ย่านคลองตัน
ย่านคลองตัน เป็นย่านที่มีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณแยกคลองตันซึ่งเป็นการบรรจบกันของถนนสี่สาย คือ ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ถนนเพชรบุรี ถนนรามคำแหง และถนนพัฒนาการ[1] ใกล้แยกคลองตันมีสถานีรามคำแหงในระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
ประวัติ
[แก้]ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการขุดคลองแสนแสบเพื่อเป็นเส้นทางกองทัพไปรบกับญวน ยังได้มีการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองแสนแสบกับคลองพระโขนงโดยแรงงานชาวมลายูและคนกลันตันทางใต้ของสยาม จึงได้ตั้งชื่อคลองว่า คลองกลันตัน ภายหลังเรียกให้สั้นลงเหลือเพียง "คลองตัน"[2] อย่างไรก็ตามอีกที่มาของชื่อเล่าว่า บริเวณนี้เป็นทางน้ำแยกเป็น 3 สาย แยกหนึ่งไปทางประตูน้ำ แยกสองไปมีนบุรี หนองจอก แยกสามไปทางพระโขนง การสัญจรใช้ผ่านไปทางพระโขนงมีทำนบกั้นสูงมาก ไม่สามารถที่จะใช้เป็นเส้นทางผ่านไปมาได้ ชาวบ้านในละแวกนั้นจึงเรียกตำบลนี้ว่า คลองตัน[3]
เมื่อชาวมลายูและกลันตันซึ่งเป็นมุสลิมได้ตั้งรกรากทำนาทำไร่อยู่ริมคลอง เกิดเป็นชุมชนริมคลอง จนเมื่อ พ.ศ. 2479 มีการตัดถนนกรุงเทพ–สมุทรปราการหรือปัจจุบันคือถนนสุขุมวิท จึงได้เกิดชุมชนริมถนน[2]
การใช้พื้นที่
[แก้]ชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณคลองตัน เช่น ชุมชนข้างสะพานคลองตันตั้งอยู่ริมคลองตันใต้เชิงสะพานคลองตัน เป็นชุมชนมุสลิม ถือเป็นชุมชนแออัดมีประมาณ 60 หลังคาเรือน บริเวณสี่แยกคลองตันมีตลาดคลองตันประกอบด้วยอาคารและสิ่งปลูกสร้างสูง 3–5 ชั้น[2] มีศาสนสถานคือ มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม (คลองตัน) อาคารหลังใหม่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เจาะลึกทำเลแยกคลองตัน ทำเลที่อยู่อาศัยตอบโจทย์ทุกการเดินทาง".
- ↑ 2.0 2.1 2.2 รุจนัมพร เกษเกษมสุข. "การพัฒนาพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเพื่อประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน : กรณีศึกษาย่านคลองตัน กรุงเทพมหานคร" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.
- ↑ "มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม (คลองตัน)".