ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่ปอลตาวา

พิกัด: 49°37′53″N 34°33′10″E / 49.63139°N 34.55278°E / 49.63139; 34.55278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการปอลตาวา
ส่วนหนึ่งของ มหาสงครามเหนือ

The Battle of Poltava วาดโดย เดนนิส มาเทนส์ผู้ลูก ในปี ค.ศ. 1726
วันที่8 กรกฎาคม ค.ศ. 1709[a]
สถานที่49°37′53″N 34°33′10″E / 49.63139°N 34.55278°E / 49.63139; 34.55278
ผล

อาณาจักรซาร์รัสเซียชนะอย่างเด็ดขาด

คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง

กำลังพลรวม:
52,100 ทหารประจำการ
  (33,500 ทหารราบ
     18,600 ทหารม้า)[2]
23,000 ทหารนอกแบบ[2]
  (คอสแซ็กและคาลมิค,
   3,000 คาลมิค
   มาถึงในช่วงท้ายของการรบ)
ปืนใหญ่ 102 กระบอก


รวม: 75,000 นาย [2]


เข้าร่วมในการรบ:
24,500 ทหารราบ
14,600 ทหารม้าดรากูน[2]
3,000 คาลมิค[3]
ปืนใหญ่ 86 กระบอก


รวม: 42,000


กองกำลังที่ปอลตาวา:
4,200 ทหารราบ
2,000 คอสแซ็ก
ปืนใหญ่ 28 กระบอก

กำลังพลทั้งหมด:
24,000 กำลังพลประจำการ
  (13,000 ทหารม้า
     11,000 ทหารราบ)[2][b]
6,000 ทหารนอกแบบ
  1,000 ทหารม้าโปแลนด์ vlach cavalry
    3,000–7,000     คอสแซ็ก[c][3]
ปืนใหญ่ 34 กระบอก


รวม: up to 30,000[4][5][d]


เข้าร่วมในการรบ:
8,700 ทหารราบ[2]
7,800 ทหารม้า[2]
ปืนใหญ่ 4 กระบอก


รวม: 16,500 นาย


กองกำลังปิดล้อมเมืองปอลตาวา:
1,100 ทหารราบ
200 ทหารม้า
ความสูญเสีย

ข้อมูลอย่างเป็นทางการ: 1,345 นายเสียชีวิต, 3,290 นายบาดเจ็บ.[6][7]


บันทึกอื่นๆ: 5,953 นายเสียชีวิตและบาดเจ็บ.[8]

ข้อมูลของสวีเดน: 6,900 ตายและบาดเจ็บ, 2,800 นายตกเป็นเชลย.[9][6][10]


ข้อมูลของรัสเซีย: 9,234 นายเสียชีวิต, 2,864–2,977 นายตกเป็นเชลย.[11][7][12]

ยุทธการปอลตาวา[e] (8 กรกฎาคม ค.ศ. 1709)[f] เป็นชัยชนะอย่างเด็ดขาดของซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย เหนือจักรวรรดิสวีเดน ในยุทธการอันมีชื่อเสียงที่สุดของมหาสงครามเหนือ นับเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมของจักรวรรรดิสวีเดนในฐานะมหาอำนาจ และรัสเซียเริ่มผงาดกลายเป็นชาติผู้นำในยุโรปเหนือแทน เช่นเดียวกับการยุติความทะเยอทะยานของยูเครนในการแสวงหาอิสรภาพชั่วคราว

ภูมิหลัง

[แก้]

พระเจ้าคาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดนได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็วในแถบซีแลนด์และการรบที่นาวาช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ.1700 ทำให้สวีเดนเป็นฝ่ายได้เปรียบในสงคราม แต่สวีเดนต้องเสียเวลาอีกกว่า6ปีทำสงครามในโปแลนด์ จึงจะสามารถเอาชนะพระเจ้าออกัสตัสที่2แห่งโปแลนด์ลงได้ พระเจ้าปีเตอร์ที่1แห่งรัสเซียถอยทัพออกจากโปแลนด์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ.1706 และเสนอที่จะขอยอมแพ้และมอบดินแดนแถบบอลติก(ยกเว้นเมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก)ให้กับสวีเดน อย่างไรก็ดีพระเจ้าชาร์ลตัดสินใจปฏิเสธข้อเสนอของทางฝั่งรัสเซีย และตัดสินใจบุกรัสเซียต่อ กองทัพพระเจ้าชาร์ลเดินทางออกจากแซกโซนีในวันที่22 สิงหาคม ค.ศ.1707และเริ่มเดินทางเข้าสู่รัสเซีย พระเจ้าปีเตอร์ใช้กลยุทธ ถอยทัพไปเรื่อยๆและเผาทำลายทุกอย่างเพื่อไม่ให้สวีเดนสามารถนำไปใช้ได้ ชาร์ลข้ามแม่นํ้าวิสตูลา ในวันที่ 25 ธันวาคม 1707 และบุกเข้ายึด เมืองGrodno ในวันที่ 26 มกราคม 1708 หลังจากที่กองทัพรัสเซียได้ทิ้งเมืองไป เพราะต้องไปรับมือกับกบฏชาวคอสแซ็กทางใต้ ทำให้กองทัพรัสเซียจะยุ่งไปตลอดช่วงฤดูหนาว . กองทัพสวีเดนยังคงเดินทัพต่อไปจนถึงพื้นที่บริเวณเมืองSmorgonและMinskกองทัพสวีเดนตัดสินใจตั้งทัพที่นี้ในช่วงฤดูหนาว. ชาร์ลทิ้งทหารม้าดรากูนไว้ 8,000 นายภายใต้การนำของ พลเอก Ernst Detlof von Krassow ในเขตโปแลนด์ตะวันตก.

สภาพอากาศที่ไม่ดีทำให้กองทัพสวีเดนต้องรอจนถึง เดือนมิถุนายน 1708. ในเดือนกรกฎาคมกองทัพสวีเดนเอาชนะกองทัพของ นายพล Boris Sheremetyev ในการรบที่ Holowczyn และเดินทัพต่อไปจนถึงแม่นํ้านีเปอร์ .ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ นายพลเลเวนฮอล์ป ได้รับคำสั่งจากพระเจ้าชาร์ลให้หาเสบียงจากดินแดนCourlandและนำทัพจำนวน12,000นาย มาสมทบกับพระเจ้าชาร์ล อย่างไรก็ดีด้วยสภาพอากาศที่ย่ำแย่ทำให้กองทัพของเลเวนฮอล์ปต้องรอจนภึงปลายเดือนมิถุนายนและเดินทางไปสมทบกับทัพหลักได้ในวันที่11 ตุลาคม

พระเจ้าชาร์ลไม่ต้องการที่จะรอกองทัพของเลเวนฮอร์ปจึงตัดสินใจที่จะเดินทางลงใต้ไปยังยูเครนเพื่อสมทบกับพวกคอสแซ็กภายใต้การนำของ Mazepa พระเจ้าปีเตอร์ส่ง Sheremetev เพื่อเดินทัพติดตามกองทัพสวีเดนไป. กองทัพของSheremetevเดินทางไปพบกับกองทัพเลเวนฮอร์ปในขณะที่กำลังข้ามแม่นํ้าใกล้หมู่บ้านเล็กๆ เกิดเป็นการรบที่เลสนาย่า ซึ่งทำให้กองทัพของเลเวนฮอร์ปเสียหารไปกว่าครึ่งและเสบียงเกือบทั้งหมด พระเจ้าชาร์ลจึงตัดสินเดินทางไปเมือง Baturyn ฐานที่มั่นของ Mazepa เพื่อหาเสบียงเพิ่ม แต่กองทัพรัสเซียของ อเล็กซานเดอร์ เมนชิคอฟ เดินทางไปถึงเมืองก่อน. เมนชิคอฟสั่ง สังหารหมู่ประชากรในเมืองและทำลายเสบียงทั้งหมดเพื่อไม่เหลืออะไรไว้ให้กองทัพสวีเดนเลย

พอถึงฤดูใบไม้พบของปี 1709กองทัพสวีเดนถูกทำลายไปกว่าครึ่งจากฤดูหนาวที่หนาวที่สุดในยุโรปในรอบกว่า500ปี โดยเหลือทหารอีกราว 20,000 นาย และปืนใหญ่34 กระบอก. เนื่องจากขาดแคลนเสบียง พระเจ้าชาร์ลจึงตัดสินใจเข้าล้อมป้อมปอลตาวา ริมฝั่งแม่นํ้า Vorskla. กองทัพของพระเจ้าปีเตอร์จำนวน 80,000นายเดินทางมาถึงเพื่อข่วยเหลือป้อมปอลตาวาและตั้งค่ายขึ้นไป 4กม. ทางเหนือตามแนวแม่นํ้า Vorskla พระเจ้าชาร์ลเดินทางไปสำรวจกองทัพรัสเซีย ในวันที่ 20มิถุนายน แต่กลับถูกยิงเข้าที่ขาทำให้ พระเจ้าชาร์ลไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้ ที่แย่ไปกว่านั้นกองหนุนที่ชาร์ลหวังไว้ ภายใต้การนำของ Von Krassow ไม่สามารถมาหนุนได้เนื่องจากต้องไปปราบปราม สมาพันธ์ Sandomierz ในโปแลนด์.

ระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่ายมีป่า Yakovetski และBudyschenski ตั้งอยู่ซึ่งรัสเซียได้เสริมแนวป้องกันด้วยการสร้างป้อมเพิ่ม6ป้อม.พระเจ้าปีเตอร์ยังสั่งสร้างแนวตั้งรับเพิ่มอีก4ป้อม เพื่อทั้ง10ป้อมจะได้เกิดเป็นแนวรับรูปตัวT เพิ่มประสิทธิภาพในการยิงโจมตีกองทัพสวีเดนจากด้านข้าง อย่างไรก็ตามในวันที่เกิดการรบ ป้อม 2 ป้อมยังคงสร้างไม่เสร็จ แต่ทหารรัสเซียจำนวน4,000นาย ก็ได้เข้าประจำการอีก8ป้อมที่เหลือเรียบร้อยแล้วและมีทหารม้าอีก10,000นาย ภายใต้การนำของ นายพล อเล็กซานเดอร์ ดานิโลวิช เมนชิคอฟ คอยหนุนอยู่ด้านหลัง.

การรบ

[แก้]

เพราะบาดแผลของเขาพระเจ้าจึงต้องส่งต่อการบังคับบัญชาไปยัง จอมพล Carl Gustav Rehnskiöld. ในช่วงกลางคืนทหารราบ4คอลัมน์และทหารม้า6คอลัมน์ ได้เข้าประจำที่บริเวณ 600เมตร ทางใต้ของแนวรับรัสเซีย แผนคือการตีผ่านแนวรับรัสเซียอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าโจมตีป้อม ทหารราบเข้าประจำที่ในเวลาตี2ครึ่ง แต่ทหารม้ามาได้ช้ากว่าเพราะหลงทาง.Axel Gyllenkrok ขี่ม้าล่วงหน้าไปสำรวจกองทัพรัสเซียและพบว่าป้อม2ป้อมที่ใกล้ที่สุดของรัสเซียยังสร้างไม่เสร็จและขี่ม้ากลับไปบอกนายพลRehnsikiöld. อย่างไรก็ตามการเดินทางไปลาดตระเวนของพลเอก Wolmar Anton Von Schlippenbach ได้ถูกตรวจพบโดยทหารรัสเซีย ทหารรัสเซียได้ยิงปืนเพื่อส่งสัญญานเตือน เมื่อเสียโอกาสการโจมตีแบบไม่ทันตั้งตัวไปแล้วและไม่มีปืนใหญ่มากพอจะฝ่าแนวตั้งรับของรัสเซียไป จึงเกิดการประชุมกันในกองบัญชาการสวีเดนว่าจะทำการบุกต่อไปไหม ในที่สุดนายพลRehnsikiöld ตัดสอนใจที่จะบุกต่อแบะกล่าวว่า"ในนามของพระเจ้า เราจะบุกไปข้างหน้า"ในตอนนั้นเป็นเวลาตีสี่ของวันที่ 28 มิถุนายน(ตามปฏิทินสวีเดน) และพระอาทิตย์กำลังจะขึ้นแล้ว

กองกำลังสวีเดนภายใต้การนำของ Carl Gustaf Roos บุกเข้ายึดสองป้อมแรกได้อย่างรวดเร็วและฆ่าทหารรัสเซียทุกคนในนั้น แต่การบุกเข้ายึดป้อมที่3 ในช่วงตีสี่ครึ่งถูกหยุดเอาไว้ได้. เลเวนฮอร์ปนำทหารจำนวน10กองพันเข้าบุกผ่าน4ป้อมแรกไป บุกต่อไปยังแนวหลังและทหารม้าเข้ามาช่วยยึดได้บางป้อมในขณะที่ผ่านป้อมอื่นๆไป สองกองพันจากแนวหลังของRoosเข้ามาช่วยพวกเขา แสดงให้เห็นถึงความไม่ชัดเจนในคำสั่งว่าให้หลีกเลี่ยงป้อมหรือบุกเข้ายึดป้อมเป็นลำดับไป ทหารม้าทางปีกซ้ายภายใต้การนำของพลเอกฮามิลตันได้บุกผ่านป้อมทางซ้ายและพุ่งเข้าใส่ทหารม้ารัสเซีย ทำให้ทหารม้ารัสเซียต้องถอยกลับ เมื่อถึงเวลาตีห้าปีกซ้ายและปีกขวาของสวีเดนสามารถบุกไปได้ถึงแนวหลังสุดของแนวตั้งรับ ผลักดันให้ทหารม้ารัสเซียถอยไป อย่างไรก็ตาม Rehnsikiöldสั่งให้ทหารม้าของเขาหยุดตามและให้นายพลเลเวนฮอร์ปที่ตอนนั้นบุกไปถึงป้อมหลักแล้วให้ถอยออกมาทางตะวันตกเพื่อรอกองหนุนจากกองพันของRoosเป็นเวลากว่า2 ชม เป็นโอกาสให้ทหารม้ารัสเซียและทหารม้าคอสแซ็กของพวกเขาขึ้นไปเตรียมตัวอยู่ทางเหนือพร้อมกับทหารราบอีก12กองพัน และมีทหารราบอีก10กองพันรออยู่ทางใต้ของค่ายพวกเขา เพื่อเตรียมตั้งรับการบุกของสวีเดน 

นายพลRoosกับทหารอีก6กองพันถูกตัดขาดจากกองทัพหลักขณะพยายามยึดป้อมที่3 หลังจากสูญเสียอย่างหนักขณะพยายามเข้าโจมตีหลายครั้ง นายพลRoosนำกำลังพลส่วนที่เหลือประมาณ1,500นาย จาก2,600นาย หลบไปทางป่าYakovetskiในเวลาประมาณ6โมงเช้า ทางฝั่งรัสเซียก็สามารถบุกเข้ายึด2ป้อมแรกคืนได้ และทำการโจมตีกลับด้วยทหารจำนวน10กรมในเวลา7โมงเช้า ผลักดันนายพลRoosให้ถอยไปทางปอลตาวาและยอมจำนนในที่สุด 

กองทัพสวีเดนที่เหลือยังคงรอกองทัพของRoos อยู่โดนไม่รู้ถึงการยอมจำนน พระเจ้าปีเตอร์ใช้โอกาสนี้ นำทหาร42กองพัน กำลังพลกว่า22,000นายออกจากค่าย สนับสนุนด้วยผืนใหญ่3ปอนด์ 55กระบอกและปืน32กระบอกจากเชิงเทิน ทหารม้าเรากูน10กรมภายใต้ พลโทAdolt Fredrik Bauer อยู่ปีกขวาและ6กรมภายใต้นายพลเมนชิคอฟทางปีกซ้าย ประจันหน้ากับพวกเขาทางตะวันตกของค่ายคือทหารราบสวีเดน4,000นาย จัดกำลังเป็น10กองพัน สนับสนุนด้วยปืนใหญ่สามปอนด์4กระบอกและกองทหารม้าของCreutz อยู่บริเวณปีก กองทหารรัสเซียเริ่มเดินทางเข้ามาหากองทัพสวีเดนในช่วงที่อากาศร้อนจัดและชื้น.

เวลา9.45 Rehnskiöldสั่งให้เลเวนฮอล์ปและแนวทหารสวีเดนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและเปิดฉากยิงปืนใหญ่ที่ระยะ500เมตร เมื่อแนวของสวีเดนอยู่ห่างจากรัสเซียประมาณ50เมตร พวกเขาก็เริ่มเปิดฉากยิงด้วยปืนคาบศิลาจากทั้ง4แถวและเมื่อถึงระยะ30เมตร พวกเขาก็ทำการยิงแบบอิสระและบุกโจมตีด้วยดาบปลายปืนและพลหอก ทหารรัสเซียในแถวแรกทำการร่นถอยไปยังแถวที่2 กองกำลังสวีเดนกำลังจะตีฝ่าแนวรบรัสเซียออกไปได้และต้องการการสนับสนุนจากทหารม้าของCreutz แต่โชคไม่ดีนักเพราะกำลังทหารม้าทั้งหมดไม่อยู่ในสภาพที่จะรวมกลุ่มเข้าตีได้ แนวรบของรัสเซียนั้นยาวกว่า ทำให้ปีกซ้ายของสวีเดนบุกได้ช้ากว่าฝั่งขวาและสุดท้ายก็ตัดสินใจโยนอาวุธทิ้งและหลบหนีไปในที่สุด ปีกขวาของสวีเดนยังคงบุกต่อไปทำให้เกิดช่องว่างขึ้น ซึ่งรัสเซียได้บุกโจมตีช่องว่างนั้นและทำการล้อมกองทัสวีเดน ส่วนนายพลCreutzก็พยายามจะบุกต่อด้วยทหารม้าที่มีอยู่ แต่รัสเซียสามารถตั้งกระบวนทัพแบบจัตุรัสกลวงได้ทัน และนายพลเมนชิคอฟก็นำทหารม้าของเขาเข้าโจมตีบริเวณปีกและด้านหลังของกองทัพสวีเดน ณ จุดนี้กองทัพสวีเดนจุดนี้กองทัพสวีเดนไม่สามารถจัดตั้งกระบวนทัพได้อีกต่อไป ทัพสวีเดนแตกพ่าย ทหารสวีเดนจำนวนหนึ่งสามารถหลบหนีได้ออกไปได้ ในขณะที่ส่วนที่เหลือถูกสังหารหรือจับกุม


ตอนนี้กองกำลังของพระเจ้าชาร์ลคือทหารสวีเดนกลุ่มสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ พระเจ้าชาร์ลจึงรวมทหาร(รวมถึงทหารของCreutzด้วย)ที่เหลืออยู่และหลบหนีออกไปทางป่า ทางรัสเซียหยุดทัพที่ชายป่าและหยุดการยิงปืนใหญ่ลง มีเพียงแค่พวกคอสแซ็กกับคาลมิคเท่านั้นที่กระจายตัวอยู่ในทุ่งทางใต้ของป่า ทางพระเจ้าชาร์ลเดินทางออกจากป่าในช่วงบ่ายบนหลังม้าหลังจากแคร่ของเขาถูกทำลาย คุ้มกันโดยทหารประมาณ2ถึง3พันคน กองทัพสวีเดนที่เหลืออยู่เดินทางไปยังPushkaryovka พร้อมกับขบวนสัมภาระที่อยู่5กม.ไปทางใต้ พวกเขาเดินทางไปถึงประมาณบ่ายโมงเมื่อการรบจบไปแล้ว

ชาร์ลรวมทหารและเสบียงที่เหลือทั้งหมดและถอยทัพลงใต้ ตอนประมาณ1ทุ่ม เขายกเลิกการปิดล้อมที่ปอลตาวา เลเวนฮอร์ปนำทหารสวีเดนที่เหลืออีกกลุ่มหนึ่งพร้อมทหารคอสแซ็กพันธมิตรหนีไปทางแม่นํ้านีเปอร์ แต่ถูกติดตามโดยทหารม้ารัสเซียและทหารม้าคาลมิคอีกว่า3,000นาย และถูกต้อนให้ยอมแพ้3วันต่อมา ในวันที่ 1 กรกฎาคมที่ Perevolochna

หลังจากการรบ

[แก้]

นายทหารระดับสูงจำนวนมากของสวีเดนถูกจับกุม ในจำนวนนี้มี จอมพลRehnskiöld,พลเอกSchlippenbach,พลเอกStackelberg,พลเอกฮามิลตัน,เจ้าชายแม็กซิมิเลียน เอมมานูเอลและคาร์ล ไพเพอร์ พระเจ้าปีเตอร์จัดเต็นท์ขึ้น2เต็นท์บนสนามรบเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะ  วอลแตร์ในภายหลังคาดการว่าการกระทำของปีเตอร์เป็นไปเพื่อยกย่องให้นายพลสวีเดนในฐานะที่ได้สู้อย่างกล้าหาญและส่งสัญญานถึงนายพลของเขาเองถ้าหากเกิดความไม่จงรักภักดี หลุมฝังศพขนาดใหญ่สิงหลุมได้ถูกสร้างขึ้น500เมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของค่ายรัสเซีย เพื่อฝังศพทหารรัสเซียที่เสียชีวิต เนื่องจากพระเจ้าชาร์ลหลบหนีไปไกลแล้ว พระเจ้าปีเตอร์จึงเลิกติดตามและส่งเชลยศึกสวีเดนไปยังไซบีเรีย 

พระเจ้าชาร์ลและMazepaหลบหนีไปพร้อมกับทหารประมาณ1,500คน ไปยัง Bendery ,Moldavia ซึ่งตอนนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักวรรดิออตโตมัน พระเจ้าชาร์ลใช้เวลาห้าปีอยู่ที่นั้นก่อนจะเดินทางกลับสวีเดนในเดือนธันวาคม ปี 1715 ตลอดช่วงเวลานั้นพระเจ้าชาร์ลยังคงแสดงออกถึวความเป็นพระมหากษัตริย์นักการทหารอยู่ตลอดเวลา ด้วยบุคลิกที่เยือกเย็น ทำให้สามารถรอดพ้นจากสถานการณ์ต่างๆไปได้ รวมถึงจากความพยายามของ High Vizierของออตโตมัน ในการวางอุบายลับหลัง

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 27 มิถุนายน ค.ศ. 1709 ในปฏิทินจูเลียน และ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1709 ในปฏิทินสวีเดน
  2. About 2,000 sick and injured soldiers were standing in the Pushkarivka camp.
  3. The exact numbers of Mazepa's and Zaporizhian Cossacks is unknown but are usually given to 3,000 up to 7,000. They were stationed in the Pushkarivka camp and did not participate in the battle.
  4. Russian sources quote the captive Field Marshal Rehnskiöld stating that his combined army before the battle consisted of up to 30,000 men.
  5. รัสเซีย: Полта́вская би́тва, อักษรโรมัน: Poltávskaya bítva, สวีเดน: Slaget vid Poltava. ยูเครน: Битва під Полтавою, อักษรโรมัน: Bytva pid Poltavoiu
  6. 28 มิถุนายน ตามปฏิทินสวีเดนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น, 27 มิถุนายน ในปฏิทินจูเลียน, 8 กรกฎาคม ในปฏิทินกริกอเรียน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mackiw, Theodore (2008). "Poltava, Battle of". Canadian Institute of Ukrainian Studies.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Moltusov, Valerij Aleksejevitj (2009). Poltava 1709: Vändpunkten (ภาษาสวีเดน). SMB. p. 93. ISBN 978-91-85789-75-7.
  3. 3.0 3.1 О составе русской и шведской армий в Полтавском сражении เก็บถาวร 2019-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (รัสเซีย)
  4. Ericson, p. 297.
  5. Istorīia Petra Velikago, by Nikolai Alekseevich Polevoi, 1843, p. 38 (รัสเซีย)
  6. 6.0 6.1 Christer Kuvaja: Karolinska krigare 1660–1721, p. 192. Schildts Förlags AB 2008. ISBN 978-951-50-1823-6. (สวีเดน)
  7. 7.0 7.1 "Poltava, Battle of". สืบค้นเมื่อ 12 December 2016.
  8. Gordon A. The History of Peter the Great, Emperor of Russia: To which is Prefixed a Short General History of the Country from the Rise of that Monarchy: and an Account of the Author's Life, Volume 1. Aberdeen. 1755. pp. 301–02
  9. Englund (1988), p. 215.
  10. Derek Wilson (March 9, 2009). "Poltava : the Battle that Changed the World". History Today. London. 59 (3): 23–29.
  11. Битва под Полтавой เก็บถาวร 2005-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (รัสเซีย)
  12. Istorīia Petra Velikago, p. 355 (รัสเซีย)