ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการไซ่ง่อน (พ.ศ. 2511)

พิกัด: 10°46′01″N 106°40′01″E / 10.7669°N 106.6669°E / 10.7669; 106.6669
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการไซ่ง่อนครั้งที่หนึ่ง
ส่วนหนึ่งของ การรุกตรุษญวนแห่งสงครามเวียดนาม

ควันดำเหนือพื้นที่เมืองหลวง และมีรถดับเพลิงไปดับไฟในช่วงที่ เวียดกง โจมตีในช่วงตรุษญวน ไซ่ง่อน ค.ศ. 1968
วันที่30 มกราคม – 7 มีนาคม ค.ศ. 1968
สถานที่
ผล

เวียดนามใต้-สหรัฐชนะ

  • ต้านทานการโจมตีของฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้

เวียดกง - เวียดนามเหนือได้รับชนะทางการเมืองและโฆษณาชวนเชื่อ

  • เกิดขบวนต่อต้านสงครามในสหรัฐมากขึ้น
คู่สงคราม
 เวียดนามใต้
สนับสุนนโดย สหรัฐ
 ออสเตรเลีย
เวียดกง
 เวียดนามเหนือ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เหงียน วัน เถี่ยว
สหรัฐ วิลเลียม เวสต์มอร์แลนด์
สหรัฐ โรเบิร์ต แม็กนามารา
Trần Độ
Trần Văn Trà
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ถูกฆ่า 1,100 นาย

ยุทธการไซ่ง่อนครั้งที่หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการรุกตรุษญวน ระหว่างสงครามเวียดนาม ยุทธการนี้เป็นการโจมตีจากหลายด้านของกองกำลังคอมมิวนิสต์ ซึ่งรวมไปถึงกองทัพเวียดนามเหนือและเวียดกง เพื่อโจมตีกรุงไซ่ง่อน เมืองหลวงของเวียดนามใต้

ภูมิหลัง

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2511 ฝ่ายคอมมิวนิสต์เริ่มการรุกตรุษญวน ด้วยการโจมตีเวียดนามใต้จากทุกทาง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ดำเนินการหลักคือกองโจรเวียดกงที่แทรกซึมเข้ามา

ไซง่อนเป็นเป้าหมายหลักของการรุก แต่การยึดกรุงโดยใช้กำลังทหารนั้นยังเป็นไปไม่ได้และไม่ใช่จุดประสงค์ของการรุกอยู่แล้ว ฝ่ายคอมมิวนิสต์มีเป้าหมายอยู่ด้วยกันหกเป้าหมายภายในเมืองหลวง โดยมอบหมายให้กองพันเวียดกงทำการโจมตีและยึดมา เป้าหมายประกอบไปด้วยกองบัญชาการกองทัพสาธารณรัฐเวียดนาม (ARVN), ทำเนียบอิสรภาพ (ทำเนียบประธานาธิบดีแห่งเวียดนามใต้), สถานทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงไซ่ง่อน และฐานทัพอากาศเติ่นเซินเญิ้ต

การรบ

[แก้]

กองทัพเวียดนามเหนือ (NVA) และเวียดกงปล่อยทหาร 35 กองพันเข้าโจมตีกรุงไซ่ง่อนจากทุกด้าน ในขณะที่กองพันทหารช่างและกองกำลังท้องถิ่นทำหน้าที่โจมตีทำเนียบประธานาธิบดี, สถานีวิทยุแห่งชาติ, สถานทูตสหรัฐฯ และเป้าหมายสำคัญอื่นๆ

กองพลเวียดกงที่ห้าเข้าโจมตีฐานทัพทหารลองบินห์และเบียนฮัว กองพลเวียดนามเหนือที่เจ็ดเข้าโจมตีกองพลทหารราบที่หนึ่งของสหรัฐฯ และกองพลเวียดนามใต้ที่ห้าที่ไลแค กองพลเวียดกงที่เก้าโจมตีกองพลทหารราบที่ 25 ของสหรัฐฯ ที่ขูจี

ผลที่ตามมา

[แก้]

ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ กองบัญชาการฝ่ายคอมมิวนิสต์ตระหนักดีว่าเป้าหมายทางทหารของตนไม่สำเร็จลุล่วงแม้แต่เป้าหมายเดียว พวกเขาจึงสั่งหยุดโจมตีฐานที่มั่นทุกแห่ง แต่การสู้รบยังมีอยู่ประปรายจนวันที่ 8 มีนาคม บางส่วนของเมืองได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการสู้รบ โดยเฉพาะจากการโจมตีด้วยปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯ เขตโชลองที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มากได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เมื่อพลเรือนเป็นร้อยคนถูกสังหารจากการโจมตีตอบโต้ของฝ่ายอเมริกัน

การโจมตีไซ่ง่อนถูกถือว่าเป็นการรุกตรุษญวนที่ย่อขนาดลงมา เนื่องจากมียอดผู้เสียชีวิตสูงและฝ่ายคอมมิวนิสต์รุกเข้าโจมตีจากทุกทิศทาง นอกจากนี้ฐานทัพอเมริกันยังถูกโจมตีโดยตรงทั้งที่เบียนฮัว, ลองบินห์และเติ่นเซินเญิ้ต อาวุธหลักที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ใช้ในการโจมตีคือจรวดโซเวียตขนาด 122 มม. ที่มีระยะยิงประมาณ 11,000 เมตร

กองกำลังคอมมิวนิสต์สามารถยึดท่าอากาศยานเติ่นเซินเญิ้ตมาได้บางส่วน และทำการปิดสนามบินเป็นระยะเวลาหนึ่งในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ทำให้ทหารอเมริกันที่กำลังเดินมาทางเครื่องบิน ต้องลงจอดล่าช้าไปอย่างน้อยสองวัน เครื่องบินเหล่านั้นต้องรออยู่ที่โอคแลนด์, ฮาวาย, เกาะเวกและเกาะกวม

ฐานที่มั่นทหารที่เบียนฮัวเป็นสถานที่ถ่ายเททหารอเมริกันไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศ รวมไปถึงการส่งกำลังเข้าและออกนอกประเทศ เมื่อฐานที่มั่นถูกโจมตีด้วยจรวด ทหารสหรัฐฯ ที่เพิ่งเดินทางเข้ามาในประเทศเป็นเที่ยวแรกได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก อาคาร 2-3 หลังได้รับความเสียหายโดยตรงจากจรวด

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • James R. Arnold (1990). The Tet Offensive 1968. Praeger Publishers. ISBN 0-275-98452-4.
  • Ronald H. Spector (1993). After Tet. Free Press. ISBN 0-02-930380-X
  • CBS news coverage (1968)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

10°46′01″N 106°40′01″E / 10.7669°N 106.6669°E / 10.7669; 106.6669