ยฺวี่ชาน
ยฺวี่ชาน | |
---|---|
ภูเขาหยก | |
ยฺวี่ชานจากยอดทางทิศเหนือ | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 3,952 เมตร (12,966 ฟุต) |
ความสูง ส่วนยื่นจากฐาน | 3,952 เมตร (12,966 ฟุต) อันดับที่ 27 |
รายชื่อ | จุดสูงสุดของประเทศ Ultra 100 ยอดเขาของไต้หวัน |
พิกัด | 23°28′12″N 120°57′26.16″E / 23.47000°N 120.9572667°E |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
สถานที่ตั้งของยฺวี่ชาน (อุทยานแห่งชาติยฺวี่ชาน) | |
ที่ตั้ง | ขอบของ เกาสฺยง/ เจียอี้/ หนานโถว, ไต้หวัน |
เทือกเขา | เทือกเขายฺวี่ชาน |
การพิชิต | |
พิชิตครั้งแรก | 1898 by German explorer Karl Theodor Stöpel |
เส้นทางง่ายสุด | Maintained trail, snow/ice climb during some winter months |
ยฺวี่ชาน | |||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 玉山 | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ไปรษณีย์ | Mount Morrison | ||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | Jade Mountain | ||||||||||||||||||
|
ชื่อเก่า | |||||||||||||||
Batongguan | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 八通關 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 八通关 | ||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | transcribing the Tsou name Patungkuanu | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
Baiyushan | |||||||||||||||
ภาษาจีน | 白玉山 | ||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | White Jade Mountain | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
Xueshan | |||||||||||||||
ภาษาจีน | 雪山 | ||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | Snowy Mountain | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
Mugangshan | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 木岡山 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 木冈山 | ||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | Wooded Mountain | ||||||||||||||
|
ภูเขานีทากะ | |||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 新高山 | ||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | New High Mountain | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||
คันจิ | 新高山 | ||||||||
ฮิรางานะ | にいたかやま | ||||||||
|
ยฺวี่ชาน (จีน: 玉山) หรือ ภูเขาหยก หรือ ภูเขานีทากะ ระหว่างการปกครองโดยญี่ปุ่น เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในไต้หวันด้วยความสูง 3,952 เมตร (12,966 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลทำให้ไต้หวันเป็นเกาะที่มีจุดที่สูงที่สุดสูงสุดเป็นอันดับที่ 4 ของโลก เป็นจุดที่สูงที่สุดในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกนอกคาบสมุทรคัมชัตคา ยฺวี่ชานและภูเขาโดยรอบเป็นของเทือกเขายฺวี่ชาน พื้นที่นี้เคยอยฺวี่ในมหาสมุทรซึ่งสูงขึ้นถึงระดับความสูงในปัจจุบันจากการเคลื่อนตัวของแผ่นยูเรเชียบนแผ่นทะเลฟิลิปปิน
ขณะนี้ภูเขาได้รับการคุ้มครองในฐานะอุทยานแห่งชาติยฺวี่ชาน อุทยานแห่งชาติแห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุด สูงที่สุด และเข้าถึงได้น้อยที่สุดของไต้หวัน มีพื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่ใหญ่ที่สุดที่เหลืออยฺวี่ในไต้หวัน และมีคุณค่าจากป่าไม้เก่าแก่และความหลากหลายทางธรรมชาติรวมถึงยังมีสิ่งมีชีวิตถิ่นที่อยฺวี่หลายสายพันธุ์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2552 ยฺวี่ชานได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 28 ผู้เข้ารอบสุดท้ายในแคมเปญโหวตเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลกยุคใหม่ และยังเคยรั้งตำแหน่งสูงสุดในหมวดหมู่ "ภูเขาและภูเขาไฟ" ในรายการการโหวตรอบแรกของสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อรวม 77 สถานที่ซึ่งสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคม 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ประวัติศาสตร์
[แก้]ระหว่างการปกครองโดยราชวงศ์ชิง W. Morrison กัปตันของอเล็กซานเดอร์ เรือบรรทุกสินค้าไอน้ำอเมริกัน ได้เห็นภูเขาขณะเดินทางออกจากท่าเรืออันผิง (ปัจจุบันคืออันผิงในไถหนาน) ในปี พ.ศ. 2400 บันทึกนั้นเป็นการกล่าวถึงภูเขาแห่งนี้ครั้งแรกในโลกตะวันตก[1][2]
ระหว่างการปกครองโดยญี่ปุ่น นักมานุษยวิทยา Torii Ryūzō และ Ushinosuke Mori กลายเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้รับการบันทึกในที่ได้พิชิตยอดเขาในปี พ.ศ. 2443 พวกเขาให้ชื่อว่า "ภูเขานีทากะ" ซึ่งใช้เป็นชื่อของอุทยานแห่งชาตินีทากะอะริซัน (新高阿里山国立公園) ในปี พ.ศ. 2480 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นยังใช้ชื่อภูเขาในการส่งสัญญาณ - นีทากะยามะโนโบเระ (ニイタカヤマノボレ) หรือ "ปีนภูเขานีทากะ" เพื่อเริ่มการโจมตีกองเรือ USN Pacific และฐานทัพที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ฮาวาย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484[3]
ในปี พ.ศ. 2509 ในช่วงการปกครองของสาธารณรัฐจีน มีการนำรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ของ ยฺหวี โย่วเริ่น ไปตั้งไว้บนยอดเขายฺวี่ชาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 นักเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชไต้หวันโค่นรูปนั้นลงและทิ้งรูปลงไปในหุบเหว[4]
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยฺวี่ชานมีบทบาทสำคัญในการมุ่งเน้นไปที่เอกลักษณ์ของไต้หวัน เนื่องจากสถานะที่โดดเด่น ยฺวี่ชานจึงได้รับเลือกให้เป็นพื้นหลังของธนบัตรมูลค่า 1,000 ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ที่ออกใหม่เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2548[5] ในทำนองเดียวกันดาวเคราะห์น้อยที่เพิ่งค้นพบโดย Lulin Observatory of National Central University ได้รับการตั้งชื่อตามยฺวี่ชานเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ EB (1879), p. 415.
- ↑ Cheng, Zoe (1 March 2007), "Taiwan Looks for Its Roots", Taiwan Today, Taiwan: ROC Ministry of Foreign Affairs.
- ↑ MacDonald, Scot (October 1962). Evolution of Aircraft Carriers – the Japanese Developments (PDF). Naval Historical Center, Washington Navy Yard, DC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-26. สืบค้นเมื่อ August 10, 2006.
- ↑ 1 เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Bulletin Board of Central Bank of the Republic of China.
- ↑ Yushan Asteroid. เก็บถาวร กันยายน 1, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน