ยุทธการที่เบรวีล
ยุทธการที่เบรวีล | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด | |||||||
ทหารโดดร่มและทหารคอมมานโดของอังกฤษในนอร์ม็องดี, มิถุนายน ค.ศ. 1944 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหราชอาณาจักร | ไรช์เยอรมัน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ริชาร์ด เนลสัน เกล | Erich Diestel | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
6th Airborne Division | 346th Infantry Division | ||||||
กำลัง | |||||||
Division | Division | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
162 Dead ^ | Over 400 confirmed dead[1] | ||||||
^ Numbers for the final attack 12 June |
ยุทธการที่เบรวีล เป็นการสู้รบระหว่างกองพลทหารโดดร่มอังกฤษที่ 6 และกองพลทหารราบเยอรมันที่ 346 ในช่วงระหว่างวันที่ 8 และ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ในช่วงแรกของการบุกครองนอร์ม็องดีในสงครามโลกครั้งที่สอง
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 หน่วยทหารของกองพลทหารราบที่ 346 ที่ยึดครอง Bréville-les-Monts, หมู่บ้านบนสันปันน้ำระหว่างแม่น้ำ Orne และ Dives จากจุดได้เปรียบนี้ พวกเขาสามารถสังเกตเห็นตำแหน่งของกองพลทหารโดดร่มที่ 6 ที่กำลังป้องกันแม่น้ำและสะพานคลองก็องและอยู่ห่างไกลจากหาดซอร์ดของอังกฤษที่ Ouistreham ภายหลังการโจมตีหลายครั้งของเยอรมันในตำแหน่งอังกฤษจาก Bréville-les-Monts การเข้ายึดหมู่บ้านกลายเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาตำแหน่งของกองพลทหารโดดร่มที่ 6 และป้องกันหัวหาดของฝ่ายสัมพันธมิตร
การโจมตีของอังกฤษได้เกิดขึ้นในช่วงกลางคืนของวันที่ 12/13 มิถุนายน ค.ศ. 1944 เมื่อพลตรี ริชาร์ด เนลสัน เกลได้สั่งการต่อกองหนุนของเขา กองพันทหารโดดร่ม (ยอร์กเชอร์) ที่ 12, กองร้อยจากกองพันที่ 12 กรมทหารเดวอนเชอร์ และกองร้อยทหารโดดร่มอิสระที่ 22 เพื่อการสนับสนุนการโจมตี กองรถถังจากราชฮุสซาร์ที่ 13/18 และห้ากรมทหารปืนใหญ่ได้ถูกมอบหมายแก่กองพล การจู่โจมนั้นได้เกิดการยิงปะทะแลกกันของกองปืนใหญ่ทั้งอังกฤษและเยอรมันซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บหลายนายรวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส ผู้ที่เข้าโจมตีได้เข้ามาถึงและป้องกันหมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่นายทหารหลายคนหรือจ่าสิบเอกที่ได้เข้าร่วมในการโจมตีล้วนถูกสังหารหรือได้รับบาดเจ็บ
ภายหลังการยึดครองเบรวีล เยอรมันไม่เคยพยายามที่จะทำลายเส้นทางของการโดดร่มอีกเลย ส่วนกองพลอังกฤษได้เริ่มที่จะเข้าควบคุมเพื่อยิงปืนใหญ่และปืนครกอย่างเป็นระยะๆ จนกระทั่งวันที่ 17 สิงหาคม เมื่อเยอรมันได้เริ่มที่จะล่าถอยและกองพลทหารโดดร่มที่ 6 ได้เข้ารุกไปยังแม่น้ำแซน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ If Chaos Reigns: The Near-Disaster and Ultimate Triumph of the Allied Airborne Forces on D-Day, June 6, 1944