ข้ามไปเนื้อหา

รอกามาดูร์

พิกัด: 44°48′01″N 1°37′07″E / 44.8003°N 1.6186°E / 44.8003; 1.6186
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอกามาดูร์

ภูมิทัศน์เมืองรอกามาดูร์ที่เกาะแนบผา
ภูมิทัศน์เมืองรอกามาดูร์ที่เกาะแนบผา
ตราราชการของรอกามาดูร์
ตราอาร์ม
ประเทศฝรั่งเศส
แคว้นอ็อกซีตานี
จังหวัดล็อต
เขตกูร์ดง
อำเภอกรามัต
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2020–2026) Dominique Lenfant[1]
พื้นที่149.42 ตร.กม. (19.08 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (มกราคม ค.ศ. 2018)2
611 คน
 • ความหนาแน่น12 คน/ตร.กม. (32 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสอีนเซ/ไปรษณีย์46240 /46500
สูงจากระดับน้ำทะเล110–364 m (361–1,194 ft)
(avg. 279 m หรือ 915 ft)
1 ข้อมูลอาณาเขตที่ตามขึ้นทะเบียนไว้โดยไม่รวมทะเลสาบ, หนองน้ำ, ธารน้ำแข็งที่ขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรตลอดจนปากแม่น้ำ 2 Population without double counting: residents of multiple communes (e.g., students and military personnel) only counted once.

รอกามาดูร์ (ฝรั่งเศส: Rocamadour, ฟังเสียง; อุตซิตา: Rocamador) เป็นเมืองในจังหวัดล็อตในแคว้นมีดี-ปีเรเน ประเทศฝรั่งเศส เมืองรอกามาดูร์ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ

รอกามาดูร์[2] เป็นเมืองที่เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเพราะตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ตรงซอกเขาเหนือสาขาของแมน้ำดอร์ดอญ และโดยเฉพาะสถานที่สักการะพระแม่มารีย์อันมีความสำคัญมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้วจากทั่วยุโรปที่รวมทั้งพระมหากษัตริย์ บิชอป และขุนนาง[3]

ตัวเมืองที่ตั้งอยู่ภายใต้กลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นอารามและโบสถ์สำหรับผู้แสวงบุญพึ่งรายได้จากการจาริกแสวงบุญมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ตัวเมืองตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำ ตัวเมืองใช้เป็นชื่อของเนยแพะที่ได้รับรางวัล AOC ในปี ค.ศ. 1996

ที่ตั้ง

[แก้]

รอกามาดูร์ตั้งอยู่ราว 36 ไมล์ทางตะวันออกเฉียงเหนือเหนือ (NNE) ของเมืองกาออร์โดยทางรถยนต์ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำอาลซู

สิ่งที่น่าสนใจ

[แก้]

รอกามาดูร์ขึ้นอยู่อับแอบบีแห่งตูลทางตอนเหนือในบัสลีมูแซ็ง สิ่งก่อสร้างของรอกามาดูร์ (ที่มาจากคำว่า “ròca” ที่แปลว่า “ผา” รวมกับคำว่า “Saint Amadour” ที่แปลว่า “นักบุญอามาดูร์”) เด่นออกมาเป็นชั้น ๆ จากหน้าผาบนฝั่งขวาของแม่น้ำอาลซูที่ไหลระหว่างผาสูงราว 400 ฟุตสองข้าง จากตัวเมืองก็จะมีบันไดลงไปยังคริสต์ศาสนสถานต่าง ๆ โดยเฉพาะวัดแสวงบุญนอเทรอดามที่สร้างในรูปทรงที่เห็นเมื่อ ค.ศ. 1479 ที่เป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่เป็นรูปสลักไม้ของ “แม่พระฉวีดำ” ที่เชื่อกันว่าแกะโดยนักบุญอามาดูร์เอง กลุ่มนักพรตคณะเบเนดิกตินกลุ่มเล็ก ๆ ยังคงมีสิทธิที่จะใช้โบสถ์เซนต์ไมเคิลเล็กเหนือและเลยไปทางข้างได้ ตอนล่างเป็นโบสถ์แสวงบุญที่เปิดออกไปยังลานหลั่นซึ่งผู้แสวงบุญสามารถมาชุมนุมกันได้ที่เรียกว่าลานสูงแห่งเซนต์ไมเคิล ที่สามารถมองขึ้นไปเห็นดาบดูเรนดา (Durendal) ที่เสียบหักอยู่บนอยู่บนผา ที่กล่าวกันว่าเป็นดาบของวีรบุรุษโรแลนด์

ผนังภาพในของโบสถ์พระมหาไถ่เต็มไปด้วยจิตรกรรมฝาผนังและจารึกที่เกี่ยวกับนักแสวงบุญคนสำคัญ ๆ ที่มายังรอกามาดูร์ วัดแซ็งตามาดูร์ (ค.ศ. 1166) ตั้งยืดยาวอยู่ภายใต้โบสถ์พระมหาไถ่และเป็นที่ประดิษฐานเรลิกของนักบุญอามาดูร์ ตอนบนสุดของผาเป็นปราสาทที่สร้างตั้งแต่ยุคกลางเพื่อใช้ในการป้องกันการรุกรานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

การแสวงบุญ

[แก้]

ประวัติ

[แก้]

ตำนานที่ว่ากันว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เดินทางมาจาริกแสวงบุญที่รอกามาดูร์เป็นเรื่องของ “ปาฏิหาริย์ของแม่พระแห่งรอกามาดูร์” ที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1172[4] ซึ่งเป็นตัวอย่างของ “ตำนานปาฏิหาริย์” (miracula) ที่เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในยุคกลาง

ตามตำนานแล้วรอกามาดูร์เป็นชื่อที่ตั้งตามนักบุญอามาดูร์ผู้เป็นผู้ก่อตั้งคริสต์ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ ที่อาจจะเป็นคนคนเดียวกับศักเคียสนายภาษีจากเยรีโคที่กล่าวถึงในพระวรสารนักบุญลูกา 19:1-10 และเป็นสามีของนักบุญเวโรนีกาผู้ซับพระพักตร์พระเยซูขณะที่ดำเนินขึ้นไปยังกลโกธา เมื่อมีการเบียดเบียนชาวคริสต์กันขึ้นในปาเลสไตน์นักบุญอามาดูร์และนักบุญเวโรนีกาก็นั่งเรือขนาดเล็กหนีออกจากปาเลสไตน์โดยการนำของทูตสวรรค์ และมาขึ้นฝั่งที่อากีแตนที่มาพบกับบิชอปนักบุญมาร์เชียลผู้เป็นสาวกองค์หนึ่งของพระเยซูที่เดินทางมาเผยแพร่พระวจนะในบริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ของกอล หลังจากที่เดินทางไปยังกรุงโรมที่ไปมีโอกาสได้เห็นเหตุการณ์การเป็นมรณสักขีของนักบุญซีโมนเปโตรและนักบุญเปาโลอัครทูตแล้ว นักบุญอามาดูร์ก็กลับมายังฝรั่งเศสเมื่อภรรยาเสียชีวิต จากนั้นอามาดูร์ก็หันไปใช้ชีวิตอย่างสันโดษในบริเวณแคร์ซี ที่ไปสร้างชาเปลที่อุทิศแก่พระแม่มารีย์ใกล้กับบริเวณที่เสียชีวิตต่อมา

เรื่องราวชีวิตของนักบุญอามาดูร์ก็เช่นเดียวกับเรื่องราวชีวิตของนักบุญองค์อื่นๆ ที่มิได้เป็นที่รู้จักกันจนเป็นเวลาเนิ่นนานหลังจากเวลาที่เชื่อกันว่าเป็นเวลาที่มีชีวิตอยู่ ชื่ออามาดูร์มิได้ปรากฏในเอกสารใด ๆ ก่อนหน้าที่จะมีการรวบรวมหนังสือกิจการที่เกี่ยวกับพระองค์ ที่เมื่อพิจารณาเนื้อหาแล้วก็มีอายุไม่เก่าแก่ไปกว่าคริสต์ศตวรรษที่ 12 และในปัจจุบันก็ทราบแล้วว่านักบุญมาร์เชียลผู้เป็นบุคคลร่วมสมัยมีชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 มิใช่คริสต์ศตวรรษที่ 1 และโรมก็มิได้รวมนักบุญอามาดูร์ในบัญชีอัครทูต การที่ขาดหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับนักบุญอามาดูร์ หรือมีแต่หลักฐานที่น่าเคลือบแคลงดังกล่าวทำให้เสนอกันว่านักบุญอามาดูร์เป็นนักพรตไม่ทราบนามหรืออาจจะเป็นนักบุญอามาทอร์ (Saint Amator) บิชอปแห่งโอแซร์ แต่ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานโดยไม่มีข้อมูลสนับสนุนเท่านั้น

หลังจากความรุ่งเรืองในยุคกลางแล้วรอกามาดูร์สูญก็มาเสื่อมโทรมลงระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส ตัวเมืองแทบจะถูกทิ้งร้าง ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 บิชอปแห่งกาออร์ก็เป็นตัวตั้งตัวตีรื้อฟื้นรอกามาดูร์ขึ้นมาใหม่ จนทำให้กลับมามีผู้แสวงบุญนิยมเดินทางมาสักการะรูปเคารพกันอีก

ผู้แสวงบุญคนสำคัญบางคน

[แก้]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Répertoire national des élus: les maires". data.gouv.fr, Plateforme ouverte des données publiques françaises (ภาษาฝรั่งเศส). 9 August 2021.
  2. The "roc or rocca of Amadour".
  3. The modern account is J. Rocacher, Rocamadour et son pèlerinage: étude historique et archéologique, 2 vols. (Toulouse) 1979.
  4. Marcus Graham Bull, The Miracles of Our Lady of Rocamadour: Analysis and Translation (1999) justifies his dating of 1172 and 1173 (for book III), an uncharacteristically rapid assemply of miracle accounts, which were commonly assembled over decades (p. 27); the collection contains 126 miracles in three books.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ รอกามาดูร์