ข้ามไปเนื้อหา

ยี่นดอมะเล่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยี่นดอมะเล่
ยี่นดอมะเล่
เกิดพ.ศ. 2389
ยี่นดอ อำเภอปยอ-บแว ภาคมัณฑะเลย์
เสียชีวิตป. พ.ศ. 2459
สัญชาติพม่า
อาชีพนักนาฏศิลป์หลวง

ยี่นดอมะเล่ (พม่า: ယင်းတော်မလေး; ออกเสียง: [jíɴ dɔʼ mɑ lé]; พ.ศ. 2389 – ป. พ.ศ. 2459) เป็นนักนาฏศิลป์หลวงในราชสำนักพม่า ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในช่วงปลายสมัยโก้นบอง ยี่นดอมะเล่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสองมารดาแห่งนาฏศิลป์ยุคต้นของมัณฑะเลย์ร่วมกับซีนโคมะเล่ ซึ่งเป็นนักนาฏศิลป์หลวงร่วมสมัยเพียงคนเดียวกับเธอ[1]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

ยี่นดอมะเล่ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2389 ที่ ยี่นดอ[note 1][2] ใน พ.ศ. 2405 เธอถูกส่งไปยังมัณฑะเลย์โดยเจ้าเมืองยี่นดอ เพื่อทำหน้าที่เป็นนักนาฏศิลป์หลวงฝึกหัดของราชวงศ์[3]

อาชีพนักนาฏศิลป์ของราชวงศ์

[แก้]
ยี่นดอมะเล่รับบทเป็นเจ้าหญิงบุษบา

หนึ่งปีต่อมาเธอได้กลายเป็นนักนาฏศิลป์ชั้นนำในราชสำนัก โดยรับบทเป็นเจ้าหญิงบุษบาในละครราชสำนักอินทราวุธร่วมกับอีนอง อู้ ซาน โตะ (အီနောင်ဦးစံတုတ်)[4] ในไม่ช้าเธอก็ได้รับความนิยมในราชสำนัก[5][6][7] เธอได้รับพระราชทานตำแหน่งและทรัพย์สินในยี่นดอ และเป็นที่รู้จักในนาม ยี่นดอมะเล่ (หรือคุณหญิงแห่งยี่นดอ)[8]

ใน พ.ศ. 2411 ตามคำร้องขอของข้าหลวงเมืองพะโค คณะละครราชสำนักอินทราวุธซึ่งนำโดยยี่นดอมะเล่ ได้รับมอบหมายให้ไปทำการแสดงละครราชสำนักให้กับริชาร์ด เบิร์ก อุปราชอินเดียคนที่ 4 และผู้สำเร็จราชการเอิร์ลแห่งเมโยคนที่ 6 ขณะที่เขากำลังพำนักอยู่ในย่างกุ้ง

ชีวิตในภายหลัง

[แก้]

หลังการสละราชสมบัติของพระเจ้าสีป่อ ใน พ.ศ. 2428 และเนื่องจากไม่มีผู้สนับสนุนหลัก คณะละครราชสำนักอินทราวุธจึงเกือบจะยุบไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภริยาของนายกเทศมนตรีเมืองตองกวินสนับสนุนคณะละคร คณะละครจึงสามารถแสดงในพิธีที่จัดขึ้นในเมืองมัณฑะเลย์ได้

แปดปีหลังจากการสละราชสมบัติของพระเจ้าสีป่อ ยี่นดอมะเล่ตาบอดข้างหนึ่ง เธอยังคงป่วยอยู่จนถึงอายุหกสิบกว่า แม้ว่าจะแก่ตัวลงแล้ว แต่เธอยังคงเข้าร่วมคณะนาฏศิลป์ท้องถิ่นบางคณะ[9] เมื่อใดก็ตามที่เธอร้องเพลงเกี่ยวกับการเสื่อมถอยของช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ของเธอลงสู่สถานะที่ต่ำลง ผู้ชมทุกคนต่างก็รู้สึกเศร้าใจแทนเธอ[10]

ไม่มีใครในรุ่นเธอที่สืบทอดความรู้เรื่องนาฏศิลป์ในราชสำนักพม่าจากยี่นดอมะเล่ ยกเว้น มะทเว่เล่ ลูกศิษย์ของเธอ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นนักนาฏศิลป์ยอดนิยม[11]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เมืองระหว่าง เมะทีลา กับ ปยอ-บแว

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ပဒေသရာဇ်ခြေတော်တင် ပါရမီရှင်အမျိုးသမီးတဦး". BBC News မြန်မာ (ภาษาพม่า).
  2. ညင်း, စောမုံ (1976). ဗမာအမျိုးသမီး (ภาษาพม่า). ပိတောက်လှိုင်းစာပေ.
  3. "မန္တလေး အမွေအနှစ်". www.moi.gov.mm. News and Periodical Enterprise.
  4. မြန်မာ့စွယ်စုံကျမ်း (ภาษาพม่า). မြန်မာနိုင်ငံ ဘာသာပြန်စာပေအသင်း. 1954.
  5. သား, ရွှေကိုင်း (1959). အနှစ်၁၀၀ပြည့် မန္တလေး (ภาษาพม่า). ကြီးပွားရေးပုံနှိပ်တိုက်.
  6. ရာ.), တင် (ဗေလုဝ ဆ (1976). မြန်မာ့ဆိုင်းပါရဂူ (ภาษาพม่า). အင်းဝသွန်းစာပေတိုက်.
  7. ဒေါ်.), အမာ (လူထု (1989). မြန်မာ့မဟာဂီတ (ภาษาพม่า). ကြီးပွားရေးစာပေတိုက်.
  8. "သတင်းကြီးသည့်မင်းသမီးမထွေးလေး" (PDF). mdep.moe.edu.mm. MDEP.
  9. မြန်မာ့စွယ်စုံကျမ်း (ภาษาพม่า). မြန်မာနိုင်ငံ ဘာသာပြန်စာပေအသင်း. 1954.
  10. မြန်မာ့ဇာတ်သဘင်တခေတ် ပြောင်းလဲရေး (ภาษาพม่า). မြန်မာ့ဆိုရှယ်လစ်လမ်းစဉ်ပါတီ ဗဟိုကော်မတီ ဌာနချုပ်. 1983.
  11. "မန္တလေးသဘင်ရဲ့ အကမိခင် မင်းသမီး မထွေးလေး". BBC News မြန်မာ (ภาษาพม่า).