทโดย แอนโทนี่ เจย์[11] บรรยายโดย ไมเคิล แฟลนเดอร์ส[7] ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการผลิตร่วมกันของบีบีซีและไอทีวี[12]
เป็นความคิดของ วิลเลียม เฮเซลไทน์ ซึ่งขณะนั้นเป็นเลขาธิการสื่อมวลชน และจอห์น บราบอร์น ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ (ลูกเขยของลอร์ดเมานท์แบ็ตเทน) ซึ่งทั้งคู่เชื่อว่าการแสดงชีวิตประจำวันของราชวงศ์ทางโทรทัศน์จะช่วยฟื้นความนิยมจากสาธารณชน [13]
คอสตันได้รับการติดต่อในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1968 และเริ่มถ่ายทำในวันที่ 8 มิถุนายน ที่ Trooping the Colour
เนื้อหาทั้งหมด 43 ชั่วโมงสำหรับสารคดี ได้เริ่มตัดต่อในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1969 ขณะที่การถ่ายทำสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม[13] ฉากทั้งหมดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ปรึกษาซึ่งมีเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถเป็นประธาน[14] อย่างไรก็ตาม คอสตันได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำทุกอย่างที่เขาต้องการ เขาเล่าในภายหลังว่า สมเด็จพระราชินีทรงทอดพระเนตรภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งหมดหนึ่งเดือนก่อนการออกอากาศ[13]
เนื้อหา
[แก้]สารคดีความยาว 110 นาทีนี้ ครอบคลุมหนึ่งปีในชีวิตของสมเด็จพระราชินี นำเสนอข้อมูลเชิงลึกในด้านส่วนตัวของราชวงศ์ ตลอดจนบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในศตวรรษที่ 20[10] วันธรรมดากำหนดบรรยากาศโดยเริ่มจากผู้ชมอย่างเป็นทางการ ตามด้วยมื้อกลางวันและปาร์ตี้ในสวนยามบ่าย ในตอนเย็นราชินีจะเลือกชุดที่จะสวมใส่ในการเสด็จไปทอดพระเนตรละครโอเปร่า[13]
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/40/President_Richard_Nixon_visiting_Buckingham_Palace_with_Britain%27s_royal_family.jpg/220px-President_Richard_Nixon_visiting_Buckingham_Palace_with_Britain%27s_royal_family.jpg)
ต่อมาในภาพยนตร์เรื่องนี้ เจ้าชายฟิลิปและลูก ๆ ของพระองค์เพลิดเพลินกับบาร์บีคิวที่ปราสาทแบลมอรอล ในสกอตแลนด์[7] ในอีกฉากหนึ่ง พระราชินีทรงซื้อไอศกรีมให้เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดจากร้านค้า ซึ่งขัดกับตำนานที่ว่าพระนางไม่เคยถือเงินเลย[15] มีอยู่ช่วงหนึ่ง เจ้าชายชาร์ลส์กำลังฝึกเชลโลอยู่ และสายได้บาดเข้าที่ใบหน้าของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดน้องชายพระองค์[14] ฉากที่สมาชิกในราชวงศ์กำลังรับประทานอาหารเช้า ดูโทรทัศน์[16] เล่นสกีน้ำ เป็นเจ้าภาพจัดทีมโอลิมปิกของอังกฤษ และรับประทานอาหารกลางวันกับริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น[14] ภาพยนตร์ยังมีฉากเสด็จประพาสอเมริกาใต้ของราชวงศ์ และฉากที่เจ้าหญิงแอนน์ขณะเสด็จเยือนแท่นขุดเจาะก๊าซในทะเลเหนือ[13]
ในตอนท้าย พระราชินีทรงสนทนากับครอบครัวของพระองค์ เรื่องบทสนทนากับรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกล่าวถึงแขกที่ไม่ปรากฏชื่อในพระราชวังว่าเป็น "กอริลลา" ซึ่งเป็นคำที่พระองค์พบว่า "ไม่ปรานีอย่างยิ่ง" อย่างไรก็ตาม พระองค์เล่าถึงการพบกับแขกรับเชิญว่า "ฉันยืนอยู่กลางห้องและกดกริ่ง ประตูก็เปิดออก และมีกอริลลาตัวหนึ่ง คุณรู้ไหม เขา มีลำตัวสั้นและแขนยาว"[17]
ออกอากาศ
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การตอบรับ
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Royal Family (1969)". IMDB.
- ↑ Chris Ship (29 January 2021). "Why the 1969 Royal Family film was hurriedly taken down from YouTube". ITV News. สืบค้นเมื่อ 31 January 2021.
- ↑ "Royal Family first transmitted". History of the BBC (ภาษาอังกฤษ). BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2019.
- ↑ 4.0 4.1 Ward, Victoria; Mendick, Robert (28 January 2021). "Royal documentary banned by the Queen is leaked 50 years later". The Telegraph. London: Telegraph Media Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2021. สืบค้นเมื่อ 28 January 2021.
- ↑ 5.0 5.1 Moore, Matthew (29 January 2021). "Royal documentary banned by Queen is leaked on YouTube". The Times (ภาษาอังกฤษ). London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 Jan 2021. สืบค้นเมื่อ 29 January 2021.
- ↑ "Festival 77: 1969 Royal Family". Radio Times. BBC Genome (2805): 43. 11 August 1977. สืบค้นเมื่อ 28 January 2021.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Richard Tomlinson (19 June 1994). "Trying to be useful: Twenty-five years ago, the Windsors attempted to re-create their public image …". The Independent on Sunday. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2015. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "independent" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "Royal Family (1969)". YouTube.
- ↑ Bastin, Giselle (Summer 2009). "Filming the Ineffable: Biopics of the British Royal Family". Auto/Biography Studies. 24 (1): 34–52. doi:10.1080/08989575.2009.10846787. S2CID 220313542. สืบค้นเมื่อ 21 August 2013.
- ↑ 10.0 10.1 Alan Rosenthal (2007). Writing, Directing, and Producing Documentary Films and Videos (4 ed.). SIU Press. pp. 72–73. ISBN 978-0-8093-2742-3.
- ↑ Hardman, Robert (20 October 2011). "Yes, Ma'am". The Spectator. สืบค้นเมื่อ 16 August 2013.
- ↑ "Royal Family - BBC One London". BBC Genome. สืบค้นเมื่อ 21 January 2019.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 Alan Rosenthal (1972). The New Documentary in Action: A Casebook in Film Making. University of California Press. pp. 201–209. ISBN 978-0-520-02254-6.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Robert Hardman (2012). Her Majesty: Queen Elizabeth II and Her Court. Pegasus Books. pp. 211–214. ISBN 978-1-4532-4918-5.
- ↑ Hardman, p. 212. Quote: "Others scoffed at the sight of the Queen paying for an ice cream in a shop - mindful of the myth that she never carries money."
- ↑ Nick Fraser (2012). Why Documentaries Matter. Reuters Institute for the Study of Journalism. pp. 38–39. ISBN 978-1-907384-09-7.
- ↑ Ledbetter, Carly (29 January 2021). "A Rare Royal Family Documentary Briefly Hit YouTube. Here Are Its Most Shocking Moments". HuffPost. สืบค้นเมื่อ 5 December 2022.