ยุทธวิธีแบบนโปเลียน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ยุทธวิธีแบบนโปเลียน อธิบายแบบแผนกลยุทธ์ในสนามรบที่ถูกใช้งานโดยกองทัพของชาติต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงช่วงที่มีการประดิษฐ์และนำปืนไรเฟิลคาบศิลามาใช้งานในช่วงศตวรรษที่ 19 ยุทธวิธีแบบนโปเลียนถูกบรรยายลัษณะไว้ว่า มีการฝึกซ้อมทหารที่หนักหน่วง, การเคลื่อนที่ในสนามรบรวดเร็ว, สนธิกำลังเข้าตีระหว่างทหารราบ, ทหารม้า และปืนใหญ่สนาม (artillery), ปืนใหญ่ (cannon) มีส่วนเกี่ยวข้องน้อย, การยิงด้วยปืนคาบศิลาในระยะใกล้ และการเข้าตะลุมบอนด้วยดาบปลายปืน[1] จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับการพิจารณาโดยนักประวัติศาสตร์การทหารเป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันว่า เป็นผู้ชำนาญการสูงสุดในรูปแบบการสงครามลักษณะนี้ ยุทธวิธีแบบนโปเลียนยังคงถูกใช้งานต่อเนื่องเรื่อยมาแม้จะเป็นช่วงที่ไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ซึ่งได้รับการพัฒนาไปมากแล้วก็ตาม นำมาสู่ฆ่าฟันกันล้มตายอย่างมากมายมหาศาลในระหว่างช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา, สงครามออสเสรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ก่อนจะปรับเปลี่ยนในช่วงสงครามโลกที่ 1 ที่ได้ใช้ยานเกราะมากขึ้น
ยุทธวิธีของทหารราบ
[แก้]ทหารราบ จัดเป็นรากฐานของยุทธวิธีแบบนโปเลียนเนื่องจากเป็นประเภททหารที่มีกำลังพลมากที่สุดในการศึกสำคัญในยุโรประหว่างศตวรรษที่ 18–19 ยุทธวิธีแบบนโปเลียนหลายยุทธวิธีมีรากฐานมากจาก Ancien Regime royalist strategists เหมือน Jean-Baptiste de[2] โดยเน้น"ความยืนหยุนในการใช้ปืนใหญ่สนาม" และได้ "ละทิ้งการเคลื่อนขบวนแบบหน้ากระดาน (ซึ่งหน่วยรบจะมีอำนาจการยิงสูงสุด) โดยไปนิยมการโจมตีด้วยรูปขบวนแถวตอน”[3]
ทหารราบใช้ปืนนกสับคาบศิลาแบบลำกล้องเรียบ ซึ่งเป็นอาวุธมาตรฐานในยุคนโปเลียน โดยแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตั้งแต่ John Churchill, 1st Duke of Marlborough บัญชาการกองทัพอังกฤษในการรบ Battle of Blenheim ในปี 1704 สำหรับการยิงเป้าหมายที่มีขนาดตัวเท่ามนุษย์ปืนนกสับคาบศิลาจะมีระยะหวังผลใกล้เพียง 50 หลา ถึง 70 หลา ทหารที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีใช้เวลาในการยิงต่อนัดราว 15–20 วินาที จนกระทั่งดินปืน (ซึ่งในยุคนั้นเรียกว่า black powder เป็นดินปืนสมัยเก่า) พอกตัวหนาขึ้นในในลำกล้องและกลไกซึ่งอาวุธปืนจะต้องได้รับการล้างให้สะอาดก่อนจึงยิงต่อได้ซึ่งก็จะเสียเวลาเพิ่มเข้าไปอีก ปืนคาบศิลาของฝรั่งเศสในปี 1777 สามารถยิงได้ไกลถึง 100 หลา แต่ "จะหลุดเป้า 1 นัดเสมอทุกๆการยิง 6 นัด" [4]
โดยมาก ทหารในสนามรบยุคนโปเลียนมักจะถูกขู่บังคับให้อยู่ภายในพื้นที่การรบ เพื่อจะจัดการกับความโน้มเอียงไปสู่การปกป้องตนเองส่วนบุคคลและเพื่อที่จะทำให้อำนาจการยิงได้ประสิทธิภาพสูงสุด กองทหารราบจะสู้รบแบบยืนหน้ากระดานไหล่ชนไหล่ อย่างน้อย 2-3 หน้ากระดานซ้อนกัน และทำการยิงแบบพร้อมกันเป็นชุดๆ (Volley fire) นายทหารชั้นประทวนและสัญญาบัตรจะถือดาบหรือง้าว (ง้าวในที่นี้หมายถึงง้าวฝรั่ง เป็นขวานด้ามยาว) ซึ่งใช้ทำให้ทหารราบอยู่ในแถวยิง ถ้าทหารคนใดคนหนึ่งหลบเลี่ยงหน้าที่และหนีออกจากพื้นที่การรบ โดยปกติแต่ละกองทัพจะมีแถวทหารม้าซึ่งยืนตรวจตราอยู่แนวหลังคอยปลุกขวัญให้ทหารกลับเข้าสู่กองรบของตนเอง เพื่อช่วยในการควบคุมและบัญชาการทหารราบ ทหารแต่ละคนจะสวมเครื่องแบบทหารที่มีสีสันมองเห็นได้ชัดจากระยะไกลแม้ว่าจะมีม่านหมอกของควัญจากดินปืนลอยอยู่เหนือสนามรบก็ตาม นโปเลียนเองไม่เคยเลยที่จะละเลยความสำคัญของขวัญกำลังใจ มีครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "กำลังขวัญสำคัญกว่ากำลังพลในการเอาชนะข้าศึก" [5]
ทหารราบบนสนามรบ
[แก้]การรบในยุคนโปเลียนเกิดขึ้นใน พื้นที่ราบ, หมู่บ้าน, ถนน และลำธาร กองทัพฝรั่งเศสมองว่า เมืองใหญ่, ภูเขา, พื้นที่หล่มโคลนเฉอะแฉะ และป่าทึบ ไม่ใช่พื้นที่ที่เหมาะสมในการต่อสู้ แม่ทัพ เช่น Duke of Wellington ในการรบ Battle of Waterloo มองหาภูมิประเทศที่เหมาะแก่การวางกำลัง โดยทั่วไปกองทหาราบจะใช้รูปขบวนรบ 3 แบบ ได้แก่ รูปขบวนแถวตอน, รูปขบวนแถวหน้ากระดาน และรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัส
รูปขบวนแบบแรก รู้จักกันในชื่อ รูปขบวนแถวตอน เนื่องจากรูปร่างเป็นแบบหน้าแคบแต่แถวลึก เหมาะสำหรับการเคลื่อนพลไปบนถนนหรือเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเข้าหาศัตรูบนพื้นที่แบบลานเปิด เนื่องจากรูปขบวนแถวตอนเป็นเป้าขนาดใหญ่ของปืนคาบศิลาและปืนใหญ่ โดยปกติกองทหารจะเปลี่ยนรูปขบวนเมื่อเข้าใกล้ศัตรู
รูปขบวนแบบที่สอง รู้จักกันในชื่อ รูปขบวนแถวหน้ากระดาน จัดวางรูปขบวนโดยใช้แนวหน้ากระดาน 2–3 แนววางซ้อนกัน ช่วยให้หน่วยมีจำนวนปืนในการยิงแต่ละชุดมากขึ้น ทำให้คุมพื้นที่สังหารในสนามรบได้กว้างกว่ารูปขบวนแถวตอน และทำให้หน่วยมีอำนาจการยิงสูงสุด หน้ากระดานยาวๆหลายหน้ากระดานพิสูจน์แล้วว่ายากต่อการรักษารูปขบวน เนื่องจากรูปขบวนต้องรวมตัวกันเป็นปืกแผ่นตลอดเวลาระหว่างการเคลื่อนขบวนในระยะไกลๆ แต่ในสนามรบมักจะมีสิ่งรบกวน เช่น คูน้ำ, รั้ว และต้นไม้ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยาก รูปขบวนแถวหน้ากระดานมักตกเป็นเหยื่อของการเข้าจู่โจมจากกองทหารม้าเนื่องจากทหารม้าสามารถเคลื่อนที่เข้าจู่โจมจากระยะ 50 หลาโดยรับความเสียหายจากการยิงโดยทหารราบเพียงชุดเดียว
รูปขบวนแบบที่สาม รู้จักในชื่อ รูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือกระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใช้แนวทหารซ้อนกันลึก 4–6 แนวโดยจัดให้มีรูปทรงจัตุรัสหรือผืนผ้าเพื่อป้องกันทหารราบจากการเข้าจู่โจมของของทหารม้า โดยเป้าหมายของรูปขบวนแบบนี้คือไม่ต้องการเปิดด้านหลังหรือด้านข้างของกองทหารราบให้กับกองทหารม้า หน่วยรบสามารถเคลื่อนที่ได้แม้จัดรูปขบวนแบบนี้ แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ารูปขบวนแบบนี้เคลื่อนที่ได้ช้ากว่ารูปขบวนแบบตอนลึกและอ่อนแอต่อการโจมตีด้วยปืนคาบศิลาและปืนใหญ่ ดังนั้น หากทหารราบของฝ่ายศัตรูดูจะเป็นภัยมากกว่ากองทหารม้า หน่วยรบจะเปลี่ยนจากรูปขบวนจัตุรัสเป็นรูปขบวนแถวหน้ากระดาน
รูปขบวนแบบที่สี่ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นรูปขบวนแบบพิเศษของกองทัพฝรั่งเศส คือ รูปขบวน l'ordre mixte (Mixed Order) เป็นการผสมรูปขบวนแถวหน้ากระดานกับแถวตอนเข้าด้วยกัน ใช้สำหรับผลักดันทหารราบข้าศึก รูปขบวนแบบนี้มี "น้ำหนัก" ของส่วนที่เป็นแถวตอนลึกเพื่อใช้ผลักดันและเจาะฝ่าแนวข้าศึก แต่ในขณะเดียวกันบางหมู่ในรูปขบวนก็จัดเป็นรูปขบวนแถวหน้ากระดานเพื่อชดเชยความอ่อนด้อยในอำนาจการยิงของรูปขบวนแถวตอนลึก [6] อย่างไรก็ดี รูปขบวนแบบนี้ถูกใช้งานน้อยมากๆ เพราะเป็นการผสมผสานที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นเท่าใดนัก เนื่องจากรูปขบวนแถวหน้ากระดานหรือรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัสมักให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
ทหารราบเบา (ทหารราบเคลื่อนที่เร็ว) โดยปกติจะประกอบขึ้นด้วยทหารที่มีความสูงน้อยกว่า 5 ฟุต 6 นิ้ว ซึ่งจะยืนล้ำออกไปข้างหน้ากองทหารของตนเองในระหว่างที่กองทหารของตนเองเคลื่อนที่เข้าหาศัตรู โดยมีหน้าที่คือคอยยิงประปรายใส่ข้าศึกด้วยปืนคาบศิลาเพื่อก่อกวนและพยายามขับไล่ทหารราบเบาของฝ่ายข้าศึกที่ส่งออกมาก่อกวนกองทหารของฝ่ายตนเองเช่นกัน ทหารราบเบาสู้แบบ Skirmisher แทนการสู้แบบยืนไหล่ชนไหล่ ซึ่งจะสร้างข้อได้เปรียบเนื่องจากมีที่ว่างระหว่างเพื่อนทหารไว้สำหรับเข้าที่กำบังเล็กๆในขณะที่เคลื่อนที่เข้าหาศัตรูพร้อมกับยิงไปบรรจุกระสุนไป ในท้ายที่สุด เมื่อ line infantry และ grenadier ของกองรบเดียวกับเหล่าทหารราบเบาตามมาทัน ทหารราบเบาก็จะกลับเข้าสู่แถวทหารถายในหน่วยของตน สำหรับ line infantry โดยปกติทหารจะมีความสูงอยู่ระหว่าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ถึง 5 ฟุต 11 นิ้ว ซึ่งโดยทั่วไปจะเริ่มยิงชุดแรกที่ระยะห่างจากข้าศึกตั้งแต่ 100 หลา การเริ่มยิงชุดแรกมีความสำคัญมากเพราะทหารยังคงมองเห็นเป้าหมายได้ชัดเจนที่สุดทำให้มีโอกาศยิงโดนข้าศึกมากที่สุด เหล่าทหารที่สร้างความน่าสะพรึงกลัวมากที่สุดของกองรบคือ grenadier ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วทหารจะสูงอย่างน้อย 6 ฟุต โดยปกติจะสวมเครื่องประดับศีรษะ เช่น หนังหมี เพื่อทำให้ดูน่าเขย่าขวัญยิ่งขึ้น พวกเขามักจะจู่โจมเข้าตะลุมบอนหรือจู่โจมกลับเมื่อดูจากการต่อสู้แล้วเห็นว่าฝ่ายของตนค่อนข้างเพลี่ยงพล้ำและสิ้นหวัง หลังจากการยิงชุดแลกกันระหว่างหน่วยรบ นายทหารจะประเมินสถานการณ์และตัดสินใจว่าจังหวะใดเหมาะที่สุดที่จะสั่งให้จู่โจมเข้าตะลุมบอนด้วยดาบปลายปืน โดยหลังจากความเสียหายรุนแรงจากการยิงด้วยปืนคาบศิลาในระยะใกล้ ภาพของหน่วยทหารราบที่ยังดูสมบูรณ์และทะมัดทะแมงเคลื่อนตัวเข้ามาด้วยปืนคาบศิลาที่ติดดาบปลายปืนมักจะทำให้เสียขวัญเกินกว่าจะทนได้และมักจะแตกหนีไปในที่สุด As a result of this fear inspired by the shining metal of the bayonet a bayonet charge rarely ever caught much other than the bravest enemy infantry, before the remaining opposition either flees or routs.[7]
ยุทธวิธีของทหารม้า
[แก้]การสงครามในยุคนี้ หน่วยทหารม้ามีความรับผิดชอบมากมายในสนามรบ พวกเขาขี่ม้าจึงทำให้พวกเขาเป็นกองกำลังที่เคลื่อนที่เร็วที่สุด พวกเขาจะปฏิบัติหน้าที่สอดแนมและหยั่งกำลังข้าศึกเพื่อให้ทราบ ขนาดกำลัง, ความเข้มแข็ง และตำแหน่งแห่งที่ของกองกำลังข้าศึก ในขณะเดียวกันก็ป้องกันมิให้ข้าศึกสอดแนมและหยั่งกำลังของฝ่ายตน
ทหารม้ามีส่วนในการทำลายขวัญกำลังใจของข้าศึกในสนามรบยุคนโปเลียนเช่นกัน ซึ่งคล้ายคลึกกับรถถังในยุคศตวรรษที่ 20-21 ด้วยการรบในยุคนี้มีระยะยิงหวังผลที่สั้น, การบรรจุกระสุนนัดถัดไปใช้เวลานาน และการพอกตัวอย่ารวดเร็วของดินปืนในกลไกและลำกล้องของปืนคาบศิลาลำกล้องเรียบในยุคนี้ ทำให้หน่วยทหารม้าสามารถเคลื่อนเข้าประชิดหน่วยทหารราบได้ก่อนที่หน่วยทหารม้าจะถูกทำลายลงโดยปืนคาบศิลา หน่วยทหารม้ามีความรับผิดชอบในการตรึงให้กองกำลังของข้าศึกให้อยู่กับที่ด้วย โดยทั่วไป เมื่อทหารม้าจู่โจมเข้าใส่หน่วยทหารราบ หน่วยทหารราบจะแปรขบวนเป็นรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งเป็นรูปขบวนที่ค่อนข้างนิ่งเคลื่อนที่ได้ยาก ถ้าหากหน่วยทหาราบล้มเหลวในการจัดรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมากพวกเขาจะถูกการจู่โจมอย่างหนักหน่วงของทหารม้าตีจนแตกพ่ายจากสนามรบไป บ่อยครั้งหน่วยทหารม้าก็จะต่อสู้กับหน่วยทหารม้าของข้าศึกซึ่งโดยหลักก็จะเป็นการที่ต่างฝ่ายต่างทำลายกำลังของอีกฝ่ายแลกกันไป ความเร็วในการเคลื่อนที่ของหน่วยทหารม้าเพียงพอต่อการทำให้กองกำลังของข้าศึกตกตะลึง โดยเฉพาะสนามรบในยุคนี้มักจะถูกปกคลุมด้วยควัญจากดินปืนจากปืนคาบศิลา, ดินปืนจากปืนใหญ่ และ ดินปืนจากhowitzer [8] หน่วยทหารม้าจะคอยปกป้องเหล่าแม่ทัพ, นายพลและจอมพล เนื่องจากนายทหารระดับสูงเหล่านี้มักจะขี่ม้าอยู่แล้วและดูเหมือนจะเคลื่อนที่เร็วเกินกว่าที่จะให้ทหารราบซึ่งเคลื่อนที่ช้ากว่ามาปกป้อง
ทหารม้าบนสนามรบ
[แก้]หน่วยทหารม้าต้องการการส่งกำลังบำรุงที่ดีที่สุดเข้ามาสนับสนุน เพราะว่าม้าบริโภคอาหารสัตว์เป็นจำนวนมากและจะเหนื่อยเร็วมากในยามที่ถูกควบขี่เข้าสู่การต่อสู้ เหล่าทหารม้ายังไม่เหมาะเป็นอย่างยิ่งในการรักษาพื้นที่เพราะพวกเขามักถือปืนคาบศิลาลำกล้องเรียบซึ่งมีลำกล้องสั้น ทำให้ระยะยิงหวังผลสั้นและเหล่าทหารม้าก็ถูกฝึกมาให้ต่อสู้บนหลังม้า แต่ทหารม้าดรากูน (dragoon) บางหน่วยจะต่อสู้ทั้งบนหลังม้าและลงจากหลังม้า หน่วยทหารม้าจะอ่อนแอต่อการโดนโจมตีด้วยปืนใหญ่สนามเนื่องจากม้าเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ โดยปกติเมื่อหน่วยทหารม้าจะจู่โจมเข้าใส่หน่วยปืนใหญ่สนาม พวกเขาจะได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก แต่การสร้างความเสียหายให้กับหน่วยปืนใหญ่สนามนั้นกลับเป็นผลลัพธ์เพียงเล็กน้อย พลปืนใหญ่สนามจะทำการยิงไปเรื่อยๆจนกระทั่งทหารม้าเข้ามาใกล้พวกเขาก็จะถอนตัวจากปืนใหญ่และเข้าไปหลบภายในหน่วยทหารราบฝ่ายเดียวกันที่จัดรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัส ณ.จุดนี้ทหารม้าถูกฝึกให้นำตะปูไร้หัวเข้าไปตอกใส่รูจุดชนวนที่อยู่ใกล้ๆกับส่วนท้ายของปืนใหญ่ ด้วยวิธีนี้ทำให้ปืนใหญ่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในสนามรบอีกได้ต่อไป
ยุทธวิธีของปืนใหญ่สนาม
[แก้]ยุคนโปเลียนจะเห็นการพัฒนาปืนใหญ่สนามเป็นจำนวนมาก ปืนใหญ่สนาม (มักจะรู้จักในชื่อ ปืนใหญ่เบา) เป็นรูปแบบปืนใหญ่ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ซึ่งใช้สนับสนุนกองทัพในสนามรบ ปืนเหล่านี้ถูกพัฒนาโดยมุ่งเน้นความสามารถด้าน การเคลื่อนพล, การเคลื่อนที่, ความแม่นยำในระยะไกล และความเร็ว [9] ปืนใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้นี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ในสมัย Gustavus Adolphus แห่งสวีเด็นในช่วงสงครามสามสิบปี (1618-1648) [10] Adolphus ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บัญชาการคนแรกที่นำหน่วยปืนใหญ่เบาจำนวนมากเข่าสู่การสู้รบและจัดวางกำลังโดยสนธิกำลังกับหน่วยรบที่ใช้อาวุธประเภทอื่น [11] ในช่วงกลางศตวรรษที่สิบแปด ผู้บัญชาการจากหลากหลายชาติต่างก็มาถึงข้อสรุปที่ว่าปืนใหญ่เคลื่อนที่ได้ซึ่งสามารถติดตามไปเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งและไม่มีกองทัพใดจะมีประสิทธิภาพในการเพียงพอถ้าไม่มีปืนใหญ่เหล่านี้ [10] ความสำคัญของปืนใหญ่สนามมิได้ถูกจำกัดเพียงแค่ภายในระยะการยิงเท่านั้น แต่ปืนใหญ่สนามมีความสำคัญถึงขั้นเปลี่ยนสถานการณ์ภายในสนามรบได้เลย [12] หลังจากการปฏิรูปกองทัพซึ่งแบ่งกองทัพออกเป็นเหล่าๆ กองทัพฝรั่งเศสได้จัดตั้งรูปขบวนปืนใหญ่กึ่งอัตโนมัติโดยมีนายทหารปืนใหญ่เป็นผู้นำและประสานงาน รูปขบวนเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถ, กลยุทธ์ และอำนาจการโจมตีของปืนใหญ่สนามในสนามรบ[13] ในสมัยของนโปเลียน ปืนใหญ่สนามจะประกอบไปด้วย ปืนใหญ่เดินเท้า, ปืนใหญ่ม้าลาก และปืนใหญ่ภูเขา [10]
ปืนใหญ่ในสนามรบ
[แก้]ปืนใหญ่สนามเป็นอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดบนสนามรบในยุคนโปเลียน และการใช้งานพวกมันสามารถหยุดหน่วยรบของข้าศึกไม่ให้เคลื่อนที่ได้ [14] กระสุนปืนใหญ่ที่ทำจากโลหะตัน (รู้จักกันในชื่อ "กระสุนทรงกลม") เป็นกระสุนพื้นฐานของปืนใหญ่สนาม กระสุนแบบนี้มีประสิทธิภาพในในการต่อกรกับรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปขบวนแถวตอนลึกที่มีคนมากๆ เมื่อยิงในแนวที่เกือบจะขนานพื้นลูกกระสุนจะกระดอนพื้นไปเรื่อยๆเข้าสู่กองกำลังของข้าศึกซึ่งจะทะลุทะลวงและทำลายล้างตามแนววิถีกระสุน ที่สำคัญ กระสุนที่ถูกยิงออกหลังจากกระดอนเพียงไม่กี่ทีก็จะเริ่มหมุนและฉีกทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่มันกระทบ อย่าลืมว่า พลประจำปืนใหญ่สนามมักจะมองหาพื้นที่ที่เป็นพื้นแข็ง. เรียบ และเป็นพื้นที่เปิด [13] ในระยะที่ประชิดมากๆ ปืนใหญ่สามารถสามารถใช้ "กระป๋อง" (เช่น กระสุนที่เป็นกระป๋องซึ่งภายในบรรจุเม็ดโลหะเป็นลูกปราย) เพื่อทำลายศัตรู โดยพื้นฐานแล้ว การยิงกระป๋องเปรียบได้กับการยิงปืนลูกซองขนาดยักษ์เพื่อสลายกองกำลังที่เคลื่อนเข้ามา นโปเลียนใช้ความหลากหลายของกลยุทธ์เหล่านี้ในการบดขยี้เหล่าขบท Vendémiaire นอกเหนือจากปืนใหญ่ (canon) แล้ว ปืนใหญ่สนามที่สร้างขึ้นจากปืนครกและปืนประเภทอื่นๆก็ใช้กระสุนระเบิด (มักจะรู้จักในนาม "ระเบิดหุ้มเปลือก") กระสุนระเบิดมีกิตติศัพท์ในด้านความไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากกระสุนมักระเบิดเร็วเกินไปหรือไม่ก็ไม่ระเบิดเลยอยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ดี ในกรณีที่กระสุนระเบิดใส่เป้าหมายอย่างจัง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือความเสียหายอย่างยับเยินของเป้าหมาย โดยเฉพาะหากระเบิดใส่หน่วยทหารม้า [14]
ในสื่อที่ได้รับความนิยม
[แก้]The Battle of Waterloo (June 18, 1815) was depicted in the 1970 movie, Waterloo.
Napoleon Total War (2010) is a strategy game for PC by Creative Assembly based around Napoleon's campaigns and tactics.[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Fighting Techniques of the Napoleonic Age 1792– - 1815: Equipment, Combat Skills, and Tactics" by Robert B. Bruce, Iain Dickie, Kevin Kiley, and Michael F. Pavkovic, Published by Thomas Dunne Books, 2008
- ↑ Palgrave History of Europe, 41
- ↑ Rapport, Michael (2005). "Nineteenth-Century Europe," Palgrave History of Europe, 41
- ↑ Ross, Stephen (1979). From Flintlock to Rifle: Infantry Tactics, 1740-1866. Frank Cass & Co. LTD, Abingdon, 25.
- ↑ Chandler, David (1996). The Campaigns of Napoleon 155
- ↑ Rapport, Michael (2005). "Nineteenth-Century Europe," Palgrave History of Europe, 41
- ↑ "The Campaigns of Napoleon" by David G. Chandler, Scribner, 1973
- ↑ "Marengo 1800:Napoleon's day of fate (Campaign)" by David Hollins, Osprey Publishing, 2000
- ↑ “The background of Napoleonic warfare; the theory of military tactics in eighteenth-century France." by Robert S. Quimby, New York, Columbia University Press (1957)
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "Fighting Techniques of the Napoleonic Age 1792– - 1815: Equipment, Combat Skills, and Tactics" by Robert B. Bruce, Iain Dickie, Kevin Kiley, and Michael F. Pavkovic, Published by Thomas Dunne Books, 2008, p. 171-173
- ↑ In Chapter V of Clausewitz' On War, he lists Gustavus Adolphus as an example of an outstanding military leader, along with: Alexander the Great, Julius Caesar, Alexander Farnese, Charles XII, Frederick the Great and Napoleon Bonaparte
- ↑ http://www.napoleon-series.org/military/organization/c_kevarty2.html
- ↑ 13.0 13.1 http://www.wtj.com/articles/napart/
- ↑ 14.0 14.1 Ashby, Ralph (2010). “Napoleon Against Great Odds” Praeger
- ↑ totalwar.com