ข้ามไปเนื้อหา

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุคเรอเนสซองซ์)

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[1] หรือ เรอแนซ็องส์ (ฝรั่งเศส: Renaissance; แปลว่า การเกิดใหม่) เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสมัยกลางสู่สมัยใหม่และครอบคลุมศตวรรษที่ 15 และ 16 มีการแสดงลักษณะ คล้ายกับลักษณะ ที่เป็นคนสร้างขึ้นในสมัย วิกฤตการณ์จากสมัยกลางปลายและมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ นอกเหนือจากช่วงเวลาตามมาตรฐาน ผู้เสนอของ"เรอแนซ็องส์ระยะยาว" ซึ่งอาจจะเริ่มต้นในศตวรรษที่ 14 และสิ้นสุดลงในศตวรรษที่ 17

มุมมองดั้งเดิมได้มุ่งเน้นไปที่ลักษณะด้านสมัยใหม่ช่วงต้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและให้เหตุผลว่าเป็นการทำลายจากอดีต แต่นักประวัติศาสตร์หลายคนในปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่ลักษณะด้านสมัยกลางและได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมของสมัยกลาง อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นของช่วงเวลา –สมัยเรอแนซ็องส์ช่วงต้นศตวรรษที่ 15 และอิตาลีในยุคก่อนสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1250 หรือ ค.ศ. 1300 – มีการทับซ้อนกันอย่างมากกับสมัยกลางปลาย เป็นไปตามของช่วงเวลาของปี ค.ศ. 1250-1500 และสมัยกลางเองก็เป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังเช่นสมัยปัจจุบัน และในช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านระหว่างทั้งสองยุค สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยามีความคลึงกันอย่างใกล้ชิดทั้งสองยุค โดยเฉพาะสมัยปลายและช่วงเวลาย่อยของสมัยต้นในแต่ละช่วง

พื้นฐานทางปัญญาของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษยนิยม ซึ่งได้รับมาจากแนวคิดของฮิวแมนนิตัสจากสมัยโรมันและการค้นพบปรัชญากรีกสมัยคลาสสิคอีกครั้ง เช่น โพรทาโกรัส ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า "มนุษย์เป็นหน่วยชี้วัดของทุกสิ่ง" ความคิดใหม่เหล่านี้ได้ปรากฏให้เห็นในศิลปะ สถาปัตยกรรม การเมือง วิทยาศาสตร์ และวรรณกรรม ตัวอย่างแรก ได้แก่ การพัฒนาทัศนมิติในภาพวาดสีน้ำมันและการฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับการทำคอนกรีต แม้ว่าการประดิษฐ์ของการพิมพ์ด้วยตัวเรียงแบบโลหะซึ่งจะเร่งการเผยแพร่กระจายความคิดจากช่วงปลายศตวรรษที่ 15 การเปลี่ยนแปลงของยุคเรอแนซ็องส์นั้นไม่เหมือนกันทั่วทั้งยุโรป: ร่องรอยแรกซึ่งปรากฏในอิตาลีตั้งแต่ช่วงต้นจนถึงปลายศตวรรษที่ 13 โดยเฉพาะกับงานเขียนของดันเต และภาพวาดของจอตโต

ในการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาได้รวบรวมเอานวัตกรรมของการเบ่งบานของภาษาละตินและวรรณกรรมพื้นเมือง ซึ่งเริ่มต้นด้วยการฟื้นฟูการเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลคลาสสิค ซึ่งได้ยกย่องบุคคลร่วมสมัยอย่างเปตราก การพัฒนาทัศนมิติแบบเส้นตรงและเทคนิคอื่น ๆ ในการแสดงภาพเสมือนจริงในการวาดภาพ และการปฏิรูปการศึกษาในวงกว้างแต่กลับต้องค่อยเป็นค่อยไป ในด้านการเมือง ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาจารีตประเพณีและธรรมเนียมของการทูต และในด้านวิทยาศาสตร์ได้พึ่งพาอาศัยจากการตั้งข้อสังเกตและการให้เหตุผลแบบอุปนัย แม้ว่ายุคฟื้นฟูศิลปวิทยาจะแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสังคมมากมาย เช่นเดียวกับการนำเสนอการธนาคารสมัยใหม่และการจัดทำบัญชี อาจจะเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับการพัฒนาผลงานศิลปะและคุณูปการของผู้รู้รอบด้าน เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี และมีเกลันเจโล ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นในการใช้คำว่า "คนเรอแนซ็องส์"

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาได้เริ่มต้นในสาธารณรัฐฟลอเรนซ์ หนึ่งในหลายรัฐของอิตาลี มีการเสนอทฤษฏีต่าง ๆ เพื่ออธิบายถึงต้นกำเนิดและคุณลักษณะต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งลักษณะโดยเฉพาะทางสังคมและพลเมืองของฟลอเรนซ์ในช่วงสมัยนั้น เช่น โครงสร้างทางการเมือง การให้อุปถัมภ์ของตระกูลที่มีอำนาจมากอย่างตระกูลเมดีชี และการอพยพของเหล่านักวิชาการชาวกรีกและตำราความรู้ของพวกเขาไปยังอิตาลี ภายหลังการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลให้กับเติร์กออตโตมัน ศูนย์กลางหลักอื่น ๆ ได้แก่ นครรัฐอิตาลีทางตอนเหนือ เช่น เวนิส เจนัว มิลาน โบโลญญา และโรมในช่วงสมัยพระสันตะปาปาแห่งเรอแนซ็องส์ หรือเมืองต่าง ๆ ของเบลเยียม เช่น บรูช เกนต์ บรัสเซลส์ เลอเฟิน หรือแอนต์เวิร์ป

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยานั้นมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและซับซ้อน และสอดคล้องกับข้อสงสัยทั่วไปของช่วงเวลาที่ถูกแบ่งแยกออกจากกัน มีการถกเถียงกันอย่างมากในท่ามกลางนักประวัติศาสตร์ที่มีต่อการยกย่อง"ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" จากศตวรรษที่ 19 และบุคคลที่มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรมแต่ละบุคคลในฐานะ "คนยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" การตั้งคำถามถึงประโยชน์ของยุคเรอแนซ็องส์ทั้งในแง่ของคำศัพท์และประวัติศาสตร์ ผู้สังเกตบางคนได้ตั้งคำถามว่า ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็น"ความก้าวหน้า" ทางวัฒนธรรมจากสมัยกลางหรือไม่ แต่กลับมองเห็นว่าเป็นช่วงเวลาของลัทธิมองโลกในแง่ร้ายและการหวนรำลึกจากสมัยคลาสสิค ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ลงก์ดูเร กลับมุ่งเน้นไปที่ความต่อเนื่องระหว่างสองสมัย[2] ซึ่งได้เชื่อมโยงกัน ดังที่แฟร์น็องซึ่งได้ตั้งข้อสังเกตแล้วว่า "ได้ถูกพันธนาการนับพันเสียแล้ว"[3]

คำว่า รินาสชิตา ('การกำเนิด') ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในหนังสือเรื่องชีวิตศิลปินของจอร์โจ วาซารี (ค.ศ. 1550) จึงถูกนำมาแผลงเป็นภาษาอังกฤษเป็นเรอแนซ็องส์ ใน ค.ศ. 1830[4] คำศัพท์นี้ได้ขยายไปถึงการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อื่น ๆ เช่น สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในจักรวรรดิการอแล็งเฌียง (ศตวรรษที่ 8 และ 9) สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในราชวงศ์อ็อทโท (ศตวรรษที่ 10 และ 11) และสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในศตวรรษที่ 12[5]

ประวัติของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

[แก้]

หลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานร่วม 300 ปีสิ้นสุดลง ยุโรปก็เข้าสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยในช่วงแรกความรู้ทางศิลปะและวิทยาการของกรีกและโรมันได้ถูกนำเข้ามาผ่านเอกสารและหนังสือที่นักวิชาการมุสลิมในโลกอาหรับได้แปลไว้ เช่น ปรัชญาของอริสโตเติล และคณิตศาสตร์ของกรีก ต่อมาการล่มสลายของนครคอนสแตนติโนเปิล ศูนย์กลางแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 15 จากการรุกรานของสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน ทำให้บรรดาพระ และผู้มีวิชาความรู้ในเมืองหอบตำราสำคัญที่คัดลอกด้วยมือ (manuscripts) ต่างๆอันเป็นความรู้และสมบัติทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจากอารยธรรมกรีก และโรมัน ออกมาเผยแพร่เพื่อต่อสังคมยุโรปในวงกว้าง และเนื่องจากในขณะนั้นเทคโนโลยีการพิมพ์ และการพิมพ์แบบตัวเรียง (moveable types) เพิ่งได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยกูเทนเบิร์กในยุโรป ความรู้ศิลปวิทยาการในสมัยคลาสสิคจึงแพร่กระจายไปได้เร็วมาก ทำให้ยุโรปได้นำศิลปวิทยาการที่ได้รับการเผยแพร่ใหม่เหล่านี้ มาสอนในมหาวิทยาลัย ตลอดจนนำมาปรับปรุง ดัดแปลงใหม่ ทำให้ยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทุก ๆ ด้าน อาทิเช่น

  1. ศิลปศาสตร์ ศิลปินและผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้วาดรูปโมนาลิซา มีเกลันเจโล ผู้ปั้นรูปปั้นเดวิด ซึ่งเชื่อว่าเป็นชายที่มีสัดส่วนสมบูรณ์ที่สุดในโลก ราฟาเอลผู้กำกับการสร้างและตกแต่งมหาวิหารนักบุญเปโตร เป็นต้น
  2. เทคโนโลยี เทคโนโลยีที่สำคัญคือ เทคโนโลยีการต่อเรือ โดยชาติที่เป็นผู้ริเริ่มคือ โปรตุเกสและสเปน ซึ่งทำให้การติดต่อค้าขายกับเอเชียสะดวกขึ้น
  3. วิทยาศาสตร์ แนวคิดที่สำคัญ ได้แก่ การเล่นแร่แปรธาตุ โดยพาราเซลซัส, แนวคิดระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง โดยนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส และความรู้ด้านการแพทย์ โดยแอนเดรียส เวซาเลียส และ วิลเลียม ฮาร์วีย์

ศิลปะ

[แก้]

ศิลปะเรอแนซ็องส์ (พ.ศ. 1940 - 2140) คำว่า "เรอแนซ็องส์" หมายถึง การเกิดใหม่ ซึ่งเป็นการระลึกถึงศิลปะกรีกและโรมันในอดีต ซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก ศิลปะเรอแนซ็องส์ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากอดีต แต่เป็นยุคสมัยแห่งการเน้นความสำคัญของลักษณะเฉพาะบุคคล มีความสนใจลักษณะภายนอกของมนุษย์ และ ธรรมชาติ เป็นแบบที่มีเหตุผลทางศีลธรรม ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการค้นหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา" โดยมีรากฐานมาจากประเทศอิตาลี และแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ในยุโรป

ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คริสตจักรยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดีชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคน เป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น ลีโอนาร์โด ดา วินชี มีเกลันเจโล ราฟาเอล สถานภาพทางสังคมของศิลปินเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในวงสังคม เกิดสำนักศิลปะเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือ และเกิดมีศิลปินระดับอัจฉริยะขึ้นมาอย่างมากมาย และในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยานี้เอง ที่มีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีโดย โยฮันน์ กูเทนแบร์ก เป็นผู้ผลิตนวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ทำให้ศิลปะการพิมพ์ได้เริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างจริงจัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ศัพท์ศิลปะ ราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2012-03-15.
  2. Starn, Randolph (1998). "Renaissance Redux". The American Historical Review. 103 (1): 122–124. doi:10.2307/2650779. ISSN 0002-8762. JSTOR 2650779.
  3. Panofsky 1969:6.
  4. The Oxford English Dictionary cites W Dyce and C H Wilson’s Letter to Lord Meadowbank (1837): "A style possessing many points of rude resemblance with the more elegant and refined character of the art of the renaissance in Italy." And the following year in Civil Engineer & Architect's Journal: "Not that we consider the style of the Renaissance to be either pure or good per se." See Oxford English Dictionary, "Renaissance"
  5. Murray, P. and Murray, L. (1963) The Art of the Renaissance. London: Thames & Hudson (World of Art), p. 9. ISBN 978-0500200087. "...in 1855 we find, for the first time, the word 'Renaissance' used – by the French historian Michelet – as an adjective to describe a whole period of history and not confined to the rebirth of Latin letters or a classically inspired style in the arts."

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]