ยุคลิด (ยานอวกาศ)
ยุคลิด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพจำลองของยานยุคลิด | |||||||
ประเภทภารกิจ | ดาราศาสตร์ | ||||||
ผู้ดำเนินการ | องค์การอวกาศยุโรป (อีเอสเอ) | ||||||
COSPAR ID | 2023-092A | ||||||
SATCAT no. | 57209 | ||||||
เว็บไซต์ | sci.esa.int/euclid euclid-ec.org | ||||||
ระยะภารกิจ | 6 ปี (กำหนดไว้) 1 ปี 6 เดือน 15 วัน (ดำเนินอยู่)[1] | ||||||
ข้อมูลยานอวกาศ | |||||||
ผู้ผลิต | ตาแล็สอาเลนียาสเปซ (หลัก) แอร์บัสดีเฟนซ์แอนด์สเปซ (มอดูลเพย์โหลด)[2] | ||||||
มวลขณะส่งยาน | 2,000 kg (4,400 lb)[2] | ||||||
มวลบรรทุก | 800 kg (1,800 lb)[2] | ||||||
ขนาด | 4.5 × 3.1 m (15 × 10 ft)[2] | ||||||
เริ่มต้นภารกิจ | |||||||
วันที่ส่งขึ้น | 1 กรกฎาคม 2023 15.12 น. เวลาสากลเชิงพิกัด[3] | ||||||
จรวดนำส่ง | ฟัลคอน 9 | ||||||
ฐานส่ง | แหลมคะแนเวอรัล SLC-40 | ||||||
ผู้ดำเนินงาน | สเปซเอ็กซ์ | ||||||
ลักษณะวงโคจร | |||||||
ระบบอ้างอิง | Sun–Earth L2[2] | ||||||
ระบบวงโคจร | Lissajous orbit | ||||||
ระยะใกล้สุด | 1,150,000 km (710,000 mi) | ||||||
ระยะไกลสุด | 1,780,000 km (1,110,000 mi) | ||||||
วันที่ใช้อ้างอิง | Planned | ||||||
กล้องโทรทรรศน์หลัก | |||||||
ชนิด | Korsch telescope | ||||||
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 1.2 m (3 ft 11 in)[4] | ||||||
ระยะโฟกัส | 24.5 m (80 ft)[4] | ||||||
พื่นที่รับแสง | 1.006 m2 (10.83 sq ft)[7] | ||||||
ความยาวคลื่น | From 550 nm (green)[5] to 2 µm (near-infrared)[6] | ||||||
ความละเอียด | 0.1 arcsec (visible) 0.3 arcsec (near-infrared)[7] | ||||||
อุปกรณ์ส่งสัญญาณ | |||||||
ย่านความถี่ | X band (TT&C support) K band (data acquisition) | ||||||
ความถี่ | 8.0–8.4 GHz (X band) 25.5–27 GHz (K band) | ||||||
แบนด์วิดท์ | Few kbit/s down & up (X band) 74 Mbit/s (K band)[8] | ||||||
| |||||||
The ESA astrophysics insignia for Euclid mission |
ยุคลิด (อังกฤษ: Euclid) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศมุมกว้างที่พัฒนาโดยองค์การอวกาศยุโรป (อีเอสเอ) และยุคลิดคอนซอร์เทียม ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2023[9][10] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานมืดและสสารมืดโดยการวัดการขยายตัวด้วยความเร่งของเอกภพอย่างแม่นยำ และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กล้องโทรทรรศน์ตัวนี้จะทำการวัดรูปร่างของดาราจักรที่ระยะทางต่าง ๆ จากโลก และสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับการเลื่อนไปทางแดง โดยภารกิจของยานยุคลิดจะล้ำหน้าและเติมเต็มการสำรวจของกล้องโทรทรรศน์พลังค์ซึ่งเคยดำเนินการระหว่างปี ค.ศ. 2009 ถึง 2013 ส่วนชื่อของยานยุคลิดนั้นมาจากนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกโบราณชื่อ ยุคลิด
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 ยานยุคลิดได้เผยภาพชุดแรกซึ่งเป็นภาพสีทั้งหมดออกมาจำนวน 5 ภาพ[11] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพอย่างเต็มที่ในการสร้างแผนที่เอกภพแบบสามมิติที่ครอบคลุมและกว้างขวางที่สุดที่เคยมีมา[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Mission Characteristic – Euclid Consortium". Euclid Consortium. 28 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 26 April 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "FACT SHEET". euclid. ESA. 24 January 2023. สืบค้นเมื่อ 7 July 2023.
- ↑ "Falcon 9 Block 5 – Euclid Telescope". Next Spaceflight. 5 June 2023. สืบค้นเมื่อ 5 June 2023.
- ↑ 4.0 4.1 "Euclid Spacecraft – Telescope". ESA. 24 January 2013. สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
- ↑ 5.0 5.1 "Euclid VIS Instrument". ESA. 18 October 2019. สืบค้นเมื่อ 9 July 2020.
- ↑ 6.0 6.1 "Euclid NISP Instrument". ESA. 19 September 2019. สืบค้นเมื่อ 9 July 2020.
- ↑ 7.0 7.1 "Euclid – Mapping the geometry of the dark Universe". ESA Earth Observation Portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-05. สืบค้นเมื่อ 5 January 2022.
- ↑ https://www.esa.int/Science_Exploration/Space_Science/Euclid/Follow_Euclid_s_first_months_in_space
- ↑ "'ยานยุคลิด' ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศแล้ว เพื่อสำรวจพลังงานมืดและสสารมืด รวมถึงสร้างแผนที่ 3 มิติของจักรวาล". The MATTER. 3 กรกฎาคม 2566.
- ↑ "ส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ "ยูคลิด" ขึ้นสำรวจจักรวาลมืด". พีพีทีวี. 2 กรกฎาคม 2566.
- ↑ "ESA เผยภาพชุดแรกจากกล้อง 'ยูคลิด' ภารกิจสำรวจ 'จักรวาลมืด'". ไทยรัฐออนไลน์. 8 พฤศจิกายน 2566.
- ↑ https://www.esa.int/Science_Exploration/Space_Science/Euclid/Euclid_s_first_images_the_dazzling_edge_of_darkness